คุณของขันติ ๑

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 พ.ย. 2550
หมายเลข  5710
อ่าน  1,628

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ผู้อดทนย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่มากด้วยเวร ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่มากด้วยโทษ ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้แล.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
longnight
วันที่ 30 พ.ย. 2550

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 609
ทำความเสียหายด้วยธรรมใดและทำในที่ใด ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมดก็ดับไปในขณะนั้นเอง. บัดนี้ใครพึงทำความโกรธแก่ใคร. และใครผิดแก่ใครเพราะธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา พิจารณาดังนี้ควรเพิ่มพูนขันติสัมปทา ด้วยประการฉะนี้.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 1 ธ.ค. 2550

สัตว์อื่นไม่พึงข่มเหงสัตว์อื่น ไม่พึงปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน เพราะความโกรธ หรือความแค้นใจ มารดาถนอมบุตรคนเดียวที่เกิดจากตน ด้วยชีวิตฉันใด พึงเจริญเมตตาให้มีในใจไม่มีประมาณในสัตว์ทั้งปวงฉันนั้น ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
jurairat
วันที่ 2 ธ.ค. 2550

ขออนุโมทนา...ดิฉันเห็นคุณของขันติเมื่อดิฉันฟังธรรมบ่อยๆ เนืองๆ ใหม่ๆ เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างแต่ก็ฟังต่อมาเรื่อยๆ เพราะการได้ยินธรรมะย่อมดีกว่าการได้ยินเรื่องอกุศลทั้งปวง ระยะหลังสติเกิดบ่อยขึ้นเพราะมีความเข้าใจมากขึ้น ในชีวิตประจำวันบางครั้งก็รู้ความไวของจิตที่เกิดเป็นกุศลบ้างอกุศลบ้างตามกำลังที่สะสมมา เหมือนจะเลือกได้ (ถ้าไม่ได้ศึกษาธรรมะมา) แต่ก็ไม่ใช่เพราะธรรมะทั้งหลายเป็นอนัตตาเป็นไปตามเหตุปัจจัยจริงๆ เลือกไม่ได้จริงๆ แม้ขันติเองก็มิใช่จะให้เกิดขึ้นตามใจปรารถนา แต่เพราะสะสมขันติเห็นโทษภัยของความไม่อดทน โทสะที่รุนแรงจึงไม่เกิดบ่อย ถ้าสติเกิดด้วยจะเห็นอกุศลของตนเองมากขึ้นก็ขัดเกลาได้มากขึ้นตามลำดับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แช่มชื่น
วันที่ 3 ธ.ค. 2550

ผู้มีความอดทนในการเจริญกุศลย่อมได้รับอานิสงส์ครับขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ