พูดส่อเสียด [วรรณาจุลศีล]

 
JANYAPINPARD
วันที่  2 ก.พ. 2552
หมายเลข  11069
อ่าน  1,499

[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ 194

ในคำว่า ปิสุณํ วาจํ ปหาย เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ วาจาที่เป็นเหตุทำคนเป็นที่รักในใจของผู้ที่คนพูดด้วย และเป็นเหตุส่อเสียดผู้อื่น ชื่อว่า ปิสุณาวาจา อนึ่ง วาจาที่เป็นเหตุให้กระทำตนเองบ้าง ผู้อื่นบ้าง หยาบคาย ทั้งหยาบคายแม้เอง ไม่เสนาะหู ไม่สุขใจ ชื่อว่า ผรุสวาจา วาทะที่เป็นเหตุให้บุคคลพูดเพ้อเจ้อ ไร้ประโยชน์ ชื่อว่า สัมผัปปลาป แม้เจตนาอันเป็นต้นเหตุแห่งคำพูดเหล่านั้น ก็พลอยได้ชื่อว่า ปิสุณาวาจา เป็นต้นไปด้วย ก็ในที่นี้ ประสงค์เอาเจตนานั้นแหละ ในบรรดาวาจาทั้ง ๓ อย่างนั้น เจตนาของบุคคลผู้มีจิตเศร้าหมองอันให้เกิดกายประโยค และวจีประโยค เพื่อให้คนอื่นแตกกันก็ดี เพื่อต้องการทำคนให้เป็นที่รักก็ดี ชื่อว่า ปิสุณาวาจา. ปิสุณาวาจานั้นชื่อว่า มีคุณน้อย เพราะผู้การทำความแตกแยกมีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะผู้นั้นมีคุณมาก.

ปิสุณาวาจานั้น มีองค์ ๔ คือ

๑. ภินฺทิตพฺโพ ปโร ผู้อื่นที่พึงให้แตกกัน

๒. เภทปุเรกฺขารตา มุ่งให้เขาแตกกันว่า คนเหล่านี้จักเป็นผู้ต่างกัน และแยกกันด้วยอุบายอย่างนี้ หรือ ปิยกมฺยตา ประสงค์ให้ตนเป็นที่รักว่า เราจักเป็นที่รัก จักเป็นที่ไว้ว่างใจ ด้วยอุบายอย่างนี้

๓. ตชฺโช วายาโม ความพยายามที่เกิดแต่ความมุ่งให้เขาแตกกันนั้น

๔. ตสฺส ตทตฺถวิชานนํ ผู้นั้นรู้เรื่องนั้น.

บทว่า อิเมสํ เภทาย ความว่า ฟังในสำนักของคนเหล่าใดที่ตรัสไว้ว่า จากข้างนี้ เพื่อให้คนเหล่านั้นแตกกัน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 14 พ.ย. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ