ปัญญาในสมถภาวนารู้จิตสงบตามธรรมดา


    ผู้ฟัง .   คนตาบอดสำคัญตนว่ารูปสวย ฉันใด นอกจากนั้นเมื่อก่อนนี้ผมก็เข้าใจว่า การเจริญกสิณ เป็นการเจริญสมถะ ที่ถูกต้อง ที่ผมเข้าใจว่าเป็นสมถะที่เพ่งกสิณ คืออาศัย เพ่งเที่ยนแล้วก็หลับตาดูแสง จะทำให้ปรากฏแสงอยู่ในนั้น แล้วจิตมันก็จะรวมอยู่อย่างนั้น เมื่อเพ่งชำนาญๆ เข้า จิตมันก็จดจ้องอยู่ที่แสงนั้น อาการภายนอกเป็นต้นว่ายุงกัด มดกัด เลือด เมื่อยขบ อะไรต่างๆ นั้น เมื่อเพ่งนานๆ จะไม่มีความรู้สึกเลย อันนี้ที่ผมเคยปฏิบัติมา จิตไปอยู่ สงบนิ่งที่แสงที่เรานั่งอยู่อย่างนั้น แต่นี้ ความเข้าใจเดิมผมเข้าใจว่า ผมนี้ก็สำเร็จแล้ว ละมั่ง เพราะว่าบางทีนั่งได้ตั้งคืนไม่รู้สึกเกิดเมื่อย หรือแม้ยุงจะกัดง่วงนอน อะไรต่ออะไร  ก็ไม่มีความรู้สึกเลย เมื่อมาฟังอาจารย์ แล้วมันไปคนละทาง ทีนี้ผมเคยกล่าวไว้ว่าเมื่อเราออกมาแล้วก็รู้สึกๆ เมื่อย รู้สึกทุกข์ นี่มัน เมื่อย มันปวด มีความโกรธ มีความไม่สบายใจ อะไรต่ออะไรเกิดขึ้น แล้วยังซ้ำลงมาข้างนอกก็ยังมีเจรจาพาทีอะไรต่ออะไร  คำพูดต่างๆ  ก็ยัง มีโกรธ  มีโลภ มีอะไรกันอยู่อย่างนี้ ความจริงมันไม่ใช่เลย แต่ความสำคัญผิด คิดว่าตัวเป็นผู้วิเศษ เมื่อมาฟังอาจารย์ ดูแล้ว มันตรงกันข้ามเลย คนละอย่างไปคนละอย่างเลย ทีนี้การที่อาจารย์ บรรยายว่า คำว่าสมถะ ในที่บรรยายนี้ ผมก็จับประเด็นได้ว่า  จะถูกหรือผิดก็ไม่ทราบ คือจับผระเด็นได้ว่าเมื่อมีสมาธิในวิปัสสนา เข้าใจว่า เมื่อมีรูป มีนาม มีจิต มีเวทนา มีธรรมอะไรเกิดขึ้น  คือคล้ายๆ ว่ามีสติระลึกอยู่ อันนี้ว่าจะไปว่า เป็นสติก็ไม่ใช่ ผมสังเกตุดู จะเป็นสมาธิก็ไม่เชิง อย่างไร ผมสังเกตุดู อันนี้จะถูกหรือเปล่า ครับ คล้ายๆ ว่า พอมีสติปั๊บ สมาธิมันจะตามมาคล้ายๆ ว่าเรารู้เรื่อง รู้ราว คือก็มีกาย มีจิต มีเวทนา มีธรรม คล้ายๆ เรารู้ว่าอย่างนั้นจะใช้ จิตเป็น สมาธิ อันนี้ ใช่หรือเปล่าครับ

    ส.   คะ ขอให้ย้อนมาเป็นปกติ ขณะนี้ ตามธรรมดา ตามปกติอย่างนี้ อย่างพิเศษทั้งหลายทิ้งไปให้หมด ถ้าปัญญายังไม่สามารถที่จะรู้จริงในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามธรรมดา ตามปกติ ก็จงอบรมเจริญปัญญา แล้วจะรู้ว่าปัญญานั้น สามารถ ที่จะรู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามปกติได้ เป็นปัญญาจริงๆ ที่จะละ ความต้องการอื่น เพราะว่าถ้ามีอะไรที่ผิดปกติไป ดูเหมือนพิเศษ นั่นแหละคะ จะเป็นที่ตั้งของความพอใจทันที แล้วก็มีความต้องการที่จะให้เป็นอย่างนั้นอีก ใช่ไหมคะ แล้วจะละได้อย่างไร เล่าคะ

    ผู้ฟัง .   อันนี้ผมก็พยายามศึกษาจะหาหนทาง เพราะว่า

    ส.   เพราะฉะนั้น การที่จะละได้

    ผู้ฟัง .   มันมีความต้องการอยู่อย่างนี้

    ส.   ก็ล่อไปเรื่อยๆ คะ เพราะฉะนั้น อารมณ์ของตัณหาหรือโลภะนั้นมีมาก ตัณหาหรือโลภะ จะปราศไปได้ก็ต่อเมื่อปัญญาเกิดขึ้น รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ถ้าตราบใจซึ่งปัญญายังไม่เกิด ก็ให้ทราบได้ว่า นายช่างเรือน ก็ยังแสวงหาอารมณ์ ที่ต้องการที่พอใจ อยู่ตลอดเวลา พร้อมความไม่รู้ เพราะฉะนั้น จึงต้องถาม เป็นอะไร นั่นสงบหรือเปล่า นั่นเป็นอะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร นั่นเป็นลักษณะของความไม่รู้ ไม่ใช่ลักษณะของปัญญา แต่ว่า ถ้าท่านผู้ใดจะเข้าใจเรื่องของสมาธิว่า  ที่ท่านเคยคิดว่าเป็นความสงบนั้น เป็นเพียงสมาธิ ซึ่งเป็น มิจฉาสมาธิ เพราะว่าไม่ใช่ความสงบของจิต ซึ่งเกิดเพราะปัญญา เพราะฉะนั้น ก็จะไม่สนใจ ในสมาธิต่างๆ เหล่านั้น แล้วก็อบรมความสงบของจิต ในขณะนี้ โดยรู้ว่าขณะนี้จิตสงบไหม จิตสงบ ขั้นใด เพราะอะไร เพราะสติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ศึกษารู้ในสภาพที่ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ หรือว่าสงบเพราะรู้ลักษณะของกุศลจิต ที่กำลังสงบ ด้วยเมตตา ด้วยการระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ หรือการระลึกถึงธาตุดิน ธาตุน้ำธ าตุลม ธาตุไฟ หรือการระลึกถึงสีสันวรรณณต่างๆ ด้วย โยนิโสมนสิการะ แล้วจิตสงบ ซึ่งเป็นปกติธรรมดา แล้วจะเทียบกันได้ว่าความสงบอย่างนี้ เป็นความสงบที่แท้จริง เพราะว่าไม่ใช่ความต้องการที่ปรารถนาสิ่ง ๑ สิ่งใดโดยการไปทำขึ้น แล้วไม่รู้ในสิ่งนั้น ขณะนั้นไม่รู้ และต้องการ แต่ว่า ขณะนี้เป็นความสงบ เพราะรู้ว่า จะสงบได้ด้วยเมตตา หรือกรุณา หรือมุทิตา หรืออุเบกขา หรือว่าอารมณ์อื่นของสมถกรรมฐาน เพราะว่าปัญญารู้ว่า ความสงบเกิดขึ้นเพราะ มนสิการะในอารมณ์ทั้งหลายที่กำลังปรากฏอย่างไร แล้วจิตจึงสงบได้ ความสงบอย่างนี้เป็นความสงบจริงๆ ปรากฏลักษณะของความสงบ ตามปกติพร้อมสติสัมปชัญญะ สมบูรณ์


    หมายเลข 4349
    20 ส.ค. 2558