ใส่บาตรด้วยเงิน.

 
yupa
วันที่  15 มี.ค. 2549
หมายเลข  920
อ่าน  10,224

ฟังพระธรรมโดย อ.สุจินต์ มาโดยตลอด แต่มีข้อคิดเห็นเรื่องการใส่บาตรด้วยเงินตามพระสูตรเป็นการผิดวินัยสงฆ์ แต่ยุคสมัยนี้คนส่วนใหญ่ มักจะทำบุญด้วยวิธีนี้กันซึ่งโดยส่วนตัวแล้วปฏิบัติ เช่นนี้ โดยไม่มีเจตนาที่จะให้พระสงฆ์ที่รับเงินเกิดความยินดี เพียงแต่อยากให้พระสงฆ์ได้มีปัจจัยที่จะใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น การรักษา หรือ ซื้อยาและช่วยเหลือผู้ยากไร้ และจะเห็นว่า พระสงฆ์หลายรูปที่เป็นพระนักพัฒนา ที่ช่วยเหลือสังคม เห็นเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมก็ปฏิบัติมาตลอด


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 15 มี.ค. 2549

การถวายเงินกับพระสงฆ์เป็นการกระทำที่ไม่สมควร พระพุทธองค์ทรงตำหนิทั้งผู้รับและผู้ให้คือ สำหรับผู้รับทรงบัญญัติพระวินัยปรับอาบัตินิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ ต้องสละทิ้งเงินก่อนจึงปลงอาบัติได้ ส่วนผู้ถวายทรงแสดงเรื่องการให้ทานแบบอสัตบุรุษคือผู้ไม่ฉลาดย่อมถวายของที่เป็นอกัปปิยะ คือของที่ไม่สมควรแก่บรรพชิต ส่วนพระสงฆ์แม้รับเพื่อผู้อื่นก็เป็นอาบัติและการพัฒนาหรือช่วยเหลือสังคมไม่ใช่กิจของสงฆ์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pornchai.s
วันที่ 15 มี.ค. 2549

เงิน ทอง (สิ่งอื่นๆ ที่ใช้แทนเงินทอง) ไม่ใช่ปัจจัย ๔ ของพระภิกษุ เพราะปัจจัย ๔ ของพระภิกษุ ได้แก่

อาหารบิณฑบาตร ๑

จีวร ๑

ที่อยู่อาศัย ๑

ยารักษาโรค ๑

เท่านั้น ธุระของพระภิกษุ ก็มีเพียง ๒ อย่าง คือ

๑. คันถธุระ คือ ศึกษาพระธรรม (จากพระไตรปิฎก หรือจากผู้รู้พระไตรปิฎก)

๒. วิปัสสนาธุระ คือ อบรมเจริญวิปัสสนาเพื่อความเป็นพระอรหันต์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 15 มี.ค. 2549

ผู้ที่บวชเป็นภิกษุ เป็นผู้ที่ละอาคารบ้านเรือนเพื่อขัดเกลากิเลส และศึกษาพระธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น จึงควรศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
study
วันที่ 15 มี.ค. 2549

ผู้ที่ใส่บาตรด้วยเงิน และพระภิกษุที่รับเงิน ชื่อว่าไม่เคารพในวินัย ไม่เคารพในผู้บัญญัติวินัยด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
natnicha
วันที่ 15 มี.ค. 2549

ตอนเช้าเคยเห็นคนถวายเงิน พร้อมกับอาหารวางไว้บนบาตรพระ พระท่านก็ให้เด็กวัดหยิบของที่ถวายนั้นใส่ย่าม เด็กวัดคนนั้นหยิบเงินใส่กระเป๋าตัวเองด้วยค่ะ อย่างนี้เด็กวัดจะมีความผิดที่เอาของสงฆ์หรือไม่คะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
study
วันที่ 15 มี.ค. 2549

ถ้ามีเจตนาลัก ย่อมผิดศีลข้อ ๒ แต่ทางพระอาจจะมีการตกลงกันไว้ก็ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
khampan.a
วันที่ 17 มี.ค. 2549

จากการที่ได้ฟังคำบรรยายธรรมของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ก็ได้ข้อคิดในเรื่องนี้ว่า ในเมื่อเราได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับพระวินัยของพระภิกษุแล้ว ต่อไปนี้เราจะทำในสิ่งที่ผิดต่อไปอีก หรือว่าเราจะทำให้ถูกต้องยิ่งขึ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
krongthong
วันที่ 17 มี.ค. 2549

ชื่นชมที่มั่นคงในพระวินัย ไม่พยายามเบี่ยงเบน

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
ต้นไม้
วันที่ 12 เม.ย. 2549
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
chorswas.n
วันที่ 8 ส.ค. 2549

[เล่มที่ 3] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ หน้า ๙๔๗

ในการรับเอง หรือใช้ให้รับนั้นมีวินิจฉัยดังนี้ เป็นอาบัติตัวเดียวแก่ภิกษุผู้รับเองหรือใช้ให้รับวัตถุสิ่งเดียวในบรรดาภัณฑะ คือ เงินทองทั้งกหาปณะและมาสก ถ้าแม้นว่าภิกษุรับเอง หรือใช้ให้รับตั้งพันอย่างรวมกัน เป็นอาบัติมากตามจำนวนวัตถุ ฯลฯ ถ้าแม้นภิกษุยินดีด้วยจิต เป็นผู้ใคร่เพื่อจะรับเอาด้วยกายหรือวาจา แต่ปฏิเสธว่านี้ไม่ควรไม่เป็นอาบัติ.. บรรดาไตรทวารอันภิกษุ ห้ามแล้วด้วยทวารใดทวารหนึ่ง ย่อมเป็นอันห้ามแล้วแท้ แต่ถ้าไม่ห้ามด้วยกายวาจารับอยู่ด้วยจิตต้องอาบัติ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
2000ราตรี
วันที่ 17 ก.ค. 2550

ของที่จะใส่ในบาตรพระควรเป็นของที่จะฉันได้ในเวลาก่อนเที่ยง คือ ไม่ใช่ของเก็บไว้แต่ถ้าใส่เงินพร้อมการถวายสังฆทาน น่าจะทำได้เข้าใจอย่างนี้ถูกต้องหรือไม่คะ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
study
วันที่ 17 ก.ค. 2550

ไม่ควรถวายเงินกับพระภิกษุ ไม่ว่าเวลาไหนๆ การถวายเงินขัดกับพระวินัยบัญญัติของพระพุทธเจ้า

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 6 มี.ค. 2551

แล้วพระที่รับเงิน แล้วมีการปลงอาบัติทุกครั้ง แต่เมื่อตายตอนที่ไม่อาบัติทั้งๆ ก่อนหน้าเคยอาบัติแต่มีการปลงแล้ว ก็ไม่ไปทุคติใช่หรือไม่ (หมายถึงทุกอย่างศีลดีหมดแต่ผิดแค่รับเงิน)

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
study
วันที่ 7 มี.ค. 2551

ควรทราบว่า การออกจากอาบัติที่เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์นั้น ไม่ใช่เพียงการปลงอาบัติเท่านั้นคือ ต้องสละวัตถุนั้นเสียก่อนจึงจะปลงอาบัติได้ ถ้ายังครอบครองเงินทองอยู่แม้ว่าจะปลงอาบัติตั้งร้อยครั้ง พันครั้ง ก็ไม่ชื่อว่าปลงอาบัติ คือ การปลงอาบัตินั้นใช้ไม่ได้ ชื่อว่ายังมีอาบัติอยู่ อนึ่งท่านแสดงว่า อาบัติทั้งหมดแม้เล็กน้อย เป็นเครื่องกั้นทั้งหมด ดังนั้น อย่างอื่นบริสุทธิ์หมด แต่มีอาบัติ ๑ ข้อ ก็ชื่อว่า ไม่บริสุทธิ์นั่นเอง ทุคติพึงหวังได้ ไม่ต้องสงสัย

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
chatchai.k
วันที่ 7 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 6 เม.ย. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ