วิบากกรรมของ กัณหา-ชาลี

 
Guest
วันที่  9 มิ.ย. 2548
หมายเลข  106
อ่าน  21,033

เหตุใดที่ทำให้ พระเวสสันดร ยกลูกกัณหา-ชาลีให้ชูชก


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 10 มิ.ย. 2548

เคยฟังมาอย่างนั้นเหมือนกัน แต่ยังไม่พบหลักฐานในพระไตรปิฎกและอรรถกถา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
meema
วันที่ 19 มิ.ย. 2550
พระเวสสันดร ยกลูกให้ชูชกไปแล้วแต่ลูกไม่ยอมไป หรือว่าไม่ได้ยกให้แต่ชูชกมาเฆี่ยนเอาไปเป็นทาสเอง
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 19 มิ.ย. 2550

พระเวสสันดรยกลูกให้ชูชกจริงค่ะ

เชิญคลิกอ่าน.....

พระเวสสันดรยกลูกให้ชูชก [เวสสันตรชาดก]

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
meema
วันที่ 19 มิ.ย. 2550
ทำไมพระเวสสันดร ต้องเอ่ยยกลูกให้ด้วยล่ะ ไม่สงสารลูกหรือ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ajarnkruo
วันที่ 19 มิ.ย. 2550

เมื่อกล่าวถึงกัณหา-ชาลี ผมก็คิดถึงคำพูดที่เพื่อนร่วมงานกล่าวในทำนองที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของพระเวสสันดรที่ว่า เหตุใดจึงทรงมอบพระโอรส และพระธิดาแก่ชูชก เหตุใดจึงไม่ทรงปกป้องด้วยการอาสาพระองค์ไปลำบากแทน ผมพอจะเข้าใจว่า เพื่อนร่วมงานของผมเค้ามีลูก แล้วเค้าก็รักลูกเค้ามาก เค้าจึงไม่เห็นด้วยกับการกระทำของพระเวสสันดร ตอนนั้นผมไม่รู้จะอธิบายยังไง แต่ผมพอเข้าใจที่เค้าแสดงคำพูดออกมาอย่างนั้นว่า ความรักของบิดามารดาต่อบุตรก็เป็นโลภะใช่มั้ยครับ การที่พระเวสสันดรทรงมอบพระโอรสและพระธิดาแก่ชูชกนั้น ก็เป็นการบำเพ็ญทานบารมีที่ยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์ในภพที่ยังไม่ทรงตรัสรู้ ผมมาคิดภายหลังว่าน่าจะอธิบายอย่างนี้ แต่ก็คิดว่าตนยังไม่ได้อ่านและฟังมาโดยละเอียดก็เลยยิ้มและเงียบไป

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
meema
วันที่ 20 มิ.ย. 2550

แล้วการที่ยกลูกให้ชูชกเพื่อต้องการทำทานบารมีนั้นจะได้ขึ้นชื่อว่าทานหรือไม่ เพราะอยู่บนความทุกข์ของคนอื่น

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
study
วันที่ 20 มิ.ย. 2550
การบริจาคลูกให้เป็นทาน เป็นทานที่ให้ได้ยากอย่างยิ่ง
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
meema
วันที่ 20 มิ.ย. 2550

การทำทานแบบพระเวสสันดรนี้ เราสงสัยตรงที่พระเวสสันดรเอ่ยออกจากปากว่าเรายกลูกให้ คล้ายกับเบื้องต้นก็ยึดติดแล้วว่าลูกเป็นสิทธิ์ของตน จะยกให้ใครก็ได้ ถ้าปล่อยวางทุกสิ่ง ก็จะต้องไม่ยึดติดว่าลูกเป็นของตัวเอง ปล่อยให้ลูกเป็นอิสระ ให้เป็นเพียงบุคคลหนึ่งที่ร่วมโลกไม่มีฐานะเป็นลูกแล้ว แต่ไม่ใช่เอ่ยปากยกให้ (เพราะยิ่งทำให้ชูชกได้ใจเฆี่ยนเด็กหนักไปอีก เพราะพ่อเขายกให้) เมื่อชูชกมาขอลูกทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับลูก ลูกจะไปอยู่กับใครก็แล้วแต่ลูก ส่วนพระเวสสันดรเองจะไม่เลี้ยงลูกต่อไปก็ได้ลูกก็คงไปอยู่กับแม่ (นางมัทรี) แทนได้

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 20 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระโพธิสัตว์เจ้าและพระรัตนตรัย

เป็นเรื่องของปัญญาจริงๆ ถ้าเราเอาความคิดของตนเองมาตัดสินไปเปรียบเทียบกับผู้มีปัญญาแล้ว ก็จะเข้าใจผิดและไม่เข้าใจเหตุผลของบุคคลผู้ที่มีปัญญาทำเลย เปรียบเหมือนคนตระหนี่ ก็ไม่เข้าใจคนที่ชอบให้ทานและไม่เข้าใจเหตุผลว่าจะให้ไปทำไม เปรียบเหมือนคนโกรธ ก็ไม่เข้าใจว่าจะมีเมตตาไปทำไม โกรธซิดี คนอื่นจะได้กล้ว เปรียบเหมือนคนที่ยังมีปัญญาน้อยยังติดข้องมากในครอบครัวหรือกามคุณรูป เสียง.. ต่างก็ไม่เข้าใจว่าจะต้องบริจาคหรือสละสิ่งนี้ไปทำไม ได้ประโยชน์อะไร ก็เพราะเราติดข้อง ปัญญาน้อย จึงไม่เข้าใจเหตุผลของผู้ที่มีปัญญา ที่อบรมมาเพื่อจะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า การบริจาคทานเป็นบารมีหนึ่งที่จะทำให้ถึงความเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อตัวเองหรือเปล่า หรือท่านทำเพื่อพวกเรา เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ ถ้าไม่บริจาคทุกอย่างแล้ว ก็ไม่สามารถทำบารมีให้เต็มได้และก็ไม่สามารถเป็นพระพุทธเจ้าได้ เรามักจะมองเหตุการณ์ต่างๆ ใกล้ๆ ไม่มองยาวๆ ว่าเพื่ออะไร พระองค์สามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้เมื่อสี่อสงไขยแสนกัปแล้ว (สมัยพระพุทธเจ้าทีปังกร) แต่ท่านคิดว่าประโยชน์อะไรกับการบรรลุผู้เดียว เราควรช่วยสรรพสัตว์ ดังนั้น จึงปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า จึงทรงนึกถึงคุณธรรมที่จะทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงระลึกว่ามีทั้งหมด ๑๐ ประการ (บารมี ๑๐) ถ้าทำไม่ครบก็ไม่สามารถเป็นพระพุทธเจ้า ในเรื่องทานบารมีก็เช่นกัน ต้องทรงบริจาคหมด (แม้บุตร ภรรยา และชีวิต) เพื่อบารมีเต็มเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อใครก็เพื่อช่วยพวกเรา และถามว่ากัณหา ชาลี และพระนางมัทรี ตอนนี้อยู่ที่ไหน ปรินิพพานหมดแล้ว เพราะใคร ก็เพราะพระพุทธเจ้าใช่ไหมที่ทรงแสดงธรรมให้บรรลุ แล้วท่านทำเพื่อใครครับ และเพราะการบริจาคบุตร ภรรยานั่นเองทำให้บารมีเต็ม จนเป็นพระพุทธเจ้า และก็ช่วยกัณหา ชาลี และพระนางมัทรีจนดับกิเลสแล้วครับ ดังนั้น ควรเป็นผู้ละเอียด โดยไม่นำความคิดตนเองประมาณ แต่ต้องศึกษาธรรมอย่างรอบครอบเสียก่อน ไม่เช่นนั้นจะเป็นการกล่าวตู่พระโพธิสัตว์ด้วยความไม่รู้ครับ ขอยกการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้าอีกพระองค์หนึ่ง ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ ท่านบริจาคบุตร เช่นกัน ถ้าแยบคายก็เลื่อมใส ถ้าไม่แยบคายก็เป็นอกุศลครับ ลองอ่านดูนะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 20 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมในการกระทำของพระโพธิสัตว์เจ้า

เรื่อง การบริจาคบุตรของพระโพธิสัตว์นามว่ามังคละ ดังเช่น พระเวสสันดร แต่เรื่องนี้บุตรต้องตาย

เชิญคลิกอ่าน.....

การบริจาคบุตรเป็นทาน [พระมงคลพุทธเจ้าที่ ๓]

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 20 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระโพธิสัตว์เจ้าและพระรัตนตรัย

เรื่อง การบำเพ็ญบารมีเป็นพระพุทธเจ้า ต้องบำเพ็ญทานบารมี บริจาคไม่เหลือจึงจะได้เป็นพระพุทธเจ้า เรียกว่า พุทธการกธรรม ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ที่สำคัญเพื่อใครก็เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์

เชิญคลิกอ่าน.....

ทานบารมีเป็นอันดับแรกที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
ajarnkruo
วันที่ 21 มิ.ย. 2550

นี่ละครับคือคำอธิบาย ที่ผมพูดออกมาไม่ได้เพราะความไม่รู้จริง จึงไม่อยากตู่และตัดสินผิดชอบชั่วดีในการกระทำของพระพุทธองค์ที่เหนือยิ่งกว่าปุถุชนอย่างเราๆ จะพึงกระทำได้ มีก็เพียงความเข้าใจนิดๆ หน่อยๆ อยู่ในใจบ้าง จากที่ได้ยินได้ฟังมาและจากการพิจารณาถึงเหตุถึงผลอันสมควรแก่กรรม แต่ยังไม่เป็นเหตุพอให้พูดออกมาได้อย่างชัดแจ้ง เพราะยังไม่ได้ศึกษาอย่างละเอียดจริงๆ ตอนนั้นผมเข้าใจเพียงแต่ว่าเพื่อนร่วมงานของผม เค้าพูดจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจเท่านั้นเอง จึงขออนุโมทนาเช่นกันครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 21 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

การบริจาคที่เป็นทานบารมีสูงสุด เรียกว่า ปรมัตถทานบารมี คือ การสละชีวิตของตนเอง การสละบุตร ภรรยาไม่ใช่สละสูงสุดครับ คิดง่ายๆ เรารักใครมากที่สุด ตัวเองใช่ไหม ดังนั้นการสละชีวิตตัวเองจึงชื่อว่าเป็นปรมัตบารมีในเรื่องทานครับ ลองอ่านดูนะ

[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓- หน้าที่ 232

ก็เพราะในสสบัณฑิตจริยาเป็นทานปรมัตถบารมี ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :- เราเห็นยาจกเข้ามาเพื่อขอแล้ว ได้สละคนของตนให้ ความเสมอด้วยทานของเราไม่มี นี้เป็นทานบารมีของเรา

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 22 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

จากความเห็นที่ 17

การให้ทานของพระเวสสันดรนั้นต่างกับกรณีเรื่องการให้ทานที่มีอานิสงส์มากเพราะอะไร เพราะเป็นการบำเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ชื่อก็บอกอยู่แล้วครับว่าบารมี ดังนั้นต้องพิเศษกว่าเรื่องทานธรรมดาหรือทานที่มีอานิสงส์มาก คงอธิบายเรื่องบารมีอีกครั้งครับว่าคืออะไร บารมี คือ คุณธรรมที่ทำให้ดับกิเลสได้ มี ๑๐ และกุศลที่ทำจะเป็นบารมีได้นั้น จะต้องประกอบด้วยปัญญา เห็นโทษของการเกิดและกิเลส จึงทำบุญและน้อมบุญไปเพื่อความไม่เกิดหรือดับกิเลส ทานมีทั่วไปแต่ถามว่าเป็นทานบารมีหรือเปล่า ไม่จำเป็นต้องเป็นทานบารมี เช่น คนที่ไม่สนใจธรรมให้ทาน ถามว่า เขาเห็นโทษของกิเลสและอยากจะดับกิเลสไม่เกิดอีกไหม ไม่ครับ จึงไม่ใช่ทานบารมีแต่จะเป็นทานบารมีก็เมื่อประกอบด้วยปัญญาตามที่กล่าวมา ดังเช่นพระโพธิสัตว์ที่ท่านให้ทาน เป็นทานบารมี ถามว่า ให้ครบองค์ ๔ ประการ ที่มีอานิสงส์มาก ถามว่าจำเป็นไหมต้องเป็นทานบารมี ก็ไม่จำเป็น ถ้าไม่มีปัญญาเห็นโทษของการเกิดและเห็นโทษของกิเลส ดังนั้น ทานบารมีของพระโพธิสัตว์จึงต่างกับทานธรรมดาหรือทานที่มีอานิสงส์มาก เพราะทานบารมีของพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญนั้นจะต้องให้ทุกสิ่งและไม่เลือกผู้ให้ ไม่ว่าจะเป็นใครมาขอครับ จึงจะเป็นทานบารมี ดังจะแสดงข้อความในพระไตรปิฎกต่อไป ขอให้อ่านข้อความในพระไตรปิฎกด้วยครับ จะทำให้เข้าใจมากขึ้นครับ ดังนั้น ถ้าใครมาขอก็ไม่เลือกให้ ไม่ว่าจะเป็นยาจกหรือคนรวยก็ตามก็ไม่เลือกคนที่จะให้ครับ ตรงนี้เป็นทานบารมี ดังจะแสดงข้อความต่อไป

เรื่อง การไม่เลือกบุคคลที่จะให้ จึงจะเป็นทานบารมี

[เล่มที่ 73] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 229

ท่านเห็นยาจกทั้งชั้นต่ำชั้นกลางและชั้นสูงแล้วจงให้ทานไม่เหลือเลย เหมือนหม้อน้ำที่คว่ำปาก ฉันนั้นเหมือนกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 22 มิ.ย. 2550

เรื่องพระโพธิสัตว์ ไม่เลือกผู้ให้ แล้วแต่ใครจะขอ จึงเป็นทานบารมีพระ

สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 128

ข้อความบางตอนจาก

เรื่องสิวิราชจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเจ้าสีวิราช

[๘] ในกาลเมื่อเราเป็นกษัตริย์พระนามว่าสิวิ อยู่ในพระนครอันมีนามว่าอริฏฐะ เรานั่งอยู่ในปราสาทอันประเสริฐ ได้ดำริอย่างนี้ว่า ทานที่มนุษย์พึงให้อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เราไม่ได้ให้แล้วไม่มี แม้ผู้ใดพึงขอจักษุกะเรา เราก็พึงให้ไม่หวั่นใจเลย

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 22 มิ.ย. 2550

[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 231

เรื่อง แม้ยาจกมาขอชีวิตพระโพธิสัตว์ก็ให้เป็นทานบารมี

อกิตติดาบส สังขพราหมณ์ พระเจ้าธนญชัยกุรุราช พระเจ้ามหาสุทัศนจักรพรรดิราช มหาโควินทพราหมณ์ พระเจ้าเนมิราช จันทกุมาร พระเจ้าสิวิราช พระเวสสันดรและสสบัณฑิต ผู้ให้ทานอันประเสริฐนั้นเป็นเรานี่เอง ทานเหล่านี้เป็นบริวารแห่งทาน เป็นทานบารมี เราได้ให้ชีวิตเป็นทานแก่ยาจก จึงยังบารมีนี้ให้เต็มได้

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 22 มิ.ย. 2550

[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 615

เรื่อง ถ้าไม่เป็นทานบารมีเพราะเลือกสิ่งที่จะให้ (ไทยธรรม) และเลือกคนที่จะให้ (ปฏิคาหก)

อะไรเป็นความเศร้าหมอง ความลูบคลำด้วยตัณหา เป็นต้น เป็นความเศร้าหมองแห่งบารมีทั้งหลาย โดยไม่ต่างกัน แต่โดยความต่างกันเป็นความเศร้าหมองแห่งทานบารมี เพราะกำหนดไทยธรรมและปฏิคาหก

ถ้ามีเรื่องอะไรสงสัยเพิ่มเติม ถามได้ครับ ไม่เป็นการรบกวนแต่อย่างใด

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
chatchai.k
วันที่ 20 ธ.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ