กาล...ที่กรรมจะให้ผล (๓)

 
พุทธรักษา
วันที่  24 มี.ค. 2552
หมายเลข  11749
อ่าน  826

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อาจารย์วิชัย ท่านอาจารย์ได้กล่าว ตั้งแต่ขณะ ปฏิสนธิจิต ว่า เป็นผลของกรรม ในอดีต ที่ได้กระทำแล้ว และประมวลมา เป็นปัจจัยให้เกิดในภูมิต่างๆ ถ้าเป็นผลของ อกุศลกรรม ก็เป็นปัจจัยให้เกิดในอบายภูมิหมายความว่า ปฏิสนธิจิต ที่เกิดเป็นผลของ อกุศลกรรมเรียกว่า เป็น อกุศลวิบากจิต จิตเพียงประเภทเดียว ที่ทำกิจ ปฏิสนธิ ในอบายภูมิ คือ สันตีรณอกุศลวิบากจิต

พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรม ตามความเป็นจริง ว่าผลของอกุศลกรรม จะมี อกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วย ไม่ได้.!เพราะว่า ผลของกรรม คือ จิต ชาติ วิบากและ จิต ที่ประกอบด้วย อกุศลเจตสิก คือ จิต ชาติ อกุศล การเกิดของจิต ซึ่งต่างกัน โดย "ชาติ" .. "ชาติของจิต" หมายถึง "การเกิดของจิต"โดย "ชาติ" ก็บอกอยู่แล้ว ว่า จิตชาติอกุศล จะเกิดกับ จิต ชาติวิบาก ไม่ได้ เพราะฉะนั้น การให้ผล ของ อกุศลกรรม หรือ กุศลกรรมผลที่เกิด จะต้องเป็น จิต ชาติวิบาก เท่านั้น

ดังนั้น ถ้าพูดถึง เจตสิกฝ่ายดี คือ โสภณเจตสิก นั้นเกิดเป็น ชาติ กุศล ก็ได้ เกิดเป็น ชาติวิบาก ก็ได้ และ เกิดเป็น ชาติกิริยา ก็ได้ การสะสม ของแต่ละบุคคลแม้ในขณะที่ กำลังฟังพระธรรมไม่ใช่ว่า กุศลจิต จะเกิดตลอดเวลาจิต ที่ คิดนึก ถึงเรื่องราวต่างๆ เป็นปัจจัยให้ อกุศลจิต เกิดขึ้นได้

เพราะฉะนั้นการเกิดขึ้น ของ อกุศลจิต หรือ กุศลจิตก็เป็นไป ตามสิ่งที่ได้สะสมมาแล้ว คือ เป็นปัจจัยให้เกิด และ เป็นไปอย่างนั้น
และ เป็น "อุปนิสสยปัจจัย"ที่ทำให้ กุศลจิต หรือ อกุศลจิต เกิดขึ้นได้ ในกาลข้างหน้า

อาจารย์อรรณพ กุศล ที่ประกอบด้วย ปัญญามี "คุณ" มากจริงๆ อย่างเช่น ขณะที่เข้าใจพระธรรม.ขณะนั้น ก็ให้ "คุณ" แล้ว ทั้งในขณะที่ กำลังคิด เรื่องของพระธรรม เพราะว่า ในขณะนั้น จิต ไม่เศร้าหมอง จิต ไม่เจือปนไปด้วย อกุศลธรรม ใดๆ เลย ขณะนั้น จิต มีลักษณะผ่องใส ดีงาม เป็น "ลักษณะของกุศลจิต" ที่ประกอบด้วย ปัญญา

เมื่อจิตที่ดีงาม เกิดขึ้น และ ดับไปก็สะสม เป็นปัจจัยให้มี การเพิ่มเติม เป็น พืชเชื้อ ที่สะสมไว้ใน จิต คือ เป็น อาสยะฝ่ายดี ซึ่งเป็นปัจจัยให้มี การเพิ่มพูนขึ้น ของ จิตที่ดีงาม ต่อไป และยังมี"คุณ" ในชาติ ต่อๆ ไปอีกคือ กุศลจิต ที่ประกอบด้วย ปัญญา ที่มีกำลัง นั้นสามารถเป็นปัจจัยให้ ปฏิสนธิจิต ในชาติต่อๆ ไปเกิดขึ้น เป็น มหาวิบากญาณสัมปยุตต์ ที่ประกอบด้วย ปัญญา ซึ่ง ปฏิสนธิจิต ที่ประกอบด้วยปัญญา นั้นเอง ที่ประมวลมาซึ่งโอกาสที่จะได้ อบรมเจริญปัญญา ต่อไปอีก และผลของกรรม ที่ดีงามที่สมควร แก่ ภพภูมิ นั้นๆ จะมี ภวังคจิต ที่ประกอบด้วย "เหตุ" ที่ดีคือ ประกอบด้วยปัญญา นั่นเอง

เมื่อมี แดนเกิด ของการที่จะรู้อารมณ์ ทาง "วิถีปฏิปทากมนสิการ."หมายความว่า เป็น แดนกิดที่จะให้รู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายและ ทางใจ กุศลวิบาก ที่ได้สะสมมาแล้วที่เป็น อาสยะ ฝ่ายดี นั้นเองเป็นปัจจัยทำให้ "ชวนปฏิปาทกมนสิการ" ฝ่ายดีที่เป็น กุศลจิต เกิดขึ้น และ เป็น "ธรรมฝ่ายดี"ที่จะเป็นปัจจัย ให้เกิด การเข้าใจพระธรรมและ เป็นการสะสม "ธรรมฝ่ายดี" ต่อไปได้

คุณอรวรรณ เมื่อฟังอย่างนี้แล้ว ดูเหมือน ว่า กรรม และ การให้ผลของกรรม นั้น อธิบาย โดยความเป็น จิต แต่ละขณะเมื่อคิดถึง ความเข้าใจ เรื่องกรรม และ การให้ผลของกรรมโดยคิด เป็น เรื่องราวยาวๆ เช่น ถ้าไปเจออะไร ที่ไม่ดี ก็บอกว่านี่เป็น อกุศลวิบาก..
แต่เมื่อฟังตรงนี้แล้ว ... ดูเหมือนว่าเรื่อง กรรม และ การให้ผลของกรรมคือ ภวังคจิต และ วิถีจิต และ ถ้าเป็นขณะที่ วิบากจิต เกิดขึ้นก็จะมี กุศลวิบากจิต และ อกุศลวิบากจิต ท่านอาจารย์ กรุณาขยายความตรงนี้ให้เข้าใจว่า ทุกๆ ขณะนี้เป็นเรื่องของกรรม และ การให้ผลของกรรมอย่างไร

ท่านอาจารย์ ถ้ามี จิต เกิดขึ้น ๑ ขณะจะมีเรื่องราวไหม ก็ไม่มี แต่ จิต เกิดดับ สืบต่อกัน อย่างรวดเร็วตลอดเวลาแล้วมี การจดจำ ว่า มีคน มีสัตว์ มีเรื่องราวต่างๆ ก็เพราะว่า จิต เกิดดับ สืบต่อกัน ฯ

คุณอรวรรณ ในเรื่องของ กรรม และ การให้ผลของกรรมที่เป็น สภาพธรรม ที่เกิดขึ้น ในขณะนี้ ฟังแล้ว ดูเหมือนเข้าใจ แต่ยังไม่กระจ่างชัด ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็จะต้องรู้จริงๆ ว่า จิต ในขณะนั้นเป็น ชาติ อะไร ชาติ คือ การเกิดขึ้นของจิต โดย เกิดเป็น กุศลจิต ก็ได้ หรือเ กิดป็น อกุศลจิต ก็ได้. จิต ชาติกุศล และ อกุศล เป็น "เหตุ" หรือ เป็น จิต ชาติวิบากคือ เป็นผล ของ อุศลกรรม หรือ กุศลกรรม. จิต ชาติวิบาก เป็น "ผล" หรือ เป็น จิต ชาติกิริยาที่ไม่ใช่ ทั้ง กุศลจิต อกุศลจิต และ ไม่ใช่ วิบากจิต. จิต ชาตกิริยา ไม่ใช่ "เหตุ" และ ไม่ใช่ "ผล" ทั้งหมด เป็น จิตแต่ละขณะ แต่ละชาติ

เพราะว่า ทุกๆ ขณะนี้ ไม่เคย "ปราศจากจิต" เลยไม่ว่ามีเหตุการณ์อะไร เกิดขึ้นก็ตาม ที่เป็นเรื่องยาวๆ ก็จะต้องมี จิต ในขณะนั้นๆ แต่ละขณะๆ ที่เกิดขึ้นและ ทำกิจการงาน โดยเฉพาะของจิต ประเภท นั้นๆ โดยเกิดขึ้น และ ทำกิจ ของตนๆ แต่ละ ขณะๆ ซึ่ง จากความเข้าใจ ที่ถูกต้องก็สามารถที่จะทำให้ ปัญญา รู้ว่าขณะที่ เห็น เป็นผลของกรรมไม่ใช่ อกุศลจิต และ อกุศลจิต แน่นอน

แต่เมื่อ เห็น เกิดแล้ว ดับแล้ว จะเป็นอะไร.?เป็น กุศลจิต หรือ อกุศลจิต เป็นสิ่งที่แน่นอน ใช่ไหม ด้วยเหตุนี้จึงมีทั้งจิต ที่เป็น ชาติวิบากซึ่งเป็น "ผลของกรรม" และมี จิต ชาติกุศล จิต ชาติอกุศล ซึ่งเป็น "เหตุ" และมี จิต ชาติกิริยาซึ่งเป็น อเหตุกกิริยาจิต จิต ชาติกิริยา คือ อเหตุกกิริยาจิต นี้เองที่เป็น"แดนเกิด" ของ "ธรรม" ทั้งหลาย ที่ได้สะสมมาแล้วแสนนานในสังสารวัฏฏ์

เพราะว่า ถ้าเป็นเพียง ภวังคจิตก็ไม่มีอะไรปรากฏเลย.ไม่ว่าจะได้สะสมอะไรมา มากน้อยเท่าไรก็ไม่ปรากฏเลย.จนกว่าจะมี การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่นการลิ้มรส และ การกระทบสัมผัส ทางกายรวามทั้ง การคิดนึก ทางใจ ด้วย

พื้นฐานอภิธรรมวันอาทิตย์ ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ ณ อาคารมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

บรรยายโดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ถอดเทป โดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล


ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
สุภาพร
วันที่ 26 มี.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

และ ขอน้อมน้อมคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ด้วยความเคารพยิ่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
คนบ้านนอก
วันที่ 26 มี.ค. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ