สลดใจ กับ สังเวชใจ

 
ปุจฉา
วันที่  2 พ.ย. 2550
หมายเลข  5366
อ่าน  8,805

๑. สลด แปลว่าอะไร

๒. สังเวช แปลว่าอะไร

๓. คำว่า สลดกับสังเวช เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ขอท่านวิทยากรช่วยอัญเชิญพระธรรมหรืออรรถกถาในพระไตรปิฎก ที่พระโพธิสัตว์เห็นในสิ่งใดแล้วท่านสลดใจ หรือสังเวชใจขึ้นมาทันที จากนั้น ท่านก็สละราชสมบัติ หรือทรัพย์สินเพื่อออกบวช

ขอขอบพระคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 3 พ.ย. 2550

คำว่า สลด ในภาษาไทยทั่วไป หมายถึง สลดหดหู่ จิตเป็นอกุศล

คำว่า สังเวชหรือสังเวค ส่วนใหญ่นิยมแปลว่า สลด หมายถึง จิตเป็นกุศล ถอยกลับจากอกุศล เห็นภพ การเกิดโดยความเป็นภัย ดังข้อความจากอรรถกถาว่า

ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่...

สลดใจ [ธรรมสังคณี]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 3 พ.ย. 2550

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 411

ญาณประกอบด้วยโอตตัปปะ ชื่อว่า ความสังเวช ความสังเวชนั้น ญาณประกอบด้วยโอตตัปปะ ชื่อว่า ความสังเวช ความสังเวชนั้นเกิดขึ้นแก่นางเพราะได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ตสฺมา เม อหุ สํเวโค ดังนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 3 พ.ย. 2550

เราไปสังเวชนียสถาน เป็นที่ทำให้เกิดความสังเวช สลดใจ แต่ต้องเป็นปัญญา ที่เห็นความไม่เที่ยง เช่น พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลที่เลิศที่สุดในโลก ก็ยังต้องปรินิพพานเลย ฯลฯ เวลาที่เราได้ข่าวคนที่เรารู้จักตาย หรือได้รับอุบัติเหตุ ทำให้เราเกิดความสลดใจ ไม่ประมาทในการทำความดี เพราะความตายไม่แน่นอน เราทุกคนล้วนมีกรรมเป็นของตน ควรทำแต่กรรมดี เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
takecare
วันที่ 4 พ.ย. 2550

ขอบูชาคุณพระรัตนตรัย

สังเวช สลดใจเป็นปัญญาที่เห็นตามความเป็นจริง เช่น เห็นคนแก่ เจ็บ ตาย แม้เราก็เป็นเช่นนั้น แล้วปรารภความเพียรเพื่อละอกุศล ดังเช่น พระโพธิสัตว์ออกบวช ส่วนเราก็ฟังพระธรรม เป็นต้นตัวอย่างพระโพธิสัตว์ออกบวชเพราะเห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาคือสังเวชสลดใจ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 153

อรรถกถาทูตสูตร

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เป็นเทวทูต เพราะเป็นทูตของวิสุทธิเทพก็ได้ อธิบายว่า พระโพธิสัตว์ทุกองค์ เห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวชเท่านั้น ก็ถึงความสังเวชแล้วออกบวช. คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวชชื่อว่า เทวทูต เพราะเป็นทูตของวิสุทธิเทพทั้งหลายบ้าง ดังพรรณนามานี้.

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
takecare
วันที่ 4 พ.ย. 2550

เมื่อสังเวช แล้วปรารภความเพียร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 120

วีริยะนี้นั้น มีความอุตสาหะเป็นลักษณะ, มีการอุปถัมภ์ สหชาตธรรมเป็นกิจ, มีการไม่ย่อท้อเป็นอาการปรากฏเฉพาะหน้า, มีความสังเวชเป็นเหตุใกล้ โดยพระบาลีว่า เป็นผู้สลดแล้ว เริ่มตั้งความเพียรไว้โดยแยบคาย ดังนี้เป็นต้น, หรือมีเหตุเป็นเครื่องเริ่มความเพียรเป็นเหตุใกล้.

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
takecare
วันที่ 4 พ.ย. 2550

สังเวช สลดใจเพราะเห็นตามความเป็นจริง (ความไม่เที่ยง) ด้วยปัญญา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 311

อรรถกถาอธิมัตตัตถนิเทศ

บทว่า สเวโค อุปฺปชฺชติ ความสังเวชย่อมเกิดขึ้นคือ ความสังเวชในเพราะความปรวนแปรของสังขารย่อมเกิดขึ้นเพราะรู้แจ้งโทษของสังขารด้วยแสงสว่างคือ ญาณ.

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ขอนอบน้อม
วันที่ 23 มี.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
peem
วันที่ 3 เม.ย. 2561

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 14 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 21 ต.ค. 2565

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ