พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. จิตตลดาวิมาน ว่าด้วยจิตตลดาวิมาน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 พ.ย. 2564
หมายเลข  40326
อ่าน  277

[เล่มที่ 48] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 577

๒. ปุริสวิมานวัตถุ

สุนิกขิตตวรรคที่ ๗

๑. จิตตลดาวิมาน

ว่าด้วยจิตตลดาวิมาน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 48]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 577

สุนิกขิตตวรรคที่ ๗

๑. จิตตลดาวิมาน

ว่าด้วยจิตตลดาวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระ ถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๗๕] สวนจิตรลดาเป็นวนะประเสริฐที่สุด สูงสุดของทวยเทพชั้นไตรทศ ย่อมสว่างไสว ฉันใด วิมานของท่านนี้ก็อุปมาฉันนั้น สว่างไสวอยู่ในอากาศ ท่านได้เทพฤทธิ์มีอานุภาพมาก ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว ครั้งแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก ข้าพเจ้าเป็นคนยากจน ไม่มีที่พึ่ง ยากไร้เป็นกรรมกร เลี้ยงดูบิดามารดาผู้แก่เฒ่า อนึ่ง สมณะผู้มีศีลได้เป็นที่รักของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส เมื่อบริจาคข้าวและน้ำ ได้ถวายทานอย่างไพบูลย์ โดยเคารพ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 578

เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้า และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ข้าพเจ้า. ฯลฯ เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบจิตตลดาวิมาน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 579

สุนิกขิตตวรรคที่ ๗

อรรถกถาจิตตลดาวิมาน

จิตตลดาวิมาน มีคาถาว่า ยถา วนํ จิตฺตลตํ ปภาสติ เป็นต้น. จิตตลดาวิมานนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ วิหารเชตวัน กรุงสาวัตถี สมัยนั้น ในกรุงสาวัตถีมีอุบาสกคนหนึ่งเป็นคนยากจน มีโภคะน้อย รับจ้างทำงานของผู้อื่นเลี้ยงชีพ เขาเป็นคนมีศรัทธาปสาทะ เลี้ยงดูมารดาบิดาซึ่งแก่เฒ่า เขาคิดว่า ขึ้นชื่อว่าผู้หญิงมีสามีมักแสดงตัวเป็นใหญ่ ที่ประพฤติให้ถูกใจแม่ผัวพ่อผัวหายาก หลีกเลี่ยงความร้อนใจของบิดามารดาจึงไม่แต่งาน เลี้ยงดูท่านเสียเอง รักษาศีลถืออุโบสถ ให้ทานตามกำลังทรัพย์ ต่อมาเขาทำกาลกิริยาตายไปบังเกิดในวิมาน ๑๒ โยชน์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท่านพระมหาโมคคัลลานะไปสวรรค์ตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง ได้สอบถามเทพบุตรนั้นถึงกรรมที่ทำไว้ ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

สวนจิตรลดาเป็นสวนประเสริฐที่สุดสูงสุดของทวยเทพชั้นไตรทศ ย่อมสว่างไสวฉันใด วิมาน ของท่านนี้ก็อุปมาฉันนั้น สว่างไสวอยู่ในอากาศ ท่านได้เทพฤทธิ์มีอานุภาพมาก ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 580

รุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก ข้าพเจ้าเป็นคนยากจน ไม่มีที่พึ่ง ยากไร้ เป็นกรรมกร เลี้ยงดูบิดามารดาผู้แก่เฒ่า อนึ่ง สมณะผู้มีศีลได้เป็นที่รักของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส เมื่อบริจาคข้าวและน้ำได้ถวายทานอย่างไพบูลย์ โดยเคารพ.

เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้า และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ข้าพเจ้า. ฯลฯ เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรแม้นั้นได้กล่าวตอบพระมหาโมคคัลลานเถระนั้น ด้วยประการฉะนี้ คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาจิตตลดาวิมาน