เมถุนธรรม ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ [สิกขาบทวิภังค์]

 
เมตตา
วันที่  4 มี.ค. 2552
หมายเลข  11476
อ่าน  4,786

[เล่มที่ 1] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ ๔๒๖

สิกขาบทวิภังค์

[๓๓] ที่ชื่อว่า เมถุนธรรม มีอธิบายว่า ธรรมของอสัตบุรุษ ประเพณีของชาวบ้าน มรรยาทของคนชั้นต่ำ ธรรมอันชั่วหยาบ ธรรมอันมีน้ำเป็นที่สุด กิจที่ควรซ่อนเร้น ธรรมอันคนเป็นคู่ๆ พึงประพฤติร่วมกัน นี้ชื่อว่า เมถุนธรรม.

อรรถาธิบายความหมายแห่งเมถุนธรรม

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงใจความแห่งบทว่า เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสเวยฺย เป็นต้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า เมถุนธมฺโม นาม เป็นต้น

ในคำว่า เมถุนธมฺโม นาม เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-

คำว่า เมถุนธมฺโม นาม นี้ เป็นบทอุเทศแห่งเมถุนแห่งธรรมที่ควรอธิบาย. ธรรมของพวกอสัตบุรุษทั้งหลาย คือคนต่ำช้า ชื่อว่า อสัทธรรม. ธรรมเป็นที่เสพของพวกชาวบ้านชื่อว่า คามธรรม ธรรมของพวกคนถ่อยชื่อว่า สลธรรม. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชื่อว่าถ่อยเองนั่นแล เพราะเป็นที่ไหลออกแห่งกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วสลธรรม.

บท ทุฏฺฐุลฺลํ มีความว่า ชื่อว่าเป็นธรรมชั่ว เพราะเป็นธรรมอันกิเลสทั้งหลายประทุษร้ายแล้ว และชื่อว่า อนึ่ง ตั้งแต่นี้ไปพึงเปลี่ยนสองบทว่า โย โส นี้ ทำให้เป็น ยนฺตํ ประกอบใน ๓ บทว่า ยนฺตํ ทุฏฐุลฺลํ ยนฺตํ โอทกนฺติกํ ยนฺตํรหสฺสํ

ก็แล พึงทราบโยชนาใน ๓ บทนี้ อย่างนี้ว่า การเห็นก็ดี การจับก็ดี การลูบคลำก็ดี การถูกต้องก็ดี การเบียดสีก็ดีซึ่งเป็นบริวารของกรรมนั้น จัดเป็นกรรมชั่วหยาบ แม้เพราะเหตุนั้น กรรมนั้นจึงจัดเป็นกรรมชั่วหยาบ กรรมชั่วหยาบนั้น ชื่อว่า เมถุนธรรม น้ำอันบุคคลย่อมถือเอา เพื่อความสะอาดในที่สุดแห่งกรรมนั้น เหตุนั้น กรรมนั้น จึงชื่อว่ามีน้ำเป็นที่สุด กรรมมีน้ำเป็นที่สุดนั่นแล ชื่อว่า โอทกันติกะ กรรมมีน้ำเป็นที่สุดนั้นชื่อว่า เมถุนธรรม กรรมนั้นชื่อว่าเป็นกรรมลับ เพราะความเป็นกรรมที่ต้องทำในที่ลับ คือ ในโอกาสอันปิดบัง กรรมนั้น ชื่อว่า เมถุนธรรม.

กรรมนั้น ชื่ออันคนเป็นคู่ๆ พึงถึงร่วมกัน เพราะความเป็นกรรมอันบุคคลพึงร่วมเป็นคู่ๆ กัน. ในบทว่า ทฺวยทฺวยสมาปตฺติ นั้นพึงทราบโยชนาว่า กรรมอันคนเป็นคู่ๆ พึงถึงรวมกันนั้น ชื่อว่า เมถุนธรรม. ก็แล ในอธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงชักธรรมทั้งปวง มีอสัทธรรม เป็นต้น นั้นมารวมในที่เดียวกัน จึงตรัสว่า นี้ชื่อว่า เมถุนธรรม.

ถามว่า เพราะเหตุไร อสัทธรรม จึงเรียกว่า เมถุนธรรม แก้ว่า อสัทธรรมนั้น เป็นของคนคู่ผู้กำหนัดแล้ว ผู้กำหนัดจัดแล้ว ผู้อันราคะชุ่มใจแล้วคือ ผู้อันราคะกลุ้มรุมแล้ว ได้แก่เป็นธรรมของคนคู่ผู้ปานกัน เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า เมถุนธรรม เป็นธรรมหยาบ เพราะเป็นธรรมไม่ละเอียด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าธรรมชั่วหยาบ.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
jar_qoo
วันที่ 2 ส.ค. 2563

ขอบคุณค่ะ สำหรับธรรมะดีๆ ละเอียดละออ ทำให้เข้าใจอะไรมากขึ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 28 ธ.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 24 ก.พ. 2565

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

การที่ได้มีโอกาสศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ทำให้มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏแล้วก็หมดไป ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหูทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จิตทุกขณะเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป หมดไป ไม่มีอะไรเหลือเลยจริงๆ จากภพหนึ่งไปอีกภพหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่ควรสั่งสมไปทุกภพทุกชาติ นั่นก็คือ กุศล (รวมถึงการอบรมเจริญปัญญา ในชีวิตประจำวันด้วย)

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ