เหตุและผล...ในการอบรมเจริญสติปัฏฐาน

 
พุทธรักษา
วันที่  10 ม.ค. 2552
หมายเลข  10872
อ่าน  995

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

แนวทางเจริญวิปัสสนาโดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ถ้าสติปัฏฐานเกิด ระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรมคือ นามธรรม และ รูปธรรม จะปรากฏ ทีละอย่างๆ การฟังพระธรรมวินัย ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ยิ่งมากเท่าไร ก็ยิ่งเป็นประโยชน์เพราะอนุเคราะห์ให้เข้าใจ ในลักษณะของสภาพธรรม ให้ถูกต้องยิ่งขึ้น

ปัญญา คือความเข้าใจในสภาพธรรม มีหลายขั้นความเข้าใจในขั้นฟังนั้น ก็พอจะรู้สึกว่า แจ่มแจ้งแต่เมื่อสติเกิดขึ้น ความเข้าใจในลักษณะของสภาพธรรมว่าเป็นนามธรรม หรือ รูปธรรมนั้น ย่อมยากขึ้น สภาพธรรม เป็น ธรรมดา เป็นธรรมชาติ เป็นปกติที่สุดแต่ผู้ที่พยายามที่จะทำวิปัสสนา ก็วุ่นวายเป็นการใหญ่พยายามที่จะไปรู้ รูปอื่น นามอื่น ที่ไม่เป็นปกติ

ไม่ว่าชีวิตตามปกติธรรมดาของบุคคลนั้น จะเป็นอย่างไรเมื่อมีความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็สามารถเข้าใจสภาพธรรมที่มีปัจจัย ที่เกิดขึ้นและดับไปได้เมื่อมีความเข้าใจธรรมะ เพิ่มขึ้น ก็เป็นปัจจัยให้อบรมสติ และปัญญา ให้สมบูรณ์ได้ยิ่งขึ้นเป็นลำดับ ไม่ข้ามขั้น

ปัญญาขั้นที่ ๑ คือ นามรูปปริจเฉทญาณ ยังไม่เกิดขึ้น เพราะว่าการพิจารณาและรู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม ที่มีลักษณะต่างกันยังไม่เป็นปัญญา ที่สมบูรณ์ แต่การพยายามที่จะไปรู้ทุกข์ พยายามละแต่ ไม่ระลึกรู้ ลักษณะ ของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏตามปกติ ตามธรรมดา ในชีวิตประจำวันคือ การเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส และคิดนึก ในขณะนี้ก็ไม่สามารถที่จะรู้ ตรงลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏได้

การอบรมเจริญสติปัฏฐาน ต้องเป็นปกติ เป็นธรรมดาเพราะธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เป็นนาม เป็นรูป ทั้งนั้นและแต่ละคน เหมือนกันไม่ได้ เพราะเหตุปัจจัยที่สะสมมานั้น ต่างกันผู้ที่จะเป็นพระอริยสาวกได้นั้น ต้องเป็นผู้ตรงถ้าไม่ระลึกรู้ ตรงลักษณะ ของสภาพธรรมที่ปรากฏ ขณะนี้ตามปกติ ตามความเป็นจริงก็ไม่สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้

แต่ละท่าน ควรเปรียบเทียบความตรง ของท่านเองกับพระธรรมเทศนา ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแม้แต่เรื่องของการอบรมเจริญสติปัฏฐานท่านต้องการอะไร ถ้าท่านต้องการปัญญาจริงๆ ลักษณะของนามธรรม และ รูปธรรม ที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจปรากฏให้ระลึก ศึกษา และรู้ได้ตามปกติ ตามความเป็นจริงไม่มีการบังคับ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ต้องสร้างสิ่งอื่นขึ้นมารู้เมื่อมีความตรงต่อสภาพธรรมที่ปรากฏก็จะสามารถ ละความเห็นผิด ความสงสัย ความไม่รู้ ที่เคยยึดถือ สภาพธรรมต่างๆ ว่าเป็นตัวตน ได้

ความเห็นผิดและความคลาดเคลื่อน ในการปฏิบัตินั้น มีได้ซึ่งความเห็นผิดนั้น อยู่ที่ตัวเองฉะนั้น ผู้ที่จะอบรมเจริญสติปัฏฐานนั้น จะต้องทราบว่าตัวเอง มีความเข้าใจผิด มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในเรื่องการอบรมเจริญสติปัฏฐาน บ้างหรือไม่ต้องพิจารณาเหตุผล ในการอบรมเจริญสติปัฏฐานให้ตรงเพราะเมื่อมีความเห็นที่ถูกต้อง มีความเข้าใจที่ถูกต้องก็สามารถที่จะอบรมเจริญปัญญา ยิ่งขึ้นได้

การอบรมจริญสติปัฏฐานคือ การระลึกรู้ ลักษณะของนามธรรม และ รูปธรรมประเภทใด ประเภทหนึ่ง ทีละขณะๆ ที่เกิดขึ้น ปรากฏแล้วหมายถึง เกิดขึ้นแล้ว กำลังปรากฏ ในขณะนั้นไม่ใช่ สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏ ในขณะที่ระลึกรู้ นามธรรม และ รูปธรรม นั้นต้องพิจารณา "ลักษณะ" ของนามธรรม และ รูปธรรมปัญญา จึงจะสามารถเพิ่มความรู้ "ลักษณะ" ของนามธรรม และ รูปธรรม ได้

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศลแด่สรรพสัตว์




  ความคิดเห็นที่ 1  
 
wannee.s
วันที่ 10 ม.ค. 2552

เวลาที่มีค่าที่สุด ประเสริฐที่สุดในชีวิต คือขณะที่เราอบรมเจริญสติปัฏฐานค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 10 ม.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
narong.p
วันที่ 11 ม.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pornpaon
วันที่ 11 ม.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
choonj
วันที่ 11 ม.ค. 2552

โพส "ปัญญาคือความเข้าใจในสภาพธรรมมีหลายขั้น ความเข้าใจในขั้นการฟังนั้น ก็พอจะรู้ว่าแจ่มแจ้ง แต่เมื่อสติเกิดขึ้น ความเข้าใจในลักษณะของสภาพธรรม ว่าเป็นนามธรรมหรือรูปธรรมนั้น ย่อมยากขึ้น"

ไม่โพส

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 17 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ