พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. อเนกวัณณวิมาน ว่าด้วยเอนกวัณณวิมาน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 พ.ย. 2564
หมายเลข  40333
อ่าน  302

[เล่มที่ 48] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 619

๒. ปุริสวิมานวัตถุ

สุนิกขิตตวรรคที่ ๗

๘. อเนกวัณณวิมาน

ว่าด้วยเอนกวัณณวิมาน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 48]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 619

๘. อเนกวัณณวิมาน

ว่าด้วยเอนกวัณณวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๘๒] ท่านอันหมู่อัปสรแวดล้อม ขึ้นวิมานอันมีวรรณะมิใช่น้อย เป็นที่ระงับความกระวนกระวายและความโศก วิจิตรมาก บันเทิงอยู่ดุจท้าว

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 620

สุนิมมิตเทวราช ผู้เป็นใหญ่ในเทวดา ไม่มีใครเสมอเหมือน จะมีใครที่ไหนยิ่งกว่าท่านทางยศ ทางบุญ และทางฤทธิ์ หมู่ทวยเทพชั้นไตรทศทั้งหมด ชุมนุมกันไหว้ท่านดุจเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายไหว้พระจันทร์ฉะนั้น และเทพอัปสรเหล่านี้ก็ฟ้อนรำ ขับร้อง บันเทิงอยู่รอบๆ ท่าน ท่านเป็นผู้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อก่อนข้าพเจ้าได้เป็นสาวกของพระชินพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธ ข้าพเจ้าเป็นปุถุชน ยังมิได้ตรัสรู้ บวชอยู่ ๗ พรรษา เมื่อพระสุเมธชินพุทธเจ้าผู้ศาสดา ผู้ข้ามโอฆะได้ แล้วเป็นผู้คงที่ เสด็จปรินิพพานแล้ว ข้าพเจ้านั้นได้ไหว้รัตนเจดีย์ที่คลุมด้วยข่ายทอง ทำใจให้เลื่อมใสในพระสถูป ข้าพเจ้ามิได้ให้ทาน เพราะไม่มีวัตถุทานที่จะให้ แต่ข้าพเจ้าได้ชักชวนคนอื่นๆ ให้ให้ทานนั้นว่า ท่านทั้งหลายจงบูชาพระธาตุของพระพุทธเจ้าผู้ควรบูชานั้นเถิด ได้ยินว่า ท่านทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 621

ละอัตภาพนี้แล้ว จักไปสวรรค์ด้วยอาการอย่างนี้ ข้าพเจ้าได้ทำกุศลกรรมอย่างนั้นแล จึงได้เสวยสุขอันเป็นทิพย์ด้วยตน และบันเทิงอยู่ในท่ามกลางหมู่เทพชั้นไตรทศ ทั้งข้าพเจ้าก็ยังไม่สิ้นบุญนั้น.

จบอเนกวัณณวิมานที่ ๘

อรรถกถาอเนกวัณณวิมาน

อเนกวัณณวิมาน มีคาถาว่า อเนกวณฺณํ ทรโสกนาสนํ เป็นต้น. อเนกวัณณวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน กรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเที่ยวจาริกไปในเทวโลก ตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ครั้งนั้น เทพบุตรผู้มีรัศมีมิใช่น้อย เห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะนั้นเกิดความเคารพนับถือมาก เข้าไปหาแล้วยืนประคองอัญชลีอยู่ พระเถระถามถึงกรรมที่เทพบุตรกระทำ ด้วยมุข คือ มุ่งประกาศสมบัติที่ได้แล้วว่า

ท่านอันหมู่อัปสรแวดล้อม ขึ้นวิมานอันมีวรรณะมิใช่น้อย เป็นที่ระงับความกระวนกระวายและความโศก วิจิตรมาก บันเทิงอยู่ดุจท้าวสุนิมมิตเทวราช ผู้เป็นใหญ่ในเทวดา ไม่มีใคร

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 622

เสมอเหมือน จะมีใครที่ไหนที่ยิ่งกว่าท่านทางยศ ทางบุญ และทางฤทธิ์ หมู่ทวยเทพชั้นไตรทศทั้งหลาย ชุมนุมกันก็ไหว้ท่าน ดุจเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายไหว้พระจันทร์ฉะนั้น และเทพอัปสรเหล่านี้ก็ฟ้อนรำ ขับร้อง บันเทิงอยู่รอบๆ ท่าน ท่านเป็นผู้บรรลุเทพฤทธิ์ มีอานุภาพมาก ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เพื่อแสดงกรรมนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เทพบุตรนั้นถูกพระโมคคัลลานะถามแล้วดีใจ ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้.

เทพบุตรแม้นั้นได้กล่าวว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อก่อนข้างเจ้าได้เป็นสาวกของพระชินพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธ ข้าพเจ้าเป็นปุถุชนยังมิได้ตรัสรู้ บวชอยู่ ๗ พรรษา เมื่อพระสุเมธชินพุทธเจ้าผู้ศาสดาผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว เป็นผู้คงที่ เสด็จปรินิพพานแล้ว ข้าพเจ้านั้น ได้ไหว้รัตนเจดีย์ที่คลุมด้วยข่ายทอง ทำใจให้เลื่อมใสในพระสถูป ข้าพเจ้ามิได้ให้ทาน เพราะไม่มีวัตถุทานที่จะให้ แต่ข้าพเจ้าได้ชักชวนคนอื่นๆ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 623

ให้ให้ทานนั้นว่า ท่านทั้งหลายจงบูชาพระธาตุของพระพุทธเจ้าผู้ควรบูชานั้นเถิด ได้ยินว่า ท่านทั้งหลายละอัตภาพนี้แล้ว จักไปสวรรค์ด้วยอาการอย่างนี้ ข้าพเจ้าได้กระทำกุศลกรรมอย่างนั้นแล จึงได้เสวยสุขอันเป็นทิพย์ด้วยตน และบันเทิงอยู่ในท่ามกลางหมู่เทพชั้นไตรทศ ทั้งข้าพเจ้าก็ยังไม่สิ้นบุญนั้น.

เล่ากันมาว่า นับจากนี้ถอยหลังไปสามหมื่นกัป พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธ เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงทำโลกนี้กับเทวโลกให้สว่างเป็นอย่างเดียวกัน ทรงบำเพ็ญพุทธกิจแล้วเสด็จปรินิพพาน เมื่อมนุษย์ทั้งหลายเก็บพระบรมธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้าสร้างรัตนเจดีย์ บุรุษคนหนึ่งบวชในศาสนาของพระศาสดา ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ๗ พรรษา มีความรำคาญเพราะจิตไม่ตั้งมั่นจึงสึก ครั้นสึกแล้ว โดยที่เป็นผู้มีความสังเวชมากและมีฉันทะในธรรม จึงทำการปัดกวาดและดูแล ของใช้เป็นต้นที่ลานพระเจดีย์ รักษานิจศีลและอุโบสถศีล ฟังธรรม และเที่ยวชักชวนคนอื่นๆ ให้ทำบุญ เขาทำกาละตายในเมื่อสิ้นอายุ บังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะความยิ่งใหญ่แห่งบุญกรรม เขาเป็นเทพบุตรมีศักดิ์ใหญ่ มีอานุภาพมาก เป็นผู้ที่เทวดาทั้งหลายมีท้าวสักกะ เป็นต้น สักการบูชา ดำรงอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นชั่วอายุ จุติจากดาวดึงส์นั้นท่องเที่ยวไปๆ มาๆ อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ด้วยเศษวิบากแห่งกรรม

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 624

นั้นแหละ เทวดาทั้งหลายรู้จักเทพนั้นว่าเป็นผู้มีวรรณะมิใช่น้อย หมายเอาเทพบุตรองค์นั้น มหาสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า อถ นํ อเนกวณฺโถ เทวปุตฺโตฯ เปฯ น ตสฺส ปุญฺสฺส ขยมฺปิ อชฺฌคนฺติ กเถสิ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเนกวณฺณํ ความว่า มีวรรณะหลายอย่าง เพราะมีสีหลายอย่างมีสีเขียวและสีเหลีองเป็นต้น และเพราะวิมานติดๆ กันเป็นต้น มีสัณฐานหลายอย่าง. บทว่า ทรโสกนาสนํ ความว่า ชื่อว่าเป็นที่ระงับความกระวนกระวายและความโศก เพราะบรรเทาความกระวนกระวายและความเร่าร้อนเพราะเป็นวิมานที่เยือกเย็น และเพราะไม่เป็นโอกาสแห่งความโศกเพราะเป็นวิมานที่น่าปลื้มใจ เพราะเป็นวินานที่น่าชม. บทว่า อเนกจิตฺตํ ได้แก่ มีรูปวิจิตรหลายอย่าง. บทว่า สุนิมฺมิโต ภูตปตีว ความว่า ท่านแม้เป็นหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ ก็บันเทิงยินดีรื่นรมย์ยิ่งเหมือนท้าวสุนิมมิตเทวราช เพราะเป็นผู้มีทิพยสมบัติอย่างโอฬาร.

บทว่า สมสฺสโม ได้แก่ ผู้เสมอเหมือนนั่นเอง พูดตรงๆ ก็คือ ไม่มีเทพที่เหมือนท่าน. จะมีใครที่ไหน คือด้วยเหตุไร ที่เหนือกว่า คือยิ่งกว่าเล่า เพื่อจะเฉลยปัญหาว่า เสมอยิ่งกว่าทางไหน ท่านจึงกล่าวว่า ยเสน ปุญฺเน จ อิทฺธิยา จ ทางยศ ทางบุญ และทางฤทธิ์ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยเสน ได้แก่ บริวารยศ. บทว่า อิทฺธิยา ได้แก่ อานุภาพ อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยเสน ได้แก่ อิสริยยศ ความเป็นใหญ่. บทว่า อิทฺธิยา ได้แก่ เทวฤทธิ์ ฤทธิ์ของเทวดา อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยเสน ได้แก่ ความสมบูรณ์แห่งสมบัติ.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 625

บทว่า อิทฺธิยา ได้แก่ ความสำเร็จแห่งกามคุณตามที่ต้องการ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยเสน ได้แก่ เกียรติยศ ชื่อเสียงที่งาม. บทว่า อิทฺธิยา ได้แก่ ความสำเร็จพร้อม. บทว่า ปุญฺเน ได้แก่ ผลบุญที่เหลือลง ซึ่งกล่าวไว้ในที่นั้นๆ หรือบุญกรรมนั่นเอง.

บทว่า สพฺเพ จ เทวา ท่านกล่าวทำเนื้อความที่ถือตามสามัญให้วิเศษด้วยบทนี้ว่า ติทสคณา. เทวดาทั้งหลายเมื่อจะกระทำความเคารพเฉพาะตนแก่ท่านที่ควรเคารพ บางท่านย่อมไม่กระทำทั้งที่กำลังบันเทิงกัน สำหรับเทพบุตรนี้ ไม่อย่างนั้น ที่ท่านกล่าวว่า สเมจฺจ ชุมนุมกัน เพื่อแสดงว่า เทวดาทั้งหลายแม้กำลังบันเทิงกัน ก็กระทำความเคารพแก่เทพบุตรนี้โดยแท้. บทว่า ตํ ตํ คือ ตํ ตฺวํ ท่านนั้น.

บทว่า สสึว เทวา ความว่า มนุษย์และเทวดาทั้งหลายเกิดอาทรเอื้อเฟื้อขึ้นมาก็นอบน้อมสสิสิ่งที่มีตรากระต่าย คือพระจันทร์ที่ปรากฏในวันเพ็ญและวันแรมหนึ่งค่ำ ฉันใด หมู่เทพชั้นไตรทศแม้ทั้งหมด ย่อมนอบน้อมท่านนั้นก็ฉันนั้น เทพบุตรเรียกพระเถระด้วยความเคารพนับถือมากว่า ภทนฺเต. บทว่า อหุวาสึ แปลว่า ได้เป็นแล้ว. บทว่า ปุพฺเพ ได้แก่ ในชาติก่อน. บทว่า สุเมธนามสฺส ชินสฺส สาวโก ความว่า เป็นสาวกเพราะบวชในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระนามปรากฏอย่างนี้ว่า สุเมธ. บทว่า ปุถุชฺชโน ได้แก่ ไม่ใช่พระอริยะ ชื่อว่ายังมิได้ตรัสรู้ เพราะไม่มีแม้เพียงการตรัสรู้สัจจะทั้งหลายแม้ในศาสนานั้น. บทว่า โส สตฺต วสฺสานิ ปริพฺพชิสฺสหํ ความว่า ข้าพเจ้านั้นเที่ยวไปโดยเพียงคุณคือบวช ๗ ปี อธิบายว่า ไม่ได้บรรลุอุตริมนุสธรรม คุณอันยิ่งของมนุษย์.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 626

บทว่า รตนุจฺจยํ ได้แก่ รัตนเจดีย์ที่ยกขึ้นซึ่งสร้างด้วยรัตนะมีแก้วและทองเป็นต้น. บทว่า เหมชาเลน ฉนฺนํ ความว่า คลุมด้วยข่ายทองทั้งรอบข้างและชั้นบน. บทว่า วนฺหิตฺวา ความว่า กระทำการนอบน้อมในที่นั้นๆ ด้วยเบญจางคประดิษฐ์. บทว่า ถูปสฺมึ มนํ ปสาทยึ ความว่า ข้าพเจ้ายังจิตให้เลื่อมใสในพระสถูปว่า นี้เป็นพระสถูปบรรจุพระธาตุ ซึ่งเป็นที่ตั้งมั่นแห่งคุณของพระสัพพัญญูหนอ.

บทว่า น มาสิ ทานํ ความว่า มิได้มีทานที่ข้าพเจ้ากระทำเลย เพราะเหตุไร เพราะไม่มีวัตถุที่จะถวาย. บทว่า น จ มตฺถิ ทาตุํ ความว่า วัตถุทานที่กำหนดไว้ของข้าพเจ้าไม่มีที่จะให้ คือสิ่งของที่ควรจะให้อะไรๆ ไม่มี แต่ข้าพเจ้าได้ชักชวนสัตว์อื่นๆ ในการให้ทานนั้น บางท่านกล่าวว่า ปเรสญฺจ ตตฺถ สมาทเปสึ ได้ชักชวนคนอื่นๆ ในการให้ทานนั้น ดังนี้ก็มี. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปเรสํ พึงทราบว่า เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถทุติยาวิภัตติ. บทว่า ปูเชถ นํ เป็นต้น เป็นบทแสดงอาการชักชวน ประกอบความว่า ซึ่งพระธาตุนั้น กิร ศัพท์ ใน บทว่า เอวํ กิร มีอรรถความว่าฟังตามๆ กันมา ด้วยบทว่า น ตสฺส ปุญฺสฺส ขยมฺปิ อชฺฌคํ เทพบุตรแสดงว่า ข้าพเจ้าไม่ถึงความหมดสิ้นแห่งบุญนั้น คือบุญกรรมที่กระทำอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุเมธในครั้งนั้น ข้าพเจ้ายังเสวยเศษวิบากแห่งกรรมนั้นแหละ ดังนี้ ข้อใดมิได้กล่าวไว้ในที่นี้ ข้อนั้นพึงทราบว่า เข้าใจง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวมาแล้วในหนหลัง.

จบอรรถกถาอเนกวัณณวิมาน