พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ทุททุภายชาดก ว่าด้วยพวกกระต่ายตื่นตูม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35773
อ่าน  401

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 530

๒. ทุททุภายชาดก

ว่าด้วยพวกกระต่ายตื่นตูม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 530

๒. ทุททุภายชาดก (๑)

ว่าด้วยพวกกระต่ายตื่นตูม

[๕๘๖] ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน ข้าพเจ้าอยู่ในประเทศใด ประเทศนั้นทําเสียงว่าทุททุภะแม้ข้าพเจ้าเองก็ไม่รู้เสียงลั่นนั้นว่า อะไรทําให้เกิดเสียงว่าทุททุภะ.

[๕๘๗] กระต่ายได้ยินผลมะตูมสุกหล่นมีเสียงว่า ทุททุภะ ก็วิ่งหนีไป หมู่เนื้อได้ฟังถ้อยคําของกระต่ายแล้ว พากันตกใจวิ่งหนีไปด้วย.

[๕๘๘] ชนเหล่าใดมักเชื่อตามเสียงคนอื่น ยังไม่ทันได้ถึงร่องรอยแห่งวิญญาณเลย ชนเหล่านั้นนับว่าเป็นพาล มีความประมาทเป็นอย่างยิ่ง ดีแต่เชื่อผู้อื่น.

[๕๘๙] ส่วนชนเหล่าใดสมบูรณ์ด้วยศีล ด้วยปัญญา ยินดีในความสงบ ชนเหล่านั้นนับว่าเป็นบัณฑิต งดเว้นความชั่วห่างไกล ย่อมไม่เชื่อคนอื่นเลย.

จบ ทุททุภรยชรดกที่ ๒


(๑) ในบาลีเป็น ทุททุภายชาดก.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 531

อรรถกถาทัทธภายชาดก ที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภพวกอัญญเดียรถีย์ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า ททธภายติภทฺทนฺเต ดังนี้.

ได้ยินว่า เดียรถีย์ทั้งหลายสําเร็จการนอนบนที่นอนหนามเผาทําให้ร้อนห้าประการ ประพฤติมิจฉาตบะมีประการต่างๆ อยู่ในที่นั้น ณ ที่ใกล้พระวิหารเชตวัน ครั้งนั้น ภิกษุมากด้วยกันเที่ยวบิณฑบาต ในนครสาวัตถีแล้วพากันมายังพระวิหารเชตวัน ในระหว่างทาง ได้เห็นเดียรถีย์เหล่านั้น จึงพากันไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญสาระแก่นสารในการสมาทานวัตรของสมณพราหมณ์ผู้เป็นอัญญเดียรถีย์ มีอยู่หรือพระเจ้าข้า? พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แก่นสารหรือความวิเศษในการสมาทานวัตรของพวกอัญญเดียรย์เหล่านั้น ย่อมไม่มีเลย เพราะวัตรนั้น เมื่อเลือกเฟ้นสอบสวนเข้า ก็เป็นเช่นกับทางแห่งภาคพื้นเต็มด้วยหยากเยื่อและเหมือนกระต่ายกลัวเสียงกึกก้อง อันภิกษุเหล่านั้นทูลอ้อนวอนว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายย่อมไม่ทราบความที่วัตรนั้นเป็นเสมือนกระต่ายกลัวเสียงดังกึกก้อง ขอพระองค์จงตรัสบอกเถิด พระเจ้าข้า จึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 532

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกําเนิดราชสีห์ เจริญวัยแล้ว อาศัยอยู่ในป่า. ก็ในครั้งนั้น มีดงตาลปนกับมะตูมอยู่ในที่ใกล้ทะเลด้านทิศตะวันตก. ในดงตาลนั้น มีกระต่ายตัวหนึ่งอยู่ภายใต้กอตาลกอหนึ่งใกล้โคนต้นมะตูม. วันหนึ่ง กระต่ายนั้นเที่ยวหาอาหารแล้วมานอนอยู่ใต้ใบตาล จึงคิดว่า ถ้าแผ่นดินนี้ถล่ม เราจักไปที่ไหนหนอ. ขณะนั้นเอง ผลมะตูมสุกผลหนึ่งหล่นลงบนใบตาล. เพราะเสียงใบตาลนั้นกระต่ายนั้นจึงคิดว่า แผ่นดินถล่มแน่ จึงกระโดดหนีไปไม่เหลียวหลังกระต่ายตัวอื่นเห็นกระต่ายตัวนั้นกลัวภัยคือความตายซึ่งกําลังรีบหนีไป จึงถามว่า แน่ะผู้เจริญ ท่านกลัวอะไรเหลือเกินจึงหนีมา กระต่ายนั้นกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ อย่ามัวถามเลย. กระต่ายนั้นวิ่งตามไปข้างหลังพร้อมกับร้องถามว่า ผู้เจริญ ท่านกลัวอะไรหรือ. กระต่ายนอกนี้ไม่เหลียวมามองเลยกล่าวว่า แผ่นดินถล่มที่นั้น. แม้กระต่ายตัวนั้นก็วิ่งตามหลังกระต่ายตัวที่บอกนั้นไป. เมื่อเป็นอย่างนั้น กระต่ายตัวอื่นได้เห็นดังนั้นก็วิ่งตามๆ กันไป รวมความว่า กระต่ายตั้งพันตัวร่วมกันหนีไป. มฤคแม้พวกหนึ่ง เห็นกระต่ายเหล่านั้นก็ร่วมหนีไปด้วย.สุกรพวกหนึ่ง ระมาดพวกหนึ่ง กระบือพวกหนึ่ง โคพวกหนึ่ง แรดพวกหนึ่ง พยัคฆ์พวกหนึ่ง สีหะพวกหนึ่ง ช้างพวกหนึ่ง เห็นเข้าก็ถามว่า นี่อะไรกัน เมื่อสัตว์เหล่านั้นกล่าวว่า ที่นั่น แผ่นดินถล่มจึงหนีไปด้วย. เนื้อที่ประมาณโยชน์หนึ่ง ได้มีหมู่พวกสัตว์ดิรัจฉาน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 533

ขึ้นโดยลําดับ ด้วยอาการอย่างนี้. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เห็นพวกสัตว์นั้นกําลังหนีอยู่จึงถามว่านี่อะไรกัน ครั้นได้ฟังว่า ที่นั่น แผ่นดินเล่ม จึงคิดว่า ธรรมดาแผ่นดินถล่ม ย่อมไม่มีในกาลไหนๆ สัตว์เหล่านั้นจักเห็นอะไรบางอย่างเป็นแน่ ก็เมื่อเราไม่ช่วยขวนขวายสัตว์ทั้งปวงจักพินาศฉิบหาย เราจักให้ชีวิตแก่สัตว์เหล่านั้น ครั้นคิดแล้ว จึงล่วงหน้าไปยังเชิงเขาด้วยกําลังราชสีห์ แล้วบันลือสีหนาทขึ้น๓ ครั้ง ณ เชิงภูเขานั้น. สัตว์เหล่านั้นถูกความกลัวราชสีห์คุกคามจึงได้หันกลับมายืนเป็นกลุ่มกันโดยถามกันว่า อะไรกัน. ราชสีห์ได้เข้าไปในระหว่างสัตว์เหล่านั้นแล้วถามว่า พวกท่านหนีเพื่ออะไรกัน?สัตว์เหล่านั้นกล่าวว่า แผ่นดินถล่ม. ราชสีห์ถามว่า ใครเห็นแผ่นดินถล่ม? สัตว์เหล่านั้นกล่าวว่า ช้างรู้. ราชสีห์จึงถามช้าง เป็นต้นไป.ช้างเหล่านั้นกล่าวว่า พวกข้าพเจ้าไม่รู้ พวกสีหะรู้. แม้สีหะทั้งหลายก็กล่าวว่า พวกข้าพเจ้าไม่รู้ พยัคฆ์ทั้งหลายรู้. แม้พยัคฆ์ทั้งหลายก็กล่าวว่า พวกข้าพเจ้าไม่รู้ แรดทั้งหลายรู้. แม้แรดทั้งหลายก็กล่าวว่าพวกโครู้. แม้พวกโคก็กล่าวว่า กระบือทั้งหลายรู้. แม้กระบือทั้งหลายก็กล่าวว่า พวกโคลานรู้. แม้โคลานทั้งหลายก็กล่าวว่า พวกสุกรรู้.แม้สุกรทั้งหลายก็กล่าวว่า พวกมฤครู้. ฝ่ายพวกมฤคก็กล่าวว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายไม่รู้ พวกกระต่ายรู้. เมื่อพวกกระต่ายถูกถาม กระต่ายทั้งหลายจึงแสดงกระต่ายตัวนั้นว่า กระต่ายตัวนี้พูด. ลําดับนั้น ราชสีห์จึงถามกระต่ายตัวนั้นว่า สหาย ได้ยินว่าท่านเห็นอย่างนั้นหรือว่า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 534

แผ่นดินถล่ม. กระต่ายนั้นกล่าวว่า จ้ะนาย ข้าพเจ้าเห็น ราชสีห์ถามว่า ท่านอยู่ที่ไหนจึงได้เห็น? กระต่ายนั้นกล่าวว่า ข้าพเจ้าอยู่ในดงตาลมีต้นมะตูมเจือปน ณ ที่ใกล้ทะเลด้านทิศตะวันตก ด้วยว่า ข้าพเจ้านอนอยู่ใต้ใบตาลในกอตาล ใกล้โคนต้นมะตูม ในดงตาลนั้น คิดอยู่ว่า ถ้าแผ่นดินถล่ม เราจักไปที่ไหน ครั้นในขณะนั้นเอง ข้าพเจ้าได้ยินเสียงแผ่นดินถล่ม จึงได้หนีไป. ราชสีห์คิดว่า ผลมะตูมสุกบนใบตาลนั้น ตกลงมาทําเสียงดังกึกก้องเป็นแน่ กระต่ายนี้ได้ยินเสียงนั้นจึงทําความสําคัญให้เกิดขึ้นว่า แผ่นดินถล่ม จึงได้หนีไป เราจักตรวดดูให้รู้โดยถ่องแท้. ราชสีห์นั้นจึงยึดเอากระต่ายนั้นไว้ปลอบโยนหมู่สัตว์ให้เบาใจแล้วกล่าวว่า เราจักรู้แผ่นดินตรงที่กระต่ายนี้เห็นจะถล่มหรือไม่ถล่ม โดยถ่องแท้แล้วจะกลับมา พวกท่านจงอยู่ในที่นี้จนกว่าเราจะมา แล้วยกกระต่ายขึ้นบนหลังแล่นไปด้วยกําลังราชสีห์วางกระต่ายลงที่ดงตาลแล้วกล่าวว่า มาซิ ท่านจงแสดงที่ที่ท่านเห็น.กระต่ายกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่อาจจ้ะนาย. ราชสีห์กล่าวว่า มาเถิดท่านอย่ากลัวเลย. กระต่ายนั้นไม่อาจเข้าไปใกล้ต้นมะตูม จึงยินอยู่ในที่ไม่ไกลแล้วกล่าวว่า นาย นี้เป็นที่ที่มีเสียงดังกึกก้อง แล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า:-

ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน ข้าพเจ้าอยู่ในประเทศใด ประเทศนั้นกระทําเสียงดังกึกก้อง ข้าพเจ้าไม่รู้จักเสียงกึกก้องนั้น ว่า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 535

เสียงกึกก้องนั้นเป็นเสียงอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ททฺธภายติ แปลว่า กระทําเสียงว่า ทัทธภะ คือดังกึกก้อง. บทว่า ภทฺทนฺเต ความว่า ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน. บทว่า กิเมตํ ความว่า ในประเทศที่ข้าพเจ้าอยู่ มีเสียงดังกึกก้อง แม้ข้าพเจ้าก็ไม่รู้ว่า เสียงกึกก้องนี้เป็นอะไรหรือเพราะเหตุไร จึงมีเสียงดังกึกก้อง ข้าพเจ้าได้ยินแต่เสียงดังกึกก้องอย่างเดียว.

เมื่อกระต่ายกล่าวอย่างนี้แล้ว ราชสีห์จึงไปยังโคนต้นมะตูมเห็นที่ที่กระต่ายนอน ณ ภายใต้ใบตาล และผลมะตูมสุกที่หล่นลงเหนือใบตาล รู้ว่าแผ่นดินไม่ถล่มโดยถ่องแท้แล้ว จึงยกกระต่ายขึ้นหลัง ไปยังสํานักของหมู่มฤคโดยฉับพลัน ด้วยกําลังเร็วแห่งราชสีห์บอกความเป็นไปทั้งปวงแล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายอย่ากลัวเลย ทําหมู่มฤคให้เบาใจแล้วปล่อยให้ไป. ก็ถ้าในกาลนั้น จะไม่พึงมีพระโพธิ-สัตว์ไซร้ สัตว์ทั้งปวงก็จะวิ่งลงสู่ทะเลพากันพินาศไป แต่เพราะอาศัยพระโพธิสัตว์ สัตว์ทั้งปวงจึงได้ชีวิตเป็นอยู่แล.

มีอภิสัมพุทธคาถา ๓ คาถานี้ว่า :-

กระต่ายได้ยินมะตูมสุกหล่นเสียงดังครึนก็วิ่งหนีไป หมู่เนื้อได้ฟังถ้อยคําของกระต่ายแล้วพากันตกใจ วิ่งหนีไปด้วย.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 536

คนเขลาเหล่านั้น ยังไม่ทันถึงวิญญาณ-บท คือทางแห่งวิญญาณความรู้แจ้ง มักเชื่อตามเสียงผู้อื่น ถือการเล่าลือเป็นสําคัญจึงเป็นผู้เชื่อต่อคนอื่น.

ส่วนชนเหล่าใดสมบูรณ์ด้วยศีล ยินดีในความสงบระงับด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นนับว่าเป็นปราชญ์ งดเว้นความชั่วห่างไลย่อมไม่เชื่อต่อผู้อื่น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวลุวํ ได้แก่ ผลมะตูมสุก. บทว่าททฺธภํ ได้แก่ กระทําเสียงอย่างนั้นว่า สนฺตตฺตา ได้แก่สะดุ้งกลัว. บทว่า มิควาหินี ได้แก่ หมู่เนื้อ คือ มฤคเสนานับได้หลายพัน. บทว่า ปทวิฺาณํ ความว่า ยังไม่บรรลุถึงวิญญาณบทคือ โกฏฐาสแห่งโสตวิญญาณ. บทว่า เต โหนฺติปรปตฺติยาความว่าอันธพาลปุถุชนเหล่านั้นคล้อยตามเสียงคนอื่น สําคัญการเล่าลือ กล่าวคือเสียงของคนอื่นนั้นเท่านั้นว่าเป็นสําคัญ จึงเป็นผู้เชื่อต่อคนอื่นเท่านั้น เพราะยังไม่ถึงวิญญาณบท ทางแห่งความรู้แจ้ง คือเชื่อถ้อยคําของผู้อื่นแล้วกระทําตามๆ ไป. บทว่า สีเลน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยศีลอันมาโดยอริยมรรค. บทว่า ปฺายุปสเม รตา ความว่ายินดีในความสงบ ระงับกิเลสด้วยปัญญาอันมาด้วยมรรคเหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 537

ความอธิบายดังนี้ก็มีว่า ประกอบแม้ด้วยปัญญา เหมือนประกอบด้วยศีลยินดีในความสงบกิเลส. บทว่า อารกา วิรตา ธีรา ความว่า เป็นบัณฑิตงดเว้นห่างไกลจากการทําบาป บทว่า น โหนฺติ ความว่า ชนเหล่านั้น คือเห็นปานนั้น เป็นพระโสดาบัน มีธรรมอันรู้แจ้งแล้วด้วยมรรคญาณ วาระเดียว โดยความเป็นผู้งดเว้นจากบาป และยินดีในการสงบกิเลส ย่อมไม่เชื่อถือแม้ต่อผู้อื่นที่กล่าวอยู่. เพราะเหตุไร?เพราะประจักษ์ชัดต่อตนเอง. ด้วยเหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า :-

นรชนใด ไม่เชื่อคุณอันตนรู้แล้วด้วยถ้อยคําของผู้อื่น รู้จักพระนิพพานอันปัจจัยอะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว และตัดที่ต่อคือวัฏสงสารขาดแล้ว กําจัดโอกาสคือภพได้แล้ว มีความหวังอันคายแล้ว นรชนนั้นแลชื่อว่าเป็นอุดมบุรุษ ดังนี้.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า ราชสีห์ในครั้งนั้น คือเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาทัทธภายชาดกที่ ๒