ขอให้ช่วยแนะนำธรรมะสำหรับคน sensitive ด้วยคะ

 
ศุจิกา
วันที่  21 ม.ค. 2552
หมายเลข  10949
อ่าน  2,965

ถ้าหากถูกใครสรุปว่าเป็นคน sensitive คงไม่พอใจแน่ๆ ทั้งๆ ที่อาจจะเป็นความจริงคน sensitive คงมีหลายระดับ แต่หากมากเกินไปจนเสียหายต่อตนเอง และผู้อื่นก็คงต้องขัดเกลาให้เบาบางลง คน sensitive มีมากในภาวะสังคมที่เต็มไปด้วยความเครียด ขอสหายธรรมที่แสนจะใจดีแนะนำธรรมะมาให้พิจารณาเพื่อขัดเกลาด้วยคะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 21 ม.ค. 2552

ควรทราบว่าผู้ที่มีใจที่หนักแน่น มั่นคง คงที่ ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมใดๆ เลยก็ คือพระอรหันต์ พระอรหันต์ที่ท่านไม่หวั่นไหวก็เพราะท่านมีปัญญา รู้ความจริง ท่านมี ปัญญามากก็เพราะท่านอบรมเจริญตามลำดับขั้น พระอนาคามีท่านก็ยังมีความหวั่นไหว น้อยกว่าพระสกทาคามี พระโสดาบัน แต่ปุถุชนทั้งหลายมีใจที่อ่อนไหวมากที่สุดเพราะ ขาดการอบรมธรรมะในอริยวินัย แต่กัลยาณปุถุชนเมื่อเริ่มได้ศึกษา และอบรมในธรรมะ ของพระอริยะ จะทำให้ค่อยๆ เป็นผู้หนักแน่นมั่นคงขึ้นตามลำดับของปัญญา ดังนั้น พระธรรมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นปิฎกใด ก็ช่วยทำให้ปัญญาค่อยๆ เจริญขึ้นคงไม่ต้องเจาะ จงว่าต้องเป็นสูตรนั้นหรือสูตรนี้ใช่ไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 21 ม.ค. 2552

หากพิจารณาสภาพธรรมตามความเป็นจริงแล้ว ปุถุชนย่อมหวั่นไหวไปตามสิ่งที่ปรากฎทางทวารทั้ง ห้า คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ถ้าคำว่าหวั่นไหวหมายถึงsensitiveปุถุชนล้วนแต่ sensitive ทั้งนั้นมากหรือน้อยขึ้นกับกำลังของกิเลส และความยึดมั่นถือมั่นในเรื่องใด ไม่ควรหวั่นไหวหากได้ชื่อว่าเป็นคน sensitive เพราะเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับปุถุชน..แต่พระพุทธองค์ตรัสว่าไม่ควรประมาทแม้อกุศลแม้เพียงเล็กน้อยด้วยการสะสมปัญญา เริ่มต้นด้วยการฟังธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ศิณอนงค์
วันที่ 21 ม.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ .. ดิฉันก็ถูกวิเคราะห์บ่อยๆ ว่าเป็นคนอ่อนไหวง่าย ซึ่งก็จริง.. จึงถูกชักจูงง่าย แต่ก็ยังว่าง่ายที่จะฟังเหตุผล แต่ก่อนก็ไปปฏิบัติตามคนอื่นๆ ใครให้ไปลองทีไหนก็ไป แต่โชคดีมากๆ ที่มาเจอมูลนิธิฯ ที่นี่ยากที่สุด ลึกซึ้งที่สุดเท่าที่เคยลองไปศึกษามา และทำให้ดิฉันจนด้วยเหตุผลที่สุด และเกิดศรัทธา วิริยะ แต่ก็ถือว่ายังมีศรัทธาไม่มั่นคง เพราะพระอริยบุคคลขึ้นไปถึงจะมีศรัทธาที่มั่นคงจริงๆ การจะศึกษาธรรม เริ่มแรกก็คงจะต้องยึดเหตุผลของพระธรรมเป็นหลัก ไม่ติดที่ตัวบุคคล ให้เห็นคุณค่าของพระธรรมก่อน ว่าศึกษาไปทำไม และถ้าเคยปฏิบัติที่ไหนมา หรือมีความเชื่ออะไรอยู่ ลองเทียบเคียง สอบถาม จากผู้รู้ที่แตกฉานในพระไตรปิฎก ซึ่งก็คือ ท่านอาจารย์และท่านวิทยากรที่มูลนิธิฯ แห่งนี้ ถามทุกอย่างที่เคยเจอมาในสำนักปฏิบัติธรรมและคำที่คนเค้าเล่ามา สอบถามให้จนด้วยเหตุผล เพราะดิฉันเคยเป็น และก็จนด้วยเหตุผล จึงมีใจใฝ่ในการศึกษาพระธรรมในที่สุด หนังสือพระธรรมที่ว่ายากๆ อาจจะง่ายกว่าผจญภัยในวัฏฏะก็ได้ค่ะ ที่พูดนี่ก็เพื่อให้คิดเป็นกุศโลบายที่จะศึกษาพระธรรมตั้งแต่ขณะนี้เลยนะคะ เพราะเวลาของคนเราเหลือน้อยแล้ว คือตั้งแต่เกิด ก็เริ่มนับถอยหลังแล้ว เวลาแค่ 70 กว่าปีที่เป็นอายุขัย ไม่พอสำหรับที่จะบรรลุธรรมใดๆ เพราะกิเลสสะสมมาไม่รู้กี่อสงไขย จึงเป็นจิรกาลภาวนาค่ะ เพราะว่าไม่ง่าย แต่ถ้าง่ายๆ ก็ไม่ใช่พระธรรม และที่สำคัญการศึกษาต้องเป็นไปตามลำดับขั้นจริงๆ เริ่มจากฟังพระธรรมให้เข้าใจก่อน ลองฟังไฟล์ การศึกษาธรรมของชาวพุทธ / สมถภาวนา /ปรมัตถ-ธรรม4 / บารมีในชีวิตประจำวัน / การเจริญเมตตา

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Sam
วันที่ 21 ม.ค. 2552

ผมคิดว่าคนที่ sensitive มักจะเป็นผู้ที่ให้ความสำคัญกับความคิดหรือความรู้สึกของผู้อื่นมาก และอาจจะไม่ค่อยมีความมั่นใจในความคิดเห็นของตัวเอง

ดังนั้น ผู้ที่ sensitive จึงควรคบหามิตรที่ดี เป็นผู้มีศีล มีความเมตตา และที่สำคัญคือเป็นผู้มีความรอบรู้ในเรื่องของชีวิต ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมะทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ อันปรากฎเป็นปกติในชีวิตประจำวัน

เมื่อได้พบและได้คบกับท่านผู้รู้ที่เป็นกัลยาณมิตรแล้ว ก็ควรใส่ใจในคำสอนของท่านสอบถามในเรื่องที่สงสัยให้เกิดความเข้าใจที่เป็นของตนจริงๆ (ไม่ใช่เพียงจำได้พูดตามได้) และเมื่อมีความเข้าใจพอสมควรแล้วก็จะเป็นผู้ที่มั่นใจในความเห็น (ที่ถูกต้อง) ของตัวเองมากขึ้น อันจะส่งผลให้สนใจหรือคิดถึงผู้อื่นด้วยกุศลจิตมากขึ้น และกุศลจิตเหล่านี้จะไม่ทำให้เรารู้สึกเครียด อึดอัด หรือตะขิดตะขวงใจอย่างใดเลยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 21 ม.ค. 2552

"...แต่กัลยาณปุถุชน เมื่อเริ่มได้ศึกษาและอบรมในธรรมะของพระอริยะ จะทำให้ค่อยๆ เป็นผู้หนักแน่นมั่นคงขึ้นตามลำดับของปัญญา" ขออนุโมทนาทุกท่านครับ และขอขอบพระคุณความเห็นที่ ๓ ที่ได้กรุณาเล่าประสพการณ์ทางธรรมให้ฟังครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
พุทธรักษา
วันที่ 21 ม.ค. 2552

ดังนั้น ผู้ที่ sensitive จึงควรคบหามิตรที่ดี เป็นผู้มีศีล มีความเมตตา และที่สำคัญคือเป็นผู้มีความรอบรู้ในเรื่องของชีวิต ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมะทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ อันปรากฎเป็นปกติในชีวิตประจำวัน

ขออนุโมทนาค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ศิณอนงค์
วันที่ 21 ม.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
suwit02
วันที่ 21 ม.ค. 2552

มิตรดีเป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น

สาธุ

ผมเข้าใจว่าผู้ที่ sensitive จะตรงกับ โลกาธิปไตย ใน อธิปไตยสูตร

ขอเชิญอ่านกระทู้

อะไรเป็นใหญ่

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เมตตา
วันที่ 22 ม.ค. 2552

sensitive ก็เป็นลักษณะสภาพธรรมอย่างหนึ่ง อบรมเจริญปัญญารู้สิ่งที่ปรากฎขณะนี้ ทางตามีเห็น มีสิ่งที่ถูกเห็น ทางหูมีเสียง มีได้ยิน .... คิดนึก มีสุข มีทุกข์ มีโลภ มีหลง มีโกรธ มี sensitive เหล่านี้ก็เป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่งไม่ใช่เราค่ะ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
orawan.c
วันที่ 22 ม.ค. 2552

อบรมเจริญปัญญาด้วยการเริ่มต้นฟังพระธรรมให้เข้าใจ ปัญญาเท่านั้นจึงสามารถละอกุศลและกิเลสทั้งปวงได้

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ปทปรม
วันที่ 22 ม.ค. 2552

Sensitive แล้วเป็นไง คนที่วิจารณ์เราดีแค่ไหน คนอื่นจะทำอะไรจิต ของเราได้ เสียงวิจารณ์ของเขา ก็ดับไปในขณะที่เขาพูดแล้ว เราเองเอามาคิด หวั่นไหวต่อ เราเองที่ทำร้ายใจตัวเองต่อ

หวั่นไหวง่าย ก็ถูกทำร้ายง่าย

บางคนเห็นแต่อกุศลของคนอื่น วิจารณ์แต่คนอื่น ไม่เคยเห็นอกุศลของตน เรารักษาจิตของเรา อย่าให้อกุศลของคนอื่นมาทำให้จิตของเราเป็นอกุศล เอาเวลาที่คิดเรื่องทำร้ายใจตนเอง ฟังพระธรรม พิจารณาพระธรรม ที่ได้ยิน ได้ฟัง ได้ประโยชน์กว่า คำว่า "Sensitive" ไร้สาระ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ajarnkruo
วันที่ 22 ม.ค. 2552

ใครสรุปให้เราเป็นอย่างไร ก็ไม่เท่ากับ ปัญญาที่เกิดจากความเข้าใจพระธรรมสรุปให้ครับ คนอื่นไม่ได้รู้จักอกุศลที่สะสมมาของเราเลย เราเองก็ไม่ได้รู้จักอกุศลที่สะสมมาของตนเองเช่นกัน ทุกวันนี้เราเพียงอนุมานนิสัยใจคอของตัวเราเองว่า คงจะเป็นอย่างนั้น น่าจะเป็นอย่างนี้ แต่ที่จะรู้จริงๆ ก็คือขณะที่สติระลึก และปัญญาค่อยๆ ศึกษาจนรู้ความจริงของธรรมที่ปรากฏ ไม่ว่าจะทางฝ่ายกุศลหรือทางฝ่ายอกุศล ขณะนั้นจึงจะเห็นจริงๆ ว่า การสะสมในแต่ละฝ่ายของเรา แท้ที่จริงแล้วเป็นอย่างไร เป็นอย่างที่เขาว่าจริงๆ หรือว่า ไม่ใช่โดยสิ้นเชิงสิ่งที่จะตัดสินได้ ต้องเป็นปัญญาที่มาจากความเข้าใจพระธรรมครับ จะเป็นผู้ที่sensitive มากน้อยเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ควรลืมว่าเป็นธรรมะ ไม่ใช่เรา เราขัดเกลาอะไรในสภาพธรรมที่มีปัจจัยเกิด ปรากฏสั้นๆ แล้วดับไปไม่ได้ แต่อบรมเจริญปัญญาให้เข้าใจสภาพธรรมที่ปรากฏแม้ในขณะนี้ว่า เป็นธรรมะ เป็นธาตุอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล ได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
narong.p
วันที่ 24 ม.ค. 2552

การแนะนำในแง่มุมต่างๆ ก็เพื่อที่จะให้มีความเข้าใจถูกต้องว่า ต้องเริ่มจากการฟังให้เกิดความเข้าใจ ค่อยๆ เข้าใจขึ้นๆ ๆ มิใช่การฟังคำแนะนำแล้วเป็นตัวเราที่จะไปทำให้ไม่เกิด ความหวั่นไหวขึ้นได้ จึงต้องมีความอดทนด้วยความเข้าใจ ว่า ต้องอบรมเจริญปัญญา คือความเข้าใจ ของตนเอง จริงๆ ไม่ใช่การท่องจำ และไม่ใช่เพียงตัวอักษร เรื่องราวของธรรมะ แต่ต้องทำความเข้าใจในอรรถ ในลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ถ้ายังไม่เคยรู้หรือไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน ก็ต้องเริ่มด้วยว่า ธรรมะคืออะไรก่อน และทุกๆ คำที่ได้ยินได้ฟัง ไม่รีบ ไม่เผิน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chatchai.k
วันที่ 14 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ