จะฝึก เจโตปริยญาณ ยังไงครับ

 
น้ำพริกปลาทู
วันที่  10 ก.ย. 2554
หมายเลข  19695
อ่าน  23,094

อยากรู้จิตคนอื่น และสัตว์ทั้งหลายได้ รวมไปถึง วิญญาณทั้งหลาย

ขอบคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 10 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย เจโตปริยญาณ คือ ปัญญาที่สามารถรู้จิตใจของผู้อื่น ว่าจิตใจของผู้นั้นคิดอะไร จิต

ของผู้นั้นเป็นกุศล หรือ อกุศล ประกอบด้วยกิเลส หรือไม่ประกอบด้วยกิเลส ซึ่งการจะ

ได้เจโตปริยญาณ ก็ด้วยการเจริญสมถภาวนา จนถึงขั้นสูงสุดได้ฌานสูงสุด แต่ก็ไม่

สามารถดับกิเลสได้ และยังมีอบายภูมิเป็นที่หวังได้อยู่ สำหรับผู้ที่เจริญเจโตปริยญาณ

ประโยชน์จริงๆ จึงไมไ่ด้อยู่การรู้ใจผู้อื่นได้ ว่าใจของผู้นั้นคิดอย่างไร เพราะในสัจจะ

ความจริง เมื่อไม่ได้เจริญหนทางดับกิเลส คือ การเจริญวิปัสสนา ก็ไม่ได้รู้ใจของตนเอง

ตามความเป็นจริง เพราะไม่ได้รู้ว่าขณะนั้นเป็นธรรมไม่ใช่เรา เมือ่ไม่ไ่ด้รู้ความจริงอย่าง

นั้นก็ไม่สามารถดับกิเลสได้ครับ พระพุทธองค์จึงแสดงหนทางที่ประเสริฐให้สัตว์โลกละ

กิเลสได้ด้วยการเจริญวิปัสสนาที่ไม่ใช่การรู้ใจของผู้อื่นที่เป็นเจโตปริยญาณครับ ดังนั้น

เมื่ออยากต้องการจะรู้ใจ แต่เหตุที่จะได้ยากมากครับ จึงไม่ใช่ฐานะเพราะต้องเจริญฌาน

สูงสุดคล่องแคล่วและแม้ได้แล้วก็ไม่สามารถดับกิเลสได้ จึงควรเห็นประโยชน์ของการรู้

จิตใจของตนเองตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรมมไม่ใข่เราครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 10 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพระบารมีมาตลอดระยะเวลาสี่อสงไขยแสนกัปป์ เพื่อจะได้ตรัสรู้และทรงแสดงธรรมเกื้อกูลแก่สัตว์โลกให้ได้หลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง พระองค์ทรงแสดงพระธรรม เพื่อให้ผู้ฟังได้พิจารณาไตร่ตรองในเหตุในผล สะสมเป็นความเข้าใจถูกเห็นถูกของผู้ฟังเอง ซึ่งกิจที่ทุกคนควรทำอย่างยิ่ง คือ ฟังพระธรรมให้เข้าใจ เป็นปัญญาของตนเอง สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ การรู้ใจคนอื่น (ซึ่งเป็นเรื่องที่รู้ได้ยาก) ไม่สำคัญเท่ากับการรู้ใจตัวเอง ว่าสะสมอะไรมามากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะกิเลส สะสมมามากเหลือเกิน เพื่อประโยชน์แก่การขัดเกลาละคลายให้เบาบางลงจนกระทั่งสามารถดับได้อย่างหมดสิ้นในที่สุด

หนทางที่ถูก ที่เป็นไปเพื่อการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลส คือ อะไร นั่นก็คือ การอบรมเจริญปัญญา ส่วนการจะดำเนินตามทางดังกล่าวหรือไม่นั้น ก็เรื่องของแต่ละบุคคลจริงๆ ถ้าเป็นผู้ดำเนินตามทางดังกล่าว ผลก็คือ สามารถไปถึงการดับกิเลสทั้งหลายทั้งปวงได้ในที่สุด แต่ต้องอาศัยกาลเวลาอันยาวนานในการอบรมเจริญปัญญา ไม่ใช่เพียงแค่ชาตินี้ชาติเดียวเท่านั้น แต่ในทางตรงกันข้าม ถึงแม้พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงหนทางที่ถูกต้องแล้ว แต่บุคคลนั้นไม่ดำเนินตามทางดังกล่าว ก็ย่อมเป็นผู้ไม่ได้รับประโยชน์จากพระธรรม ไม่เข้าใจความจริง และไม่สามารถออกไปจากวัฏฏะ ไม่สามารถพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้เลย ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
kinder
วันที่ 10 ก.ย. 2554
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
govit2553
วันที่ 11 ก.ย. 2554

เจโตปริจจสูตรว่าด้วยการกำหนดรู้ใจผู้อื่น[๑๒๘๙] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่า จิตมีราคะ ฯลฯ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า จิตหลุดพ้น เพราะได้เจริญได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๔

ขอเรียนถาม ครับว่า สติปัฏฐาน4 น่าจะไม่ใช่สมถภาวนา

แต่ทำไม สามารถมีฤทธิ์ คือมี รู้วาระใจผู้อื่น และฤทธิ์ อื่นๆ อีกครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 11 ก.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 4 ครับ

สำหรับในสูตรนี้และในวรรคนี้ แสดงถึงเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน 4 ย่อมนำมาซึ่ง

มหาอภิญญา อภิญญาใหญ่ มีออภิญญา 6 ครับ ซึ่งเป็นคุณธรรมของพระอริยสาวกผู้

เลิศแช่น พระอนุรุทธะ ซึ่งท่านเจริญสติปัฏฐาน 4 ควบคู่กับการเจริญสมถภาวนาด้วย

ครับ ดังนั้นเพราะท่านเจริญสติปัฏฐาน 4 ทำให้มาก ก็ทำให้ท่านได้มหาอภิญญา พร้อม

กับการได้ฤทธิ์ ได้ทิพจักษุและได้ เจโตปริยญาณด้วยครับ สามารถรู้ใจผู้อื่นด้วย ดังนั้น

เพราะเจริญสติปัฏบาน 4 และละไว้ คือ เจริญสมถภาวนาด้วย ท่านถึงได้มหาอภิญญา

ได้การรู้ใจผู้อื่นด้วยครับ แต่สำหรับผู้ที่เป็นพระอรหันตสุกขวิปัสสก ที่เจริญสติปัฏฐาน 4

อย่างเดียว ไมไ่ด้เจริญสมถภาวนา ก็ไม่ได้มหาอภิญญา และไมไ่ด้การรู้ใจของผู้อื่น ดับ

กิเลสได้อย่างเดียวครับ แม้จะเจริญสติปัฏฐาน 4 ครับ ดังนั้นในสูตรนี้และสูตรก่อนๆ

ของวรรคนี้ แสดงถึงการเจริญสติปัฏฐาน นำมาซึ่งมหาอภิญญาและละไว้ในฐานทีเข้า

ใจคือ เจริญสมถภาวนาด้วยครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
oj.simon
วันที่ 12 ก.ย. 2554
ขออนุโมทนาอาจารย์ทุกท่านครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ