วัดใจ...อะไรวัด

 
happyindy
วันที่  6 ต.ค. 2551
หมายเลข  10075
อ่าน  3,858

ช่วงนี้การสนทนาธรรมที่มูลนิธิฯ เป็นเรื่องธาตุและเรื่องวัดใจบ่อยๆ เรื่องธาตุ พอเข้าใจบ้างแล้วนิดหน่อย แต่เรื่องวัดใจสิคะ วัดใจคืออะไร ทำไมจึงต้องวัด มีอะไรเป็นเครื่องวัด ใช่ไม้บรรทัดรึเปล่า?

ขอเชิญทุกท่านร่วมสนทนา

ขออนุโมทนาความคิดเห็นของทุกท่านค่ะ


Tag  วัดใจ  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
kulwilai
วันที่ 7 ต.ค. 2551

วัดใจ คือขณะที่ปัญญาเห็นถูกในธรรมที่กำลังปรากฎ ในชีวิตประจำวันความเป็นไปทางกาย ทางวาจา แม้ทางใจในขณะที่กำลังคิดนึกด้วยกุศลจิตหรืออกุศลจิต ดังนั้นเครื่องมือที่วัด ก็คือปัญญาที่รู้ตามความเป็นจริง ท่านอาจารย์สุจินต์เคยกล่าวว่า ทุกคนมีหน้าที่ แต่จะทำหน้าที่ด้วยกุศลจิตหรืออกุศลจิต ถ้าเป็นผู้ไม่ประมาท และเป็นผู้อบรมปัญญา กุศลธรรมย่อมเจริญได้ในชีวิตประจำวัน "วัดใจ" ขณะนี้บ้างหรือเปล่า?

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
choonj
วันที่ 7 ต.ค. 2551

เมื่อมีการวัดก็เพื่อที่จะให้รู้ ยาวสั้น หนักเบา ไกลใกล้ รู้ไม่รู้ เข้าใจไม่เข้าใจ ต่างก็ต้องใช้เครื่องมือต่างๆ กันไป ไม้บรรทัดวัดได้เฉพาะสั้นยาวครับวัดใจไม่ได้ สำหรับเราผู้ศีกษาธรรมะ การวัดใจก็คงจะหมายถีง เข้าใจธรรมขนาดไหนเอาชนะกิเลสได้หรือเปล่าหรือยังปล่อยไปตามกิเลส เข้าใจแล้วละกิเลสได้เป็นเครื่องวัด ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 7 ต.ค. 2551

ถ้าไม่สะสมปัญญาก็วัดใจไม่ได้ค่ะ วัดใจขณะนี้เอง ขณะนี้จิตเป็นกุศล หรือ อกุศลตรงตามความเป็นจริงโดยไม่ใช่คิดเองว่าขณะนี้กุศลเกิด ซึ่งอาจเป็นอกุศลก็ได้ ปัญญาเท่านั้นที่จะวัดใจ ขณะนั้นว่า จิตขณะนั้นเป็นกุศล หรือ อกุศล

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ปริศนา
วันที่ 7 ต.ค. 2551

ในชีวิตประจำวัน ทุกคนมีประสพการณ์ต่างๆ กัน มีอัธยาศัยต่างๆ กันตามการสะสม ยามใดที่ได้ลาภหรือเสื่อมลาภ ได้ยศหรือเสื่อมยศได้สรรเสริญหรือนินทามีสุขเวทนา หรือทุกขเวทนาถ้าประสพกับ "ตนเอง" หรือ "บุคคลอันเป็นที่รักยิ่ง"ยังมีความหวั่นไหวไปกับสภาพธรรมเหล่านี้มากหรือน้อยแค่ไหน แล้วถ้าเหตุการณ์เดียวกันนี้เกิดกับ "บุคคลอื่น"หวั่นไหวมากหรือน้อยแค่ไหน ชื่อว่า ยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งใดมากย่อมปรารถนาที่จะได้รับสิ่งนั้นมากและปรารถนามาก ที่จะให้คงอยู่เช่นนั้นตลอดไป. เวลามีสุข ก็อยากให้อยู่นานๆ เวลาทุกข์ ก็อยากให้หมดไปเร็วๆ มีความพยายามต่างๆ ที่จะแสวงหาความสุขมีความพยายามต่างๆ ที่จะแสวงหาทางพ้นทุกข์.

"ปัญญา"
จึงเป็น "เครื่องวัดใจ" ของบุคคลนั้นๆ ปัญญามากก็หวั่นไหวน้อย ปัญญา น้อยก็หวั่นไหวมาก
เมื่อศึกษาพระธรรมแล้ว หากได้มีการ "วัดใจ" บ่อยๆ ย่อมทราบได้ว่า วันหนึ่งๆ ที่ผ่านไปได้สั่งสมสิ่งใดไว้มาก ความดี หรือ ความไม่ดีกาย วาจา ใจน้อมไปในทางที่ดีหรือทางที่ไม่ดี

ถ้าหากตนเอง จะต้องสิ้นชีวิตไปในขณะนี้ เดี๋ยวนี้จะมีความหวั่นไหวมากสักแค่ไหน พร้อมที่จะจากไปสู่ภพใหม่หรือยัง ข้าพเจ้า "วัดใจ" อยู่บ่อยๆ และได้ตำตอบว่า ยังเลยคะ

เมื่อยังมีตนก็รักตนมากที่สุดเมื่อยังมีของของตน ก็รักของของตนมากที่สุด หน้าที่หรือกิจที่ควรทำก็ยังทำไม่เสร็จ ความศรัทธาก็ประกันไม่ได้ ความดีก็ไม่เพียงพอวัดใจแล้วยังไม่พร้อมที่จะตาย

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 7 ต.ค. 2551

วัดใจ คือขณะที่กระทบทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ขณะนั้นเป็นจิตกุศล หรืออกุศล หลงลืมสติหรือมีสติ และอาศัยการฟังธรรมะจึงมีปัญญาเป็นเครื่องวัดใจค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 7 ต.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง อุปการะเกื้อกูลให้แต่ละบุคคลได้ศึกษาพิจารณาสภาพธรรมที่ตนเองได้สั่งสมมา ทั้งกุศลและอกุศล เราได้เกิดมาแล้วนับชาติไม่ถ้วนคุ้นเคยกับอวิชชา (ความไม่รู้) และอกุศลธรรมประการต่างๆ มาอย่างเนิ่นนาน แต่เพราะได้ฟัง ได้ศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง จึงทำให้มีความรู้ความเข้าใจสภาพธรรมอย่างถูกต้อง ซึ่งจะเป็นเครื่องวัดใจในชีวิตประจำวันของเราได้เป็นอย่างดีว่าจะสั่งสมอกุศลต่อไปให้มากๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดี หรือจะสั่งสมกุศลซึ่งเป็นการสร้างเหตุใหม่ที่ดีต่อไป ดังนั้น จึงไม่มีอะไรวัดใจเราได้ นอกจากปัญญาความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เท่านั้นครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
suwit02
วันที่ 7 ต.ค. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
orawan.c
วันที่ 8 ต.ค. 2551

ไม้บรรทัดเป็นบัญญัติของรูปธรรม ใจเป็นนามธรรม (เป็นสภาพรู้) คงใช้ไม้บรรทัดวัด ไม่ได้ ต้องใช้ปัญญาจึงวัดได้ ซึ่งขณะนี้กำลังอรมเจริญปัญญาทีละเล็กทีละน้อย

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Komsan
วันที่ 8 ต.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ธรรมดามาก
วันที่ 8 ต.ค. 2551

วัดใจ หมายถึง ตรวจสอบสภาพของจิตใจ ถ้าความหมายเป็นอย่างนั้น การวัดใจ ก็คือการตรวจสภาพจิตใจ เมื่ออายตนะได้รับผัสสะแล้ว เช่น หูได้ยิน ตาได้เห็น จมูกได้กลิ่น เป็นต้น สภาพจิตใจเป็นอย่างไร? ดีใจ เสียใจ หรือ เฉยๆ นั่นคือ เวทนานั่นเอง ถ้าเราสามารถมีสติควบคุมจิตใจได้ ไม่แกว่งไปตามความรู้สึกที่กระทบ สามารถใช้ปัญญา พิจารณา ไตร่ตรอง อย่างรอบคอบ และรู้เท่าทัน นั่นแสดงว่า ผลของการวัดใจ ก็คือผ่าน แต่ถ้าเราไม่มีสติควบคุมจิตใจไม่ได้ ปล่อยให้ความรู้สึกมาครอบงำจิตใจ เช่น โกรธ สะใจ สมน้ำหน้า เป็นต้น นั่นแสดงให้เห็นว่า ผลของการวัดใจนั้นก็คือไม่ผ่านนั่นเอง คิดว่านี่คือการวัดใจที่สามารถวัดได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องให้คนอื่นมาช่วยวัดให้

ขอบคุณมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
yupa
วันที่ 9 ต.ค. 2551

ใครเล่า จะรู้ใจเราเท่าตัวเรา ใครจะวัดใจใครไม่ได้หรอก ตัวเราย่อมรู้ดีว่า แต่ละขณะไม่ว่าการแสดงออกทาง กาย วาจา ใจ เพื่ออะไร เป็นกุศลหรืออกุศล เราเท่านั้นรู้ดี

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Sam
วันที่ 9 ต.ค. 2551

ปัญญาเท่านั้นที่จะทำให้รู้ได้ว่าขณะนี้จิตเป็นไปในกุศลหรืออกุศล ขณะนี้เจริญสติหรือ หลงลืมสติ

หากปราศจากปัญญาย่อมไม่อาจรู้ชัดและวัดใจไม่ได้ ปัญญาขั้นต้น เกิดขึ้นจากการฟังพระสัทธรรมเป็นปัญญาขั้นการฟังซึ่งเป็นขั้นเริ่มต้นและพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงขึ้นต่อไปได้

ในความเห็นส่วนตัว คิดว่าผู้ที่วัดใจได้อย่างแท้จริง ได้แก่พระอริยบุคคลขั้นต่าง เนื่องจากแต่ละท่านรู้ชัดได้ว่า กิเลสใดที่ดับแล้ว และกิเลสใดที่ยังหลงเหลืออยู่ โดยปราศจากความลังเลสงสัยหรือเข้าใจผิด

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
nida
วันที่ 9 ต.ค. 2551

แต่ละคนแต่ละจิตไม่มีใครรู้ได้เท่ากับจิตของตน จิตจะดีหรือไม่ดีอยู่ที่เหตุปัจจัยของสภาพธรรมะที่เป็นอนัตตา ห้ามก็ไม่ได้ สั่งก็ไม่ได้ หยุดก็ไม่ได้ ที่สำคัญคือไม่ไปวัดใจกับใคร แต่วัดใจที่ตนเองว่า เวลาโกรธ หรือ มีโลภะ ตนยังมีความเห็นแก่ตัวมากอยู่อย่างเดิม หรือเปล่า หรือเห็นประโยชน์คนอื่น และส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว ใครล่ะจะตอบได้ นอกจากตนเอง

ขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
opanayigo
วันที่ 10 ต.ค. 2551

วัดใจ ในชีวิตประจำวัน เมื่อประสพสิ่งน่าปราถนา เมื่อประสพสิ่งไม่น่าปราถนา เมื่อต้อง พลัดพรากเมื่ออยู่ในสถานการณ์อันวิกฤติ จิตขณะนั้นเป็นเช่นไร ระลึกเป็นไปในทางกุศล หรือไม่หวั่นไหวหรือไม่เพียงใด

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
paderm
วันที่ 10 ต.ค. 2551

วัดใจ...ประโยชน์ของการศึกษาพระธรรมก็อยู่ที่ตรงนี้เองขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ