ปฏิสนธิจิต

 
พุทธรักษา
วันที่  9 มี.ค. 2552
หมายเลข  11566
อ่าน  1,187

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การสะสมของจิต เมื่อยังคงอยู่ ก็เป็นเหตุให้แต่ละบุคคล มีความหลากหลาย และแตกต่างกันไปมากมาย เพราะว่า แม้ปฏิสนธิจิตเพียง ๑ ขณะ (ที่เกิดขึ้นเป็นจิตขณะะแรกของชีวิต) จะเป็นผลของกรรมหนึ่งกรรมใด ก็แล้วแต่ว่าจะเกิดเป็นอะไร เมื่อวิบากจิต คือ ปฏิสนธิจิต เป็นจิตขณะแรก ของชาตินี้ ปฏิสนธิจิตนั้นเอง ที่ประมวลการสะสมของจิต มาทั้งหมด การสะสมของจิต จึงไม่ได้หายไปไหนเลย เมื่อโกรธใครสักขณะหนึ่ง แม้ว่า จะดับไปแล้วความโกรธ ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็สะสม สืบต่อ อยู่ในจิต ด้วยเหตุนี้ จิต ที่เป็นขณะปฏิสนธิจิตนี้ จึงมีทั้ง "อาสยานุสยะ" คือ การสะสมของจิตทั้งฝ่ายที่เป็นกุศลธรรม และ ฝ่ายที่เป็นอกุศลธรรม

สำหรับฝ่ายอกุศลธรรม ใช้คำบัญญัติว่า "อนุสัย" แต่ถ้าเป็นคำว่า "อาสยะ" หมายถึงการสะสมของจิต ทั้งฝ่ายกุศล และ อกุศล เพราะฉะนั้น ใครจะรู้ว่า ปฏิสนธิจิต ซึ่งเป็นจิตขณะแรกที่เกิดขึ้นนั้นเมื่อดับไปแล้วจะ เกิดอะไรขึ้นในชีวิต ที่จะเป็นเหตุปัจจัย ให้ชีวิตเป็นไปตั้งแต่เกิด จนตาย เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เพราะแม้ขณะนี้ ที่เคยเข้าใจว่า เป็นเรา ที่ฉลาด หรือมีอกุศลมาก มีโทสะมาก ริษยามาก หรืออะไรก็ตามแต่ ทั้งหมดนั้น คือ ธรรม ที่ประมวลสะสมมาแล้ว ในชาติก่อนๆ ซึ่งไม่ได้หายไปไหนเลย จิต เป็นนามธรรม และเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นแล้วดับไปก็สะสมอยู่ในจิต ที่เป็นนามธรรมนี้แหละ เพราะฉะนั้น ในระหว่างที่จิต ยังไม่รู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใด ทั้ง ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ ขณะที่ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น แล้วดับไปนั้น มีความไม่ต่าง โดยกิจ มีความไม่ต่าง โดยประเภท หมายความว่า ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ ก็เป็นผลของกุศลกรรม ถ้าเกิดในนรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน ก็เป็นผลของอกุศลกรรม แต่ขณะแรก ที่ปฏิสนธิจิตเกิด ในภูมิที่มีรูป ... กรรม ก็เป็นเหตุ ที่ทำให้อวิชชา เป็นปัจจัย ให้เกิดสังขาร สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ คือปฏิสนธิจิต นั่นเอง ปฏิสนธิจิต (วิญญาณ) จึง เป็นปัจจัย แก่ นาม และ รูป เพราะ เมื่อปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น ไม่ได้มีแต่เฉพาะ จิต เท่านั้น แต่มี เจตสิก ที่เกิดร่วมกับจิต และ ต้องเกิด พร้อมกับ รูป คือ รูป ซึ่งเกิดจากกรรม ขณะที่ปฏิสนธิจิต เกิดขึ้น คือ ขณะแรกที่เกิดนั้น จึงมีทั้งนามธรรม และ รูปธรรม ที่เป็นผลของกรรม เกิดขึ้นแต่สำหรับรูปธรรม ไม่เรียกว่า วิบาก เพราะว่าไม่ใช่สภาพรู้

แต่วิบาก คือ ผลของกรรม จะเป็นสุข เป็นทุกข์ประการใด จะเห็น หรือได้ยินอะไร ฯ ก็คือผลของกรรม ที่ติดตามมาหลังจากที่ได้เกิดมาแล้ว ในภพชาตินี้ เพราะฉะนั้น ขณะแรก ซึ่งเป็นปฏิสนธิจิต เกิดขึ้นแล้วดับไป ขณะนั้น โลกนี้ไม่ปรากฏ เพราะว่า ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้ลิ้มรส ไม่ได้กระทบสัมผัส และไม่ได้คิดนึกถึงอะไรทั้งสิ้น เพราะว่า แม้การที่ปฏิสนธิจิตนั้นจะเกิดได้ ก็เป็นผลของกรรม ที่เลือกไม่ได้เลย (คือเลือกไม่ได้ว่าจะให้จิตขณะแรกที่เกิด เป็นผลของกรรมใด)

ด้วยเหตุนี้ การสะสมมาจึงต่างกันโดยที่ยังไม่ปรากฏเลย แต่ รูป ก็เกิดขึ้นตามสมุฏฐาน เพราะว่า ขณะที่ปฏิสนธิจิตเกิด ต้องมี รูป เกิดขึ้นด้วยเสมอ ... รูป ที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต ในครรภ์ของมนุษย์ มีเพียง ๓ กลาป หรือ ๓ กลุ่ม ซึ่งเป็นกลุ่มของรูป ที่มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ สี กลิ่น รส โอชา และหทยรูป ซึ่งเป็นที่เกิดของจิต เพราะว่า ในภูมิซึ่งมีรูป จิตจะเกิดที่อื่นไม่ได้เลย จิต จะต้องอาศัย รูปใดรูปหนึ่ง เป็นที่เกิด

อธิบายด้วยคำว่า "นิสสยปัจจัย" ก็หมายความว่า รูปใด ซึ่งเป็นที่เกิดของจิต รูปนั้นก็เป็นปัจจัยหนึ่ง ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ เพราะฉะนั้น ธรรมะ จึงเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ตลอด ๔๕ พรรษา ที่ทรงแสดงธรรม ก็คือ ทรงแสดงธรรม แต่ละอย่างๆ โดยละเอียดขึ้นๆ เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจถูกต้อง ว่าสภาพธรรม เป็นอนัตตา เป็นธรรม เป็นธาตุ จนกว่า การสะสมความเข้าใจ ที่มากขึ้นๆ จะค่อยๆ เป็นปัจจัย ที่ทำให้ผู้ฟัง เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ได้จริงๆ แม้ว่าขณะนี้ สังขารขันธ์ทั้งหลาย ไม่มีใครไปทำขึ้นมาได้เลยสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้น กำลังปรุงแต่งจิต อย่างละเอียด อย่างค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป ที่จะให้เกิดความเห็นถูกต้องเพิ่มขึ้น เมื่อไร ก็เมื่อนั้น


พื้นฐานอภิธรรมวันอาทิตย์ ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ณ อาคารมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

บรรยายโดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ถอดเทปโดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล


ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
สุภาพร
วันที่ 10 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
choonj
วันที่ 10 มี.ค. 2552

ผู้ทีไม่ได้ศึกษาธรรมไม่สามารถที่จะรู้ ปฏิสนธิจิตนำเกิดมาเป็นคนคนนี้ มีฐานะอย่างนี้ มีกรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ เป็นผู้ดีอย่างนี้ เป็นคนยากอย่างนี้ เป็นคนถ่อยอย่างนี้ ฯลฯ ผู้ที่ศึกษาธรรมก็รู้ว่าจิตสังสมสันดานด้วยชวนวิถี จึงสั่งสม กุศลปัญญา ลาภ อยู่ในทาน ศีล ภาวนา เพื่อให้มีชีวิตที่ดี จนกว่าจะนิพพาน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
คุณ
วันที่ 10 มี.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 10 มี.ค. 2552

จิต ที่เป็นขณะปฏิสนธิจิตนี้ จึงมีทั้ง "อาสยานุสยะ" คือ การสะสมของจิตทั้งฝ่ายที่เป็นกุศลธรรม และ ฝ่ายที่เป็นอกุศลธรรม สำหรับฝ่าย อกุศลธรรม ใช้คำบัญญัติว่า "อนุสัย" แต่ถ้าเป็นคำว่า "อาสยะ" หมายถึง การสะสมของจิตทั้งฝ่ายกุศล และ อกุศล

กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ขออนุโมทนาคุณพุทธรักษาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
orawan.c
วันที่ 12 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
bauloy
วันที่ 16 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
aiatien
วันที่ 30 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pornpaon
วันที่ 30 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
bauloy
วันที่ 5 ส.ค. 2554

กราบขออนุโมทนาในกุศลครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ