ปัญญามากขึ้น ความผูกพันในเรื่องราวของปรมัตถธรรมต้องน้อยลง


    ถ้ามีความผูกพันในเรื่องราว ในบุคคล ในวัตถุต่าง ๆ น้อยลง ขณะนั้นก็จะมีการศึกษารู้ลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรมได้เพิ่มขึ้น หรือว่าโดยนัยกลับกัน ก็คือว่าขณะใดที่ปัญญารู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ โดยความเป็นปรมัตถธรรม ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่วัตถุสิ่งหนึ่งสิ่งใดมากขึ้น ความผูกพันในเรื่องราวของปรมัตถธรรมนั้น ๆ ก็ต้องน้อยลง

    เพราะฉะนั้นก็สังเกตดูนะคะ ในวันหนึ่ง ๆ เริ่มจะรู้ลักษณะของปรมัตถธรรม โดยไม่ใช่ชื่อ เพราะถึงแม้ข้อความในอรรถกถาจะมีว่า

    ที่ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า “คิด” อธิบายว่า “รู้แจ้งอารมณ์” 

    ก็ไม่ใช่หมายความว่า เพียงให้เข้าใจเผิน ๆ ว่า จิตเป็นสภาพธรรมที่คิด อธิบายว่า รู้แจ้งอารมณ์ แต่ต้องในขณะที่ไม่ว่าอารมณ์ลักษณะต่าง ๆ ปรากฏขณะใด สติก็สามารถจะระลึกรู้ในลักษณะของนามธรรมที่รู้แจ้งในลักษณะของอารมณ์นั้น จนกว่าปัญญาจะพิจารณาและสามารถที่จะประจักษ์แจ้งในลักษณะของจิต ซึ่งเป็นนามธรรม ซึ่งเป็นสภาพที่รู้แจ้งในอารมณ์ได้

     

     


    หมายเลข 6801
    25 ส.ค. 2558