ปฐมโพธิกาล ว่าด้วย อุทานที่พระองค์ไม่ทรงละ

 
พุทธรักษา
วันที่  18 ม.ค. 2552
หมายเลข  10935
อ่าน  4,808

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

คู่มือศึกษาธรรม เล่ม ๒ หน้า ๖๒-๖๔ เรียบเรียงโดย อาจารย์สมพร ศรีวราทิตย์

เรื่อง ปฐมโพธิกาล

ว่าด้วย อุทานที่พระองค์ไม่ทรงละ

พระศาสดา ประทับนั่ง ณ ควงไม้โพธ์ทรงเปล่งอุทานแล้ว ด้วยความเบิกบานพระทัยในสมัยอื่นอีกอันพระอานนทเถระ ทูลถามแล้ว

ข้อความโดยย่อ มีว่า

พระองค์ประทับนั่ง ณ ควงไม้โพธิ์ เมื่อพระอาทิตย์ ยังไม่อัสดงคตเทียว ทรงกำจัดมารแล้วในปฐมยาม ทรงทำลายความมืด ที่ปกปิด บุพเพนิวาสญาณในมัชฉิมยาม ทรงชำระ ทิพยจักษุ ให้หมดจดในปัจฉิมยาม ทรงหยั่งญาณ ลงใน "ปัจจยาการ" ([เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 433 )

พิจารณา โดยอนุโลม และ ปฏิโลมในเวลาอรุณรุ่ง ทรงบรรลุ พระสัมมาสัมโพธิญาณ พร้อมด้วยอัศจรรย์หลายอย่าง เมื่อจะทรงเปล่งอุทาน แห่งพระพุทธเจ้ามิใช่น้อย ไม่ทรงละแล้ว ได้ตรัสคาถานี้ว่า

อเนกชาติสํสารํ สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํคหการํ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํคหการก ทิฐฺโถสิ ปุน เคหํ น กาหสิ สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา คหกูฏํ วิสงฺขตํ. วิสังฺขารขตํ จิตฺตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา

แปลว่า เราแสวงหา นายช่างผู้ทำเรือน เมื่อไม่ประสบ ได้ท่องเที่ยวไปแล้ว สู่สงสาร มีชาติ มิใช่น้อย ความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ แน่ะนายช่างผู้ทำเรือน เราพบท่านแล้วท่านจะทำเรือนอีกไม่ได้ ซี่โครงทุกซี่ของท่าน เราหักเสียแล้วยอดเรือน เราก็รื้อเสียแล้ว จิตของเรา ถึงแล้วซึ่งวิสังขาร เราได้บรรลุแล้ว ซึ่งความสิ้นไป แห่งตัณหาทั้งหลาย ดังนี้

อธิบายในบทเหล่านั้น สองบทว่า คหการํ คเวสนฺโต ความว่า เรานั้น เมื่อแสวงหานายช่างเรือน คือ ตัณหา ผู้ทำเรือน คือ อัตภาพนี้ มีอภินิหาร อันทำแล้ว ในที่ใกล้แห่งพระบาท ของพระทีปังกรเพื่อประโยชน์แก่ บุคคล เพื่ออันเห็นตัณหานั้น ด้วยญาณใดญาณนั้น คือ โพธิญาณเมื่อไม่ประสบ ไม่พบ คือ ไม่ได้พระญาณ นั้นแหละจึงท่องเที่ยวเร่ร่อน วนเวียนไปๆ มาๆ สู่สงสาร มีชาติเป็นเอนกคือ สู่สังสารวัฏฏ์นี้ อันนับได้ หลายแสนชาติ มิใช่น้อย สิ้นกาลมีประมาณเท่านี้

คำว่า ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ นี้เป็นคำแสดงเหตุ แห่งการแสวงหา นายช่างผู้ทำเรือน อธิบายว่า ชื่อว่า ชาตินี้ คือ การเข้าถึง (การเกิด) บ่อยๆ ชื่อว่า เป็นทุกข์เพราะความที่ชาตินั้น เจือด้วย ชรา พยาธิ และมรณะ ก็ชาตินั้น ครั้นเมื่อตัณหานั้น อันใครๆ ไม่เห็นแล้ว ย่อมไม่กลับเพราะเหตุนั้น (เมื่อ) เราแสวงหานายช่างผู้ทำเรือน ชื่อว่า ท่องเที่ยวไปแล้ว

บทว่า ทิฏฺโฐสิ ความว่า บัดนี้ เราตรัสรู้ พระสัพพัญญุตญาณแล้ว เห็นท่านแล้วทีเดียว

บทว่า ปุน เคหํ ความว่า ท่านจะทำเรือนของเรา กล่าวคือ อัตภาพ ในสังสารวัฏฏ์นี้อีก ไม่ได้

บาทพระคาถาว่า สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา ความว่า ซี่โครง คือ กิเลสที่เหลือทั้งปวงของท่าน เราหักแล้ว

บาทพระคาถาว่า คหกูฏํ วิสงฺขตํ ความว่า แม้มณฑลช่อฟ้า กล่าวคือ อวิชชาแห่งเรือน คือ อัตภาพอันท่านกระทำแล้วนี้ เราก็รื้อเสียแล้ว

บาทพระคาถาว่า วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ ความว่า บัดนี้ จิตของเราถึงแล้ว คือ เข้าถึงธรรม อันปราศจากเครื่องปรุงแต่งคือ พระนิพพาน ด้วยสามารถแห่งการกระทำให้เป็นอารมณ์

บาทพระคาถาว่า ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ความว่า เราบรรลุพระอรหัต กล่าวคือ ความสิ้นไปแห่งตัณหาแล้ว ดังนี้

จบ เรื่อง ปฐมโพธิกาล

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศลแด่สรรพสัตว์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
สุภาพร
วันที่ 19 ม.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
คุณ
วันที่ 19 ม.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
opanayigo
วันที่ 19 ม.ค. 2552

เป็นคำแสดงเหตุ แห่งการแสวงหา นายช่างผู้ทำเรือน.อธิบายว่า ชื่อว่า ชาตินี้ คือ การเข้าถึง (การเกิด) บ่อยๆ ชื่อว่า เป็นทุกข์

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
suwit02
วันที่ 19 ม.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornpaon
วันที่ 23 ม.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 30 เม.ย. 2557

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 7 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ