โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งความตรัสรู้ [อรรถกถาหิมวันตสูตร]

 
เมตตา
วันที่  5 ก.พ. 2552
หมายเลข  11155
อ่าน  1,367

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 185

อรรถกถาโพชฌงคสังยุต

ปัพพตวรรควรรณนาที่ ๑

อรรถกถาหิมวันตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในหิมวันตสูตรที่ ๑ แห่งโพชฌังคสังยุต. บทว่า นาคา ความว่า นาคแม้เหล่านี้ อยู่ระหว่างคลื่น บนหลังมหาสมุทรหาอยู่ในวิมานไม่. นาคเกล้านั้นมีกายเติบโตเป็นต้น เพราะอาศัยภูเขาหิมวันต์ทั้งหมดพึงทราบโดยนัยอันกล่าวแล้วในหนหลัง. ในบทว่า โพชฺณงฺเค นี้ ชื่อว่าโพชฌงค์เพราะเป็นองค์แห่งความตรัสรู้ หรือองค์ของนี้ ชื่อว่าโพชฌงค์เพราะเป็นองค์แห่งความตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ . มีคำที่ท่านอธิบายไว้อย่างไรธรรมสามัคคีนี้ท่านเรียกว่า โพธิ เพราะอธิบายไว้ว่า พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคี กล่าวคือ สติ ธรรมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขาซึ่งเป็นปฎิปักษ์ต่ออุปัทวะหลายอย่างมี ถีนะ ความหดหู่ อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ปติฎฐานะ ความตั้งอยู่ อายูหนะ การรวบรวม กามสุขัลลิกานุโยคทำความเพียรในกามสุข อัตตกิลมถานุโยค ทำความเพียรในการทำตนให้ลำบาก อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยงและอภินิเวส ความยึดมั่นเป็นต้น เมื่อธรรมสามัคคีเกิดขึ้นอยู่ ในขณะแห่งมรรคที่เป็นโลกิยะและโลกุตระดังนี้ บทว่า พุชฺฌติ มีอธิบายว่า พระอริยสาวก ย่อมลุกขึ้นจากความหลับคือกิเลสสันดาน คือตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือย่อมกระทำนิพพานให้แจ้ง. สมดังที่ท่านกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ตรัสรู้แล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ. ชื่อว่า โพชฌงค์เพราะเป็นองค์ตรัสรู้แล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ. ชื่อว่า โพชฌงค์เพราะเป็นองค์แห่งความตรัสรู้ กล่าวคือธรรมสามัคคีนั้น เหมือนองค์แห่งฌานและองค์แห่งมรรคเป็นต้น. ส่วนพระอริยสาวก เรียกว่า โพธิ เพราะอธิบายว่า ย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีนี้ มีประการตามที่กล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้. ชื่อว่า โพชฌงค์เพราะเป็นองค์ของผู้ตรัสรู้นั้นบ้าง เหมือนองค์แห่งเสนาและองค์แห่งรถเป็นต้น.เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ จึงกล่าวว่า อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า โพชฌงค์เพราะเป็นองค์ของบุคคลผู้ตรัสรู้. ถามว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่าอย่างไร. ตอบว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ตาม เพราะอรรถว่า ตรัสรู้เฉพาะเพราะอรรถว่า ตรัสรู้ดี. พึงทราบ อรรถแห่งโพชฌงค์ แม้โดยนัยแห่งปฏิสัมภิทาเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้แล


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ