มารแปลงกายเพื่อทำลายศรัทธา สาฏิมัตติกเถร

 
mick
วันที่  30 มี.ค. 2552
หมายเลข  11823
อ่าน  1,805

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 174

บทว่า นิวิฏฺา ความว่า ตั้งมั่นแล้ว คือดำรงอยู่อย่างไม่หวั่นไหว. ถามว่าก็ศรัทธาเห็นปานนี้ย่อมมีแกใคร.

ตอบว่า ย่อมมีแก่พระโสดาบัน. ก็พระโสดานั้นมีศรัทธาตั้งมั่น แม้เมื่อจะถูกเขาเอาดาบตัดศีรษะก็ยังไม่กล่าวว่าพระพุทธเจ้าไม่ใช่พระพุทธเจ้าดังนี้บ้าง พระธรรมไม่ใช่พระธรรมดังนี้บ้าง พระสงฆ์ไม่เป็นพระสงฆ์ดังนี้บ้าง. พระโสดาบันย่อมเป็นผู้มีศรัทธาดำรงมั่นแท้ เปรียบเสมือน สูรอัมพัฏฐอุบาสกฉะนั้น.

นัยว่า อุบาสกนั้นฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว เป็นพระโสดาบันได้กลับไปเรือน. ที่นั้น มารเนรมิตพระพุทธรูปอันประดับด้วยลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ ยืนอยู่ที่ประตูเรือนของอุบาสกนั้นแล้ว ส่งสาส์นไปว่า พระศาสดาเสด็จมาดังนี้.

สูรอุบาสกคิดว่า เราฟังธรรมในสำนักของพระศาสดามาเดี๋ยวนี้เอง อะไรจักมีอีกหนอ ดังนี้แล้ว เข้าไปหา ไหว้ด้วยสำคัญว่าเป็นพระศาสดาแล้วจึงได้ยืนอยู่.

มารกล่าวว่า อัมพัฏฐะ คำใดที่เรากล่าวแก่ท่านว่า รูปไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยงดังนี้ คำนั้นเรากล่าวผิดไป เพราะเรายังไม่พิจารณาจึงกล่าวคำนั้นไป ฉะนั้นเธอจง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 175

ถือเอาว่า รูปเที่ยง ฯลฯ วิญญาณเที่ยงดังนี้เถิด.

สูรอุบาสก คิดว่า ข้อที่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่พิจารณา ไม่ทำการตรวจตราอย่างประจักษ์แล้ว พึงตรัสอะไรไปนั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ มารนี้มาเพื่อมุ่งทำลายเราอย่างแน่นอน. ลำดับนั้น สูรอุบาสกจึงกล่าวกะมารนั้น ว่า ท่านเป็นมารใช่ไหมดังนี้. มารนั้นไม่อาจที่จะกล่าวมุสาวาทได้ จึงรับว่า ใช่ เราเป็นมาร ดังนี้.

อุบาสกถามว่าเพราะเหตุไร ท่านจึงมา.

มารตอบว่า เรามาเพื่อทำศรัทธาของท่านให้หวั่นไหว.

อุบาสกกล่าวว่า ดูก่อนมารผู้ใจบาปอำมหิต ท่านผู้เดียวนั้นจงหยุดอยู่ก่อน พวกมารเช่นท่าน ร้อยก็ดี พันก็ดี แสนก็ดี ไม่สามารถจะทำศรัทธาของเราให้หวั่นไหวได้ ชื่อว่าศรัทธาอันมาแล้วด้วยมรรค เป็นของมั่นคงไม่หวั่นไหวเหมือนภูเขาสิเนรุซึ่งตั้งอยู่บนแผ่นดินอันล้วนแล้วด้วยสิลา ท่านจะทำอะไรในการมานี้ ดังนี้แล้วปรกมือขึ้น.

มารนั้นเมื่อไม่สามารถจะดำรงอยู่ได้จึงหายไปในที่นั้นนั่นเอง.

คำว่า นิวิฏฺา นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสหมายเอาสัทธาอย่างนั้น.

บทว่า มูลชาตา ปติฏฺตา ความว่า ดำรงมั่นแล้วด้วยมรรคนั้นอันเป็นมูล เพราะมูลรากคือมรรคเกิดพร้อมแล้ว.

บทว่า ทฬฺหา แปลว่ามั่นคง.

บทว่า อสหาริยา ความว่า อันใครๆ ไม่พึงอาจเพื่อจะให้หวั่นไหวได้ เปรียบเหมือนเสาเขื่อนที่เขาฝังไว้อย่างนั้น.

บทว่า ตสฺเสต กลฺล วจนาย นั้น ความว่า คำนั้น ควรที่จะเรียกพระอริยสาวก. ท่านกล่าวว่าอย่างไร. ท่านกล่าวคำเป็นต้นว่า เราเป็นบุตรเกิดแต่อกของพระผู้มีพระภาค ดังนี้. ความจริง พระอริยสาวกนั้นอาศัยพระผู้มีพระภาค จึงเกิดขึ้นในภูมิของพระอริยะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นบุตรของพระผู้มีพระภาค และชื่อว่าเป็นโอรสเกิดแต่พระโอษฐ์ เพราะอยู่ในอกแล้วดำรงอยู่ในมรรคและผลด้วยอำนาจการกล่าวธรรมอันออกมาจากพระโอษฐ์ ชื่อว่าเกิดแต่ธรรมเพราะ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 176

เกิดจากอริยธรรม และชื่อว่าอันธรรมเนรมิตขึ้น เพราะถูกอริยนิรมิตขึ้น ชื่อว่าธรรมทายาท เพราะควรรับมรดกคือนวโลกุตตรธรรม.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
pamali
วันที่ 12 เม.ย. 2554
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 7 ม.ค. 2557

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 16 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ