เกิดมาไม่รู้ด้วยอวิชชา


    ถามว่า เวทนาเจตสิกที่ไม่เป็นเวทนาขันธ์มีไหม การศึกษาธรรมใครจะไปเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ไม่ได้ ความจริงเป็นอย่างไรก็ต้องตรงตามความเป็นจริงอย่างนั้นว่า สภาพธรรมที่รู้สึก ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกเฉยๆ รู้สึกดีใจ รู้สึกเสียใจ รู้สึกเป็นทุกข์เป็นสุข นั่นคือความรู้สึกซึ่งมีจริงประเภทหนึ่ง คือ เป็นเวทนาเจตสิก แล้วก็เป็นเวทนาขันธ์ด้วย หมายความว่าไม่ปะปนกับเจตสิกอื่นเลย และที่ทรงแสดงอย่างนี้ ต่อจากนี้ก็จะทราบว่าเพราะอำนาจของความยึดถือ เราต้องการอะไรถ้าไม่ใช่รูป เห็นไหมว่าเราติดในรูป เกิดมาก็ด้วยความไม่รู้ อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร ถ้าจะใช้ชื่อว่า “ปฏิจจสมุปบาท ” ก็ใช้ได้ แต่ถ้าไม่ใช้ แต่ถ้าใช้โดยความเข้าใจว่าเกิดมาไม่รู้ ไม่รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ เพราะเหตุว่าถ้าใช้คำว่ารู้ ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ รู้ถูก เข้าใจถูก หรือว่าเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ ถ้าเป็นปัญญา ปัญญากับอวิชชามีลักษณะตรงกันข้ามกัน อวิชชาคือสภาพที่ไม่สามารถเข้าใจถูก ไม่สามารถเห็นถูก ไม่เข้าใจถูกในอะไร ไม่ใช่ลอยๆ ใช่ไหม ในสิ่งที่กำลังปรากฏ เช่นในขณะนี้ มีความเห็นถูก มีความเข้าใจถูกใน “เห็น” ที่กำลังเห็น หรือไม่ ตรงตามความเป็นจริง ถ้าไม่มีความเข้าใจถูก ไม่มีความเห็นถูก เคยได้ยินคำว่า “อวิชชา” แต่ไม่รู้ว่าอวิชชามี หรือไม่ มีลักษณะอย่างไร แต่ขณะนี้เราไม่ได้เรียนเรื่องคำเฉยๆ แต่คำส่องถึงลักษณะปรมัตถธรรมซึ่งต่างกัน ขณะนี้ไม่รู้ความจริงของ “เห็น” ลักษณะที่ไม่สามารถรู้ได้ ไม่ใช่ลักษณะของปัญญา แต่เป็นลักษณะของสภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่งมีจริงๆ และสภาพธรรมนี้ซึ่งเป็นอวิชชาไม่สามารถจะรู้ถูก เห็นถูก ไม่สามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่กำลังเผชิญหน้าซึ่งกำลังเป็นอารมณ์ได้เลย มีอวิชชา หรือไม่ มีเมื่อไร พอจะรู้ได้ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าขณะใดที่มีอวิชชา ขณะนั้นเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล ซึ่งธรรมทั้งหมดนั้นจะสอดคล้องกัน และจะทำให้เราเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่เข้าใจโดยชื่อ ปฏิจจสมุปบาท โดยเอามาเรียงกัน แล้วก็โยงกันไปเป็นข้อๆ แต่ว่าอยู่ที่ไหน เมื่อไร ต้องเป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ

    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 13


    หมายเลข 5221
    16 ม.ค. 2567