อรรถกถามหาปรินิพพานสูตร [มารทูลขอให้ปรินิพพาน]

 
มศพ.
วันที่  12 ต.ค. 2557
หมายเลข  25633
อ่าน  1,520

[เล่มที่ 13] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๙๐

ชื่อว่า มารในคำว่า มาโร ปาปิมา นี้ ชื่อว่ามาร เพราะประกอบสัตว์ไว้ในความพินาศทำให้ตาย

บทว่า ปาปิมา เป็นไวพจน์ (คำ) ของคำว่า มารนั้นนั่นเอง. จริงอยู่ มารนั้น ท่านเรียกว่า มารเพราะประกอบด้วยบาปธรรม แม้คำว่า กัณหะ อันตกะ นมุจิ ปมัตตพันธุ ก็เป็นชื่อของมารนั้นเหมือนกัน.

บทว่า ภาสิตา โข ปเนสา ความว่า ก็มารนี้ ติดตามมาที่โพธิมัณฑสถาน ในสัปดาห์ที่ ๘ นับแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบรรลุประโยชน์ของพระองค์ ที่พระองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมีมาโดยลำดับแล้ว ทรงแทงตลอดพระสัมพุทธญาณแล้ว พระองค์จะทรงตรวจดูโลกไปทำไม จึงทูลวิงวอนว่า บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดปรินิพพานเสีย เหมือนในวันนี้พระเจ้าข้า แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปฏิเสธแก่มารนั้นว่า เราจะไม่ปรินิพพานก่อนดังนี้เป็นต้น. มารหมายเอาข้อนั้นจึงกล่าวว่า ภาสิตา โข ปเนสา ภนฺเต เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิยตฺตา ได้แก่ฉลาดโดยมรรค. ภิกษุทั้งหลายถูกแนะนำอย่างนั้นเหมือนกัน แกล้วกล้า ก็อย่างนั้น

บทว่า พหุสฺสุตา ชื่อว่า พหูสูต เพราะมีสุตะมาก โดยพระไตรปิฎก. ชื่อว่า ธรรมธร เพราะทรงธรรมนั่นแล. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความในข้อนี้อย่างนี้ว่า เป็นพหูสูต โดยประยัติ ๑ เป็นพหุสูตโดยปฏเสธ ๑ ชื่อว่า ธรรมธร เพราะทรงธรรม คือ ปริยัติและปฏิเวธนั่นแล. บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺนา ได้แก่ ปฏิบัติวิปัสสนาธรรม อันสมควรแก่อริยธรรม.

บทว่า สามีจิปฏิปนฺนา ได้แก่ ปฏิบัติปฏิปทาอันเหมาะ.

บทว่า อนุธมฺมจาริโน แปลว่า มีปกติประพฤติธรรมอันสมควร.

บทว่า สกํ อาจริยกํ ได้แก่ วาทะอาจารย์ของตน. คำทั้งหมดมีว่า อาจิกฺขนฺติ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของกันและกัน.

บทว่า สห ธมฺเนน ได้แก่ ถ้อยคำอันมีเหตุมีการณ์.

บทว่า สปฺปาฏิหาริยํ ความว่า จักแสดงธรรม จนถึงธรรมอันนำสัตว์ออกจากทุกข์.

บทว่า พฺรหฺมจริยํ ได้แก่ ศาสนพรหมจรรย์ทั้งสิ้น อันสงเคราะห์ด้วยสิกขา ๓.

บทว่า อิทฺธํ ได้แก่ สำเร็จด้วยอำนาจฌานเป็นต้น.

บทว่า ผีตํ ได้แก่ ถึงความเจริญโดยถึงพร้อมด้วยอภิญญา เหมือนดอกไม้ที่บานเต็มที่แล้วเป็นต้น.

บทว่า วิตฺถาริกํ ความว่า ได้แก่ แผ่ไปโดยประดิษฐานอยู่ในทิสาภาคนั้นๆ

บทว่า พาหุชญฺญํ ได้แก่ ชนเป็นอันมากรู้แจ้งแทงตลอดโดยตรัสรู้ของมหาชน.

บทว่า ปถุภูตํ ได้แก่ ถึงความแน่นหนาโดยอาการทั้งปวง. แน่นหนาอย่างไร แน่นหนาจนกว่าเทพยดาและมนุษย์ประกาศด้วยดีแล้ว อธิบายว่า เทวดาและมนุษย์ผู้เป็นวิญญูชนมีอยู่ประมาณเพียงไร เทวดาและมนุษย์ทั้งหมดนั้นประกาศดีแล้ว.

บทว่า อปฺโปสฺสุกฺโก ได้แก่ ปราศจากความอาลัย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป ตั้งแต่สัปดาห์ที่ ๘ ท่านเทียวไปเทียวมาร่ำร้องว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานเสียบัดนี้เถิด พระเจ้าข้า บัดนี้ ตั้งแต่วันนี้ไป ท่านจงเลิกอุตสาหะ อย่าพยายามให้เราปรินิพพานเลย

บทว่า สโต สมฺปชาโน อายุสงฺขารํ โอสฺสชฺชิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำสติตั้งมั่นด้วยดี กำหนดด้วยพระญาณ ปลงสละอายุสังขาร ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงปลงอายุสังขาร เหมือนเอามือทิ้งก้อนดิน ทรงเกิดจิตคิดว่า จักทรงเข้าสมาบัติไม่ขาดระยะเพียง ๓ เดือนเท่านั้น ต่อแต่นั้นจักไม่เข้า. ท่านหมายเอาข้อนั้น จึงกล่าวว่า โอสฺสชฺชิปาฐะว่า อุสฺสชฺชิ ดังนี้ก็มี

บทว่า มหาภูมิจาโล ได้แก่ มหาปฐพีหวั่นไหว. ได้ยินว่าครั้งนั้น หมื่นโลกธาตุก็หวั่นไหว. บทว่า ภึสนโก ได้แก่เกิดความน่ากลัว

บทว่า เทวทุนฺทภิโยว ผลึสุ ได้แก่ เหล่ากองทิพย์ก็บันลือลั่น เมฆฝนก็กระหึ่ม ครึมครางดั่งฤดูแล้ง สายฟ้ามิใช่ฤดูกาลก็แลบแปลบปลาบ. ท่านอธิบายว่า ฝนตกชั่วขณะ ในคำว่า อุทานํ อุทาเนสิ ถามว่า ทรงอุทานเพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะได้ยินว่า ชื่อว่าใครๆ จะพึงพูดว่า พระผู้มีพระภาคเข้า ถูกมารติดตามไปข้างหลังๆ อ้อนวอนรบกวนว่า โปรดปรินิพพานเถิด พระเจ้าข้าๆ ทรงปลงอายุสังขารเพราะกลัว จึงทรงเปล่งพระอุทานที่เปล่งด้วยกำลังปีติ เพื่อแสดงความข้อนี้ว่า ชื่อว่าคำอุทานย่อมไม่มีแก่ผู้กลัวว่า ขอมารอย่ามีโอกาสเลย ในอุทานนั้น ชื่อว่า ตุละ เพราะชั่งกำหนดโดยภาวะที่ประจักษ์ของสัตว์ มีสุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอกเป็นต้นทั้งหมด. กรรมที่ชั่งได้นั้นเป็นอย่างไร ได้แก่ กรรมฝ่ายกามาวจร. ชื่อว่า ตุละ เพราะชั่งไม่ได้. หรือ โลกิยกรรมอย่างอื่นที่เทียม ที่เหมือนกับกามาวจรกรรมนั้น ไม่มี. กรรมที่ชั่งไม่ได้นั้นเป็นอย่างไร ได้แก่ กรรมฝ่ายมหัคคตะ อีกอย่างหนึ่ง กามาวจรกรรม รูปาวจรกรรม จัดเป็นตุละ อรูปาวจรกรรม จัดเป็นอตุละ. อีกอย่างหนึ่งกรรมที่มีวิบากน้อย ชื่อว่า ตุละ ที่มีวิบากมาก ชื่อว่า อตุละ.

บทว่า สมฺภวํ ได้แก่กรรมที่กระทำเป็นก้อน อธิบายว่า กระทำเป็นกองอันเป็นเหตุเกิด.

บทว่า ภวสงฺขารํ ได้แก่ กรรมที่แต่งภพใหม่. บทว่า อวสฺสชฺชิ ได้แก่ ปลง. บทว่า มุนี ได้แก่พระมุนี คือ พระพุทธเจ้า

บทว่า อชฺฌตฺตรโต คือ ยินดีภายในแน่นอน.

บทว่า สมาหิโต คือ ตั้งมั่นแล้ว ด้วยอุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ.

บทว่า อภินฺทิ กวจมิว ได้แก่ทำลายกิเลส ดุจเกาะ.

บทว่า อตฺตสมฺภวํ ได้แก่กิเลสที่เกิดแล้วในตน. ท่านอธิบายไว้ว่า พระมุนีทรงปลดปล่อยโลกิยกรรม กล่าวคือตุลกรรมและอตุลกรรม ที่ได้ชื่อว่า สัมภวะ เพราะอรรถว่ามีวิบาก ว่าภวสังขาร เพราะอรรถว่า ปรุงแต่งภพและทรงยินดีภายใน ตั้งมั่นแล้ว ทำลายกิเลสที่เกิดในตน เหมือนนักรบใหญ่ในสนามรบทำลายเกาะฉะนั้น.

อีกนัยหนึ่ง บทว่า ตุลํ ได้แก่ ชั่งคือ พิจารณา.

บทว่า อตุลญฺจ สมฺภวํ ได้แก่ พระนิพพานและภพ.

บทว่า ภวสงฺขารํ ได้แก่กรรมที่ไปสู่ภพ.

บทว่า อวสฺสชฺชิ มุนี ความว่า พระมุนีคือพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาโดยนัยเป็นอาทิว่า ปัญจขันธ์ไม่เที่ยง ความดับปัญจขันธ์คือ นิพพานเป็นของเที่ยงแล้ว ทรงเห็นโทษในภพ และอานิสงส์ในนิพพานแล้วทรงปลดปล่อยด้วยอริยมรรค อันกระทำความสิ้นกรรมที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า กรรมเครื่องปรุงแต่งภพ อันเป็นมูลแห่งขันธ์ทั้งหลายนั้น เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมดังนี้.

พระองค์ทรงยินดีในภายใน ตั้งมั่นแล้ว ทรงทำลายกิเลสที่เกิดในตน เหมือน เกราะได้อย่างไร. ความจริง พระมุนีนั้น ทรงยินดีในภายใน ด้วยอำนาจ วิปัสสนา ทรงตั้งมั่นด้วยอำนาจสมถะ รวมความว่า พระองค์ทรงทำลายข่าย คือกิเลสทั้งหมด ที่ตั้งรึงรัดอัตภาพดุจเกราะ ที่ได้ชื่อว่า อัตตสัมภวะ เพราะ เกิดในตนด้วยกำลังสมถะและวิปัสสนา ตั้งแต่เบื้องต้น และละกรรมด้วยการ ละกิเลสอย่างนี้ว่า กรรมที่ทำโดยไม่มีกิเลส ชื่อว่ายังเหลืออยู่ เพราะไม่มีปฏิสนธิ. พึงทราบว่า ชื่อว่าความกลัวของผู้ละกิเลสได้แล้วไม่มี เพราะฉะนั้น พระมุนีไม่ ทรงกลัวแล้ว จึงทรงปลงอายุสังขาร เพราะเหตุนั้น จึงทรงเปล่งอุทาน เพื่อ ให้รู้ว่าไม่ทรงกลัว


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 28 ต.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
สิริพรรณ
วันที่ 4 ก.ค. 2558

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 12 มิ.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 12 มิ.ย. 2564

ขอเชิญอ่านเพิ่มเติม...

มหาปรินิพพานสูตร

ขอเชิญรับฟัง...

มหาปรินิพพานสูตร

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ