อิฏฐารมย์ หรือ อนิฏฐารมย์


    ผู้ฟัง คือทรงแสดงไว้เลยว่ามี ที่ชาวบ้านไม่ชอบกันแต่คนนั้นชอบ มีคนจำพวกนี้ เช่น รสเผ็ด มีกลุ่มคนที่ชอบอย่างนั้น แต่บางอย่างกลุ่มคนไม่ชอบ แต่คนนั้นชอบเป็นอารมณ์ที่เป็นปริกัปป

    ท่านอาจารย์ แต่ว่าลักษณะของอารมณ์ที่เราจะกล่าวว่าเป็นอิฏฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์ ใครก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้

    ผู้ฟัง นอกจากพระพุทธองค์

    ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าเกิดก่อนชวนจิต เกิดก่อนโลภะ เกิดก่อนโทสะ เกิดก่อนการชอบ หรือไม่ชอบ เพราะเหตุว่าจะเป็นอิฏฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์ ที่เป็นเสียง เกิดแล้วกระทบกับโสตปสาท ปัญจทวาราวัชชนจิตคือวิถีจิตขณะแรกเกิด ยังไม่ได้ยิน แต่รู้ว่าอารมณ์นั้นกระทบทางโสตปสาท เรียกว่า รู้อารมณ์ที่กระทบโดยที่ยังไม่ได้ได้ยิน เมื่อดับไปแล้วโสตวิญญาณก็เกิดขึ้นได้ยิน เป็นอิฏฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์ ใครเปลี่ยนไม่ได้เลย ไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนลักษณะของอิฏฐารมณ์ให้เป็นอนิฏฐารมณ์ หรือลักษณะของอนิฏฐารมณ์ให้เป็นอิฏฐารมณ์ อารมณ์นั้นเป็นอย่างนั้น แต่จะเห็นได้ว่าเราสามารถจะรู้เพียงแค่ว่าเมื่อเป็นผลของกุศลกรรม อารมณ์นั้น ที่โสตวิญญาณได้ยิน เป็นอิฏฐารมณ์ เพราะเหตุว่าเป็นผลของกุศลกรรม เราสามารถที่จะรู้อย่างนี้ แต่เราไม่สามารถที่จะบอกว่าเสียงไหน เพราะว่ายังไม่เกิดโลภะ โทสะอะไรเลยทั้งสิ้น เพียงแต่กระทบกับโสตปสาท และจิตได้ยินก็เกิด แม้สัมปฏิจฉันนะซึ่งเกิดต่อ ก็ยังไม่ได้มีความชอบไม่ชอบ เพียงแต่ว่ารับอารมณ์นั้นต่อจากโสตวิญญาณ เมื่อสัมปฏิจฉันนะดับไปแล้ว สันตีรณะเกิดต่อ ก็ยังไม่รู้ว่าอารมณ์นั้นเป็นอิฏฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์ จริงๆ แล้วไม่ใช่การรู้ แต่เป็นการรับอารมณ์ หรือรู้อารมณ์ ไม่ใช่เป็นการรู้อารมณ์ว่าเป็นอิฏฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์ แต่เป็นการรู้อารมณ์ตามปกติของจิต เพราะฉะนั้นเมื่อสัมปฏิจฉันนะจิต สันตีรณะจิตดับไปแล้ว โวฏฐัพพนะจิตก็มีอารมณ์นั้นอารมณ์เดียว ต้องมีอายุ ๑๗ ขณะ แล้วก็ยังไม่ดับไป ซึ่งก็ยังไม่มีใครรู้ว่าเป็นอิฏฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์

    เพราะฉะนั้นไม่ใช่วิสัยของเรา ที่พอชอบ เราก็บอกเป็นอิฏฐารมณ์ พอเราไม่ชอบก็ไปบอกเป็นอนิฏฐารมณ์ เพราะเหตุว่าเปลี่ยนอารมณ์ไม่ได้ แต่การสะสมของจิตทำให้เราพอใจในสิ่งซึ่งคนทั่วไปพอใจก็เป็นอิฏฐารมณ์ ถ้าเราพอใจในสิ่งซึ่งคนส่วนน้อยไม่ทั่วไปพอใจ ก็เป็นอนิฏฐารมณ์ แต่จริงๆ ไม่มีใครจะบอกได้เลย นอกจากกายวิญญาณเท่านั้น ที่เราบอกได้รู้ว่าขณะใดเป็นทุกขเวทนาเกิดขึ้น ขณะนั้นอารมณ์ที่กระทบเป็นอนิฏฐารมณ์แน่ๆ เพราะว่าถ้าเป็นอารมณ์ที่ดีเป็นอิฏฐารมณ์ ทุกขเวทนาจะเกิดไม่ได้เลย ต้องเป็นสุขเวทนา

    นี่ก็เป็นเรื่องการศึกษาสภาพธรรมที่แสดงให้เห็นว่า แม้เราจะเรียน แต่เราไม่ใช่ระดับปัญญาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เรียนตามที่ได้ทรงตรัสรู้ และทรงแสดง ซึ่งความจริงก็เป็นอย่างนั้น อารมณ์ต้องมี ๒ อย่าง คือ เป็นอิฏฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์ ไม่ปะปนกัน เป็นผลของกุศลกรรมเมื่อใด กุศลวิบากก็รู้อิฏฐารมณ์เมื่อนั้น ถ้าเป็นผลของอกุศลกรรมเมื่อใด อกุศลวิบากก็เกิดขึ้นรู้อนิฏฐารมณ์เมื่อนั้น

    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 47


    หมายเลข 6415
    18 ม.ค. 2567