โลภะ ทิฏฐิและมานะ -พฐ.185


        ผู้ฟัง ทั้งทิฏฐิ และมานะก็เกิดกับตัณหา เพราะฉะนั้นการที่จะพิจารณาได้ว่าขณะนั้นเป็นเราด้วยทิฏฐิหรือเป็นเราด้วยมานะ ขณะนั้นก็เป็นเราด้วยตัณหาด้วยใช่ไหม

        ท่านอาจารย์ แน่นอน แต่ว่าโดยตัณหาโดยไม่มีทิฏฐิได้ โดยตัณหาโดยไม่มีมานะได้

        ผู้ฟัง ความต่างก็ต่อเมื่อรู้ได้ทีละหนึ่ง คือหมายถึงสภาพมานะ สภาพทิฏฐิ หรือสภาพตัณหานั้น ใครเด่นจนกระทั่งสามารถที่จะเกิดสภาวะที่จะรู้สภาพนั้นได้ในขณะที่ปรากฏ

        ท่านอาจารย์ จิตเกิดดับทีละ ๑ ขณะ

        ผู้ฟัง ใช่

        ท่านอาจารย์ ขณะที่มานะเกิด ทิฏฐิไม่ได้เกิด

        ผู้ฟัง แต่ว่าโลภะเกิดด้วย

        ท่านอาจารย์ แน่นอน เพราะฉะนั้นสำหรับผู้ที่เป็นพระโสดาบันมีโลภะที่เกิดกับมานะ และก็ยังมีโลภะที่ไม่ได้เกิดกับมานะ และสำหรับผู้ที่เป็นพระอนาคามีก็เช่นเดียวกัน

        ผู้ฟัง ก็มีโลภะที่เกิดกับมานะ

        ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่ายังไม่ได้ละมานะ ต่อเมื่อใดเป็นพระอรหันต์ก็ไม่มีกิเลสใดๆ เลย

        ผู้ฟัง แต่ว่ามันก็เป็นเรื่องราว อย่างไรถึงจะแยกได้

        ท่านอาจารย์ ที่จริงลักษณะของสภาพธรรมก็ต่างกันอยู่ แต่เป็นเรา โลภะทุกคนก็รู้ว่ากำลังเพลิดเพลิน กำลังสนุก ไม่ใช่ลักษณะของโทสะ เพราะฉะนั้นลักษณะของโทสะกับลักษณะของโลภะต่างกัน แต่เป็นเราทั้งสองอย่าง

        ผู้ฟัง ในกรณีของโลภะที่มีมานะกับโลภะที่มีทิฏฐิ หรือโลภะเฉยๆ ของโลภะเดียว ในขณะนั้นมันไม่ใช่โทสะ คือไปเทียบกับโทสะก็อาจจะเห็นได้ คืออาการของโลภะที่เกิดในมานะหรือโลภะที่เกิดในทิฏฐิ จะรู้ได้ว่าเป็นตัวตนด้วยมานะหรือตัวตนด้วยทิฏฐิ ก็ต้องมานะหรือทิฏฐินี่เกิดชัด

        ท่านอาจารย์ มีลักษณะปรากฏให้รู้

        ผู้ฟัง และพวกนั้นก็จะต้องรู้ลักษณะนั้น ไม่ใช่ว่าคิดเอาเอง

        ท่านอาจารย์ รู้ลักษณะนั้นแต่ไม่เรียกชื่อก็ได้ ไม่ใช่พอไปเรียกชื่อแล้วก็มีลักษณะนั้น

        ที่มา ...

        พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 185


    หมายเลข 10249
    25 ม.ค. 2567