ชนิดของการบวช

 
homenumber5
วันที่  8 ต.ค. 2554
หมายเลข  19868
อ่าน  26,403

เรียนท่านวิทยากร ดิฉันใคร่ขอทราบรายละเกียอและชนิดของการบวช ที่มีมาแต่ใน

พุทธกาล อาทิ พระพุทธเจ้าทรงบวชให้เรียกเอหิภิกขุฯลฯ และชนิดอื่นๆ ขอทราบที่

มาด้วย ค่ะ และปัจจุบันนี้ ประทศไทย ใช้วิธีบวชชนิดใดคะ ขออนุโมทนา สาธุ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 8 ต.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย คำว่า “บวช” เป็นคำที่คนไทยนิยมใช้ มาจากภาษาบาลี “ปพฺพชฺชา” ซึ่งหมายถึง

บรรพชา มีรากศัพท์มาจาก ป (ปะ) แปลว่า ทั่ว และ วช (วะชะ) แปลว่า เว้น

มาเป็นคำว่า “บรรพชา” แล้วกลายมาเป็นคำว่า “บวช” ในที่สุด คำว่า “ปพฺพชฺชา” หรือ “บรรพชา” แปลว่า เว้นทั่ว หมายถึง การงดเว้นจาก

ความชั่วทั้งปวง หรือ หมายถึง ออกไป คือ ออกไปจากธุระการงานทุกประเภทของ

คฤหัสถ์ ผู้ที่ถือบวชในพุทธศาสนา จะได้นามว่า พระบ้าง ภิกษุบ้าง บรรพชิตบ้าง

ในปัจจุบันคำว่า “การบวช” ที่เราพูดกันนั้น มิได้หมายเอาเฉพาะความหมายที่ตรงกับ

คำว่า “บรรพชา” เท่านั้น แต่หมายถึงคำว่า “อุปสมบท” ด้วย เพราะตามความ

หมายเดิม บรรพชา หมายถึง การบวชเป็นสามเณรเท่านั้น ดังนั้น คำว่า “บวช”

จึงใช้เป็นคำกลางๆ หากต้องการจะสื่อสารให้รู้ว่าบวชเป็นอะไรก็เพิ่มคำใหม่ต่อท้าย

เช่น บวชเณร บวชพระ บวชชี เป็นต้น การบวชในพุทธศาสนาแยกได้ 2 ประเภท

1. การบรรพชา คือ การบวชเป็นสามเณรในพุทธศาสนา ผู้ชายมีอายุต่ำกว่า 20 ปี

มีศรัทธาจะบวชในพุทธศาสนา พระวินัยได้กำหนดไว้ให้บวชเป็นสามเณร เมื่ออายุ

ครบ 20 ปีบริบูรณ์ หากมีคุณสมบัติอย่างอื่นครบ และมีความประพฤติดีงาม ก็

สามารถขอบวชเป็นพระภิกษุได้

2. การอุปสมบท คำว่า “อุปสมบท” หมายถึง การบวชเป็นภิกษุในพุทธศาสนา

บางทีก็ใช้รวมกับคำว่า “บรรพชา” เป็น “บรรพชาอุปสมบท” หมายถึง การบวชเป็น

สามเณรและภิกษุในพุทธศาสนา มีคำที่ใช้แทนผู้ที่บวชเป็นภิกษุแล้ว

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 8 ต.ค. 2554

ประเภทของการบวชการบวชพระหรือการอุปสมบทในพุทธศาสนาแยกได้ 3 ประเภท คือ1. เอหิภิกขุอุปสัมปทา การบวชประเภทนี้ เป็นวิธีการบวชที่พระพุทธเจ้าประทาน แก่

กุลบุตรผู้ขอบวชด้วยพระองค์เอง เป็นการอนุญาตให้มาเป็นภิกษุโดยการตรัสด้วยพระ

วาจาแต่จะมีอยู่ 2 แบบ คือ... หากบุคคลผู้ที่ยังเป็นปุถุชนคนธรรมดาขอบวช พระองค์ก็จะตรัสเรียกให้เข้าเป็นภิกษุ

ว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่

สุดทุกข์โดยชอบเถิด” การตรัสพระวาจาเพียงแค่นี้ก็สำเร็จเป็นภิกษุในพุทธศาสนา

แล้ว

สำหรับแบบที่สองเป็นวิธีการบวชที่พระพุทธเจ้าบวชให้แก่บุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ

สามารถกำจัดกิเลสได้แล้ว พระองค์จะตรัสพระวาจาว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเกิด

ธรรมเรากล่าวดีแล้วเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด” จะพบพระพุทธเจ้าจะตัดข้อความ

ตอนสุดท้ายออก คือ “ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด” เพราะผู้ที่กำจัดกิเลสตัณหา

ได้แล้ว จะไม่มีความทุกข์โดยสิ้นเชิง2. ติสรณคมนูปสัมปทา คือ การอุปสมบทด้วยวิธีให้ผู้ขอบวชกล่าวคำรับเอาและเข้า

ถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่ง (สรณะ) เป็นที่ระลึก ซึ่งได้กล่าวถึงรายละเอียดไว้แล้วใน

เรื่อง “การบรรพชา” แต่การบวชแบบติสรณคมนูปสัมปทานี้ เดิมใช้บวชพระมาก่อน

กล่าวคือ ตอนที่พระพุทธเจ้าตัดสินพระทัยออกประกาศศาสนา ได้เสร็จไปโปรด

ปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ประทานการบวชแก่บุคคลผู้เลื่อมใสศรัทธา

ขณะที่ประทับอยู่ในเขตเมืองพาราณสีนั้น มีจำนวนถึง 60 รูป แล้วพระองค์ก็ทรง

ส่งพระสาวกเหล่านั้นออกประกาศศาสนาไปตามบ้าน คาม นิคมและราชธานี โดย

ส่งไปแห่งละรูป มิให้เดินทางไปแห่งเดียวกันสองรูป เมื่อมีผู้ศรัทธาจะขอบวชในพุทธศาสนา พระสาวกก็ไม่อาจจะบวชให้แก่ผู้เลื่อมใส

เหล่านั้นได้ ต้องพาผู้มีศรัทธาเหล่านั้นเดินทางรอนแรม หนทางก็ทุรกันดาร พระ

พุทธเจ้าทรงเห็นความลำบากเหล่านี้จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุสามารถบวชด้วยวิธีติสรณ

คมนูปสัมปทานี้ โดยไม่ต้องพาผู้ขอบวชเดินทางมาหาพระพุทธองค์อีกต่อไป

3. โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา เป็นวิธีบวชที่พระพุทธเจ้าทรงมอบพระโอวาทให้แก่พระ

มหากัสสปะรับไปปฏิบัติ คือพระพุทธเจ้าประทานอุปสมบทโดยการมอบพระโอวาทแก่

ท่าน และให้ท่านนำไปปฏิบัติ พระภิกษุที่ได้รับการบวชด้วยวิธีนี้มีเพียงพระมหากัสสปะ

รูปเดียวเท่านั้น ในพระไตรปิฎกมีการกล่าวถึงพระโอวาทที่พระองค์ตรัสประทานแก่พระ

มหากัสสปะไว้ดังนี้

ดูก่อนกัสสปะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเข้าไปตั้งหิริโอตัปปะ

อย่างแรงกล้าไว้ในภิกษุทั้งหลาย ทั้งที่เป็นเถระ ทั้งที่เป็นผู้ใหม่และทั้งที่มีพรรษาปาน

กลางดูก่อนกัสสปะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักฟังธรรมทั้งหมดที่

ประกอบไปด้วยกุศล เราจักเงี่ยโสตลงฟังธรรมนั้นทั้งหมดแล้วประมวลมาไว้ด้วยใจ

ดูก่อนกัสสปะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า กายคตาสติที่เกิดพร้อมด้วย

ความยินดีจักไม่พรากจากเราดูก่อนกัสสปะ เธอพึงศึกษาอย่างว่ามานี้แล

4. ญัตติจตุตถกรรมวาจา คือ การอุปสมบทด้วยการสวดญัตติเป็นที่ 4 การ

อุปสมบทหรือบวชพระในปัจจุบัน ใช้วิธีการอุปสมบทแบบบัตติจตุตถกรรมวาจานี้โดย

หมู่สงฆ์เป็นผู้ใช้ ซึ่งเดิมใช้วิธีแบบติสรณคมนูปสัมปทา แต่วิธีการเดิมทำให้เกิดข้อผิด

พลาดและบกพร่องในการคัดเลือกผู้ที่จะเข้ามาบวชเป็นภิกษุ พระพุทธเจ้าจึงทรงยกให้

เป็นหน้าที่ของสงฆ์โดยกำหนดเป็นเงื่อนไขถึงจำนวนสงฆ์ไว้ 2 อย่าง คือ

-ในท้องถิ่นที่กันดารและห่างไกล ให้ใช้สงฆ์จำนวน 5 รูป ในการทำพิธีบวช-ในเมืองอันเป็นถิ่นที่หาภิกษุได้ง่าย กำหนดให้ใช้สงฆ์จำนวน 10 รูป ในจำนวนภิกษุ 5 หรือ 10 รูปนั้น ให้รวมกันเป็นคณะ แล้วให้มีพระอุปัชฌาย์ 1 รูป

และพระคู่สวด 2 รูป ส่วนภิกษุที่เหลือให้เป็นพระอันดับ การรับรองการบวชในคณะ

สงฆ์จะต้องได้รับเสียงเป็นเอกฉันท์ หลังจากกำหนดใช้การบวชพระด้วยวิธีญัตติจตุตถ

กรรมนี้แล้ว ก็ยกเลิกวิธีแบบติสรณคมนูปสัมปทา และใช้วิธีหลังนี้สำหรับบวชให้แก่ผู้

จะบวชเณร (บรรพชา)

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 8 ต.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น การบวชในสมัยปัจจุบัน สำหรับการบวชเป็นพระภิกษุ นั้น จะต้องบวชวิธีด้วยญัตติ-จตุตถกรรมวาจา สำเร็จด้วยหมู่สงฆ์ ส่วนการบวชเป็นสามเณร ก็ด้วยการถึงสรณะ ๓ เป็นที่พึ่ง และ สมาทานศึกษาในศีลของสามเณร คือ ศีล ๑๐ รวมไปถึงจะต้องศึกษามารยาทอันดีงามที่บรรพชิตจะต้องศึกษาและสำรวมตาม ด้วย เมื่อกล่าวถึงการบวช ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใด ก็ตาม เริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาล จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ล้วนมีความมุ่งหมายเป็นอย่างเดียวกัน คือ ขัดเกลากิเลสของตนเองเป็นสำคัญ จนกระทั่งสามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระอริยบุคคล แสดงให้เห็นถึงอัธยาศัยของบุคคลผู้ที่จะบวชจริงๆ ว่า การอยู่ครองเรือน เป็นการหลั่งไหลของอกุศลประการต่างๆ มากมาย จึงสละทุกสิ่งทุกอย่าง ทิ้งวงศาคณาญาติ ทรัพย์สมบัติทั้งปวง มุ่งสู่ความเป็นบรรพชิต พร้อมที่จะฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญา ขัดเกลากิเลสในเพศที่สูงยิ่งกว่าคฤหัสถ์ ผลสูงสุด ของการบวช คือ การรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ถึงความเป็นพระอริยบุคคล ตามลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นพระโสดาบัน ถึง พระอรหันต์ และบางท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก่อนที่จะบวช (ซึ่งก็ต้องบวชในวันนั้น) ก็มี เช่น ท่านพระยสะกุลบุตร ภัททชิกุมาร เป็นต้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าบวชแล้ว ไม่ได้น้อมไปในการศึกษาพระธรรม ไมไ่ด้อบรมเจริญปัญญา ไม่ได้ขัดเกลากิเลสของตนเองเลย ย่อมไม่ได้ประโยชน์จากการบวช นอกจากจะไม่ได้ประโยชน์แล้ว ยังเพิ่มโทษให้กับตนเองอีก ซึ่งมีตัวอย่างพระภิกษุมากมายที่บวชแล้ว แต่ต้องไปเกิดในอบายภูมิ อันเป็นผลจากการไม่น้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย นั่นเองครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
jaturong
วันที่ 10 ต.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
orawan.c
วันที่ 24 ต.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
lovedhamma
วันที่ 4 ธ.ค. 2554

แจ่มแจ้งครับ ขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ