พิจารณาเห็นกายในกาย โดยไม่ความไม่ใช่ตัวตน


    ถ. สำหรับคำว่า พิจารณาเห็นกายในกายนี้ เท่าที่ผมศึกษามาก็มีอยู่หลายแบบ คือ แบบหนึ่งในปริจเฉทที่ ๗ ท่านอธิบายไว้ว่า กายนี้ คือ มีนามกายและรูปกาย ให้พิจารณาเพียงรูปกายเท่านั้น นี่ก็เป็นอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งท่านบอกว่า กายนี้มีรูปต่างๆ มาประชุมรวมกัน ๒๘ รูป หรือถ้าคิดเป็นอาการก็มีอาการ ๓๒ แล้วเอาอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาพิจารณา อย่างนี้ก็เรียกว่าพิจารณาเห็นกายในกาย ๑ ในอาการ ๓๒ หรือว่าในรูป ๒๘ เอาอย่างเดียว แต่บางทีฟังวิทยุ คำว่ากายในกายนี้ มีการบอกอีกแบบหนึ่งคือ หัวข้อว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้ก็เป็นหัวข้อใหญ่ และในหัวข้อนี้ก็มีแบ่งออกไปว่าเป็นอานาปานสตินี่ก็เรียกว่าเป็นกาย ๑ หรือว่าอิริยาบถก็เรียกว่ากาย ๑ สัมปชัญญะนี่ก็เรียกว่ากาย ๑ หรือว่าธาตุก็เรียกว่ากาย ๑ หรืออสุภะ ก็เรียกว่ากาย ๑ กายต่างๆ แต่ละ ๑ เหล่านี้ รวมอยู่ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน แต่เท่าที่กระผมได้สอบถามท่านอาจารย์ก็ได้ความรู้มาใหม่ว่า คำว่า พิจารณาเห็นกายในกายนี้ คือ พิจารณากายอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นลมหายใจ รู้ว่ามีลมหายใจ ลมหายใจนี้เป็นกาย พิจารณาเห็นลมหายใจนี้ในฐานะที่ไม่ใช่ตัวตน อันนี้เป็นความเข้าใจของกระผมที่ได้รับฟังจากท่านอาจารย์ หรือจะยกเอาเส้นผม ก็พิจารณาเห็นเส้นผมนี้เป็นกายในฐานะที่ไม่ใช่ตัวตน

    ท่านอาจารย์ บางท่านคิดว่า การพิจารณาธรรมเป็นเรื่องของปริยัติ เป็นต้นว่า ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐานมี ๑๔ บรรพ เพราะฉะนั้น แต่ละบรรพ คือ หมวดของกายหนึ่งในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๔ บรรพ นั่นไม่ใช่เรื่องการรู้ลักษณะ แต่ว่าการเจริญสติเป็นการรู้ลักษณะส่วนของกายที่ปรากฏที่กายทั้งหมด

    ความหมายของกายานุปัสสี คือ การพิจารณาเห็นกายที่กายว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่อัตตา เป็นรูปธรรม


    หมายเลข 5984
    4 ต.ค. 2566