พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ตติยปีฐวิมาน ว่าด้วยวิมานตั่งทอง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  15 พ.ย. 2564
หมายเลข  40249
อ่าน  304

[เล่มที่ 48] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 42

๑. อิตถิวิมานวัตถุ

ปีฐวรรคที่ ๑

๓. ตติยปีฐวิมาน

ว่าด้วยวิมานตั่งทอง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 48]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 42

๓. ตติยปีฐวิมาน

ว่าด้วยวิมานตั่งทอง

[๓] พระโมคคัลลานะถามว่า

ดูก่อนเทพธิดาผู้มีกายอันประดับแล้ว ทรงมาลัย ทรงพัสตราภรณ์สวยงาม วิมานตั่งทองของท่านโอฬาร เร็วดังใจ ไปได้ตามปรารถนา ท่านจึงส่องแสงประกายดังสายฟ้าแลบลอดหลืบเมฆ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน อนึ่ง โภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดานั้นถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว ดีใจ ได้พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

นี้เป็นผลกรรมอันน้อยของดีฉันที่เป็นเหตุให้ดีฉันมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ ดีฉันครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลกในชาติก่อน ได้เห็นภิกษุผู้ ปราศจากกิเลสดุจธุลี ผู้ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว ก็เลื่อมใส ได้ถวายตั่งแก่ท่านด้วยมือทั้งสองของตน เพราะบุญ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 43

นั้น ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอกแก่ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ดีฉันได้ทำบุญใดไว้ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบตติยปีฐวิมาน

อรรถกถาตติยปีฐวิมาน

ตติยปีฐวิมาน มีคาถาว่า ปีนฺเต โสวณฺณมยํ เป็นต้น. เรื่องของตติยปีฐวิมานนั้น เกิดขึ้นในกรุงราชคฤห์.

ดังได้สดับมา พระเถระขีณาสพรูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ได้อาหารแล้วประสงค์จะฉันในเวลาจวนแจ จึงเข้าไปยังเรือนหลังหนึ่งซึ่งเปิดประตูไว้. ในเรือนหลังนั้น สตรีเจ้าของเรือนมีศรัทธาปสาทะ สังเกตรู้อาการของพระเถระ จึงกล่าวว่า มาเถิดเจ้าข้า ขอท่านโปรดนั่งตรงนี้ฉันอาหารเถิดค่ะ แล้วจัดตั่งอย่างดี ปูผ้าสีเหลืองข้างบน ได้บริจาคโดยมิได้มุ่งอะไร และตั้งความปรารถนาว่า ขอบุญ ของเรานี้จงเป็นปัจจัยให้ได้ตั่งทองในอนาคตกาลเถิด. เมื่อพระเถระนั่งฉันอาหาร ณ ที่นั้น ล้างบาตรแล้วก็ลุกไป. นางจึงกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 44

อาสนะนี้ ดีฉันบริจาคแก่ท่านแล้ว ขอได้โปรดใช้สอยเพื่ออนุเคราะห์ดีฉันด้วยเถิดเจ้าค่ะ. พระเถระรับตั่งนั้นเพื่ออนุเคราะห์นาง แล้วให้ถวายแก่สงฆ์. สมัยต่อมา นางเป็นโรคอย่างหนึ่งตายไปบังเกิดในภพดาวดึงส์. คำดังกล่าวมาเป็นต้นทั้งหมด พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้วในกถาพรรณนาปฐมวิมานนั้นแล. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระโมคคัลลานะจึงถามว่า

ดูก่อนเทพธิดาผู้ประดับองค์ ทรงมาลัย ทรงพัสตราภรณ์อันสวยงาม วิมานตั่งทองของท่านโอฬาร เร็วดังใจ ไปได้ตามปรารถนา ท่านส่องแสงประกายคล้ายสายฟ้าแลบลอดหลืบเมฆ เพราะบุญอะไร วรรณะของท่านจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไร เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดาองค์นั้นถูกท่านพระโมคคัลลานะถามแล้ว ดีใจ ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

นี้เป็นผลของกรรมเล็กน้อยของดิฉันอันเป็นเหตุให้ดีฉันมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ในชาติก่อนในมนุษยโลก ดีฉันได้พบ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 45

ภิกษุผู้ปราศจากกิเลสดุจธุลี ผู้ผ่องใส ไม่หม่นหมอง ก็เลื่อมใสจึงได้ถวายตั่งแก่ท่านด้วยมือตนเอง เพราะบุญนั้น วรรณะของดีฉันจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอกแก่ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ดีฉันได้ทำบุญใด เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

ก็ในคำคาถาที่ ๕ เป็นต้นว่า ปุริมาย ชาติยา มนุสฺสโลเก ในชาติก่อนในมนุษยโลก นี้ ชาติศัพท์ใช้ในอรรถว่า สังขตลักษณะ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ชาติ ทฺวีหิ ขนฺเธหิ สงฺคหิตา ชาติจัดเข้ากับขันธ์ ๒. ใช้ในอรรถว่า นิกาย ได้ในบาลีเป็นต้นว่า นิคณฺา นาม สมณชาติ นิกาย [หมู่] สมณะ ชื่อนิครนถ์. ใช้ในอรรถว่า ปฏิสนธิ ได้ในบาลี เป็นต้นว่า ยํ มาตุกุจฺฉิยํ ปมํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ ปมํ วิญฺาณํ ปาตุภูตํ ตทุปาทาย สาวสฺส ชาติ ปฐมจิต ปฐมวิญญาณ อันใด เกิดปรากฏในท้องมารดา ความอาศัยปฐมจิตปฐมวิญญาณอันนั้นเกิดชื่อว่า ชาติ. ใช้ในอรรถว่า ตระกูล ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อกฺขิตฺโต อนุปกฏฺโ ชาติวาเทน เป็นผู้อันเขาไม่คัดค้าน ไม่รังเกียจ โดยกล่าวถึงชาติคือตระกูล. ใช้ในอรรถว่า ประสูติ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า สมฺปติชาโต อานนฺท โพธิสตฺโต ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์เกิดแล้ว ณ เดี๋ยวนี้.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 46

ใช้ในอรรว่า ภพ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า เอกํปิ ชาตึ เทฺวปิ ชาติโย ชาติ [ภพ] ๑ บ้าง ๒ ชาติ [ภพ] บ้าง. แม้ในที่นี้ ชาติศัพท์ พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถว่า ภพอย่างเดียว. เพราะฉะนั้น จึงมีความว่า ในชาติก่อน คือในภพก่อน อธิบายว่า ในอัตภาพก่อนที่ล่วงมาติดต่อกัน ก็คำนี้เป็นตติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถสัตตมีวิภัตติ. บทว่า มนุสฺสโลเก ได้แก่ ภพ คือมนุษยโลก ท่านกล่าวหมายถึงกรุงราชคฤห์. ในที่นี้ท่านประสงค์เอาโอกาสโลก ส่วนสัตวโลกท่านกล่าวด้วยบทว่า มนุสฺเสสุ นี้แล้ว.

บทว่า อทฺทสํ แปลว่า เห็นแล้ว [พบแล้ว]. บทว่า วิรชํ ได้แก่ ชื่อว่า วิรชะ เพราะท่านปราศจากกิเลสดุจธุลีมีราคะเป็นต้นแล้ว. บทว่า ภิกฺขุํ ได้แก่ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะท่านทำลายกิเลสเสียแล้ว. ชื่อว่า วิปปสันนะ เพราะท่านมีจิตผ่องใส เหตุไม่มีความขุ่นมัวด้วยกิเลส ชื่อว่า อนาวิละ เพราะท่านมีความดำริไม่หม่นหมอง. บทต้นๆ ในคำนี้ เป็นคำกล่าวเหตุของบทหลังๆ ว่า เพราะเหตุที่ท่านปราศจากกิเลส ดุจธุลีมีราคะเป็นต้น จึงชื่อว่า ภิกษุ เพราะทำลายกิเลสเสียแล้ว เพราะเหตุที่ทำลายกิเลสเสียแล้ว จึงชื่อว่า วิปปสันนะ เพราะไม่มีความขุ่นมัวด้วยกิเลส ชื่อว่า อนาวิละ เพราะท่านเป็นผู้มีใจผ่องใสแล้ว. หรือว่าบทหลังๆ เป็นคำกล่าวเหตุของบทต้นๆ. ชื่อว่า วิรชะ เพราะประกอบด้วยความไม่อาลัยในคุณเครื่องเป็นภิกษุ. จริงอยู่ ภิกษุเป็นผู้ทำลายกิเลสเสียแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ผ่องใสแล้ว. จริงอยู่ ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีใจผ่องใสแล้ว เพราะไม่มีความขุ่นมัวด้วยกิเลส ชื่อว่า วิปปสันนะ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 47

เพราะเป็นผู้มีความดำริไม่หม่นหมอง อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า วิรชะ เพราะไม่มีกิเลสดุจธุลี คือ ราคะ. กล่าวว่า วิปปสันนะ เพราะไม่มีความขุ่นมัวด้วยโทสะ. กล่าวว่า อนาวิละ เพราะไม่มีความเกลือกกลั้วด้วยโมหะ. กล่าวว่า ภิกษุ เพราะท่านผู้เป็นอย่างนี้ ชื่อว่า ภิกษุโดยปรมัตถ์. คำว่า อทาสหํ ตัดบทว่า อทาสึ อหํ เราได้ถวายแล้ว. บทว่า ปีํ ได้แก่ ตั่งอย่างดี [ภัทรบิฐ] ที่มีอยู่ในสำนักของดีฉัน ในครั้งนั้น. บทว่า ปสนฺนา ได้แก่ มีจิตเลื่อมใส เพราะเชื่อในผลกรรม และเชื่อในพระรัตนตรัย. บทว่า เสหิ ปาณิภิ ความว่า ดีฉันไม่ใช้คนอื่น จัดตั้งที่ควรน้อมเข้าไปด้วยมือของตนถวาย.

ในคาถานั้น เทวดาแสดงเขตสมบัติ ด้วยบทว่า วิรชํ ภิกฺขุํ วิปฺปสนฺนมนาวิลํ นี้. แสดงเจตนาสมบัติ ด้วยบทว่า ปสนฺนา นี้. แสดงประโยคสมบัติ ด้วยบทว่า เสหิ ปาณิภิ นี้. อนึ่ง เทวดาแสดงคุณแห่งทาน ๒ นี้ คือ ถวายโดยเคารพ และถวายใกล้ชิด ด้วยบทว่า ปสนฺนา นี้. แสดงคุณแห่งทาน ๒ นี้ คือ ถวายด้วยมือตนเอง และ ตามเข้าไปถวาย ด้วยบทว่า เสหิ ปาณิภิ นี้. พึงทราบว่า เทวดาแสดงคุณแห่งทาน ๒ นี้ คือ ทำความยำเกรงถวาย ถวายตามกาล เพราะเป็นผู้รู้จักเวลานั่ง ด้วยการลาดผ้าสีเหลือง. คำที่เหลือมีนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลังทั้งนั้น.

จบอรรถกถาตติยปีฐวิมาน