ความเห็นว่าสวย หรืองาม

 
WS202398
วันที่  8 ธ.ค. 2552
หมายเลข  14541
อ่าน  3,853

เหตุใดคนที่ได้เห็นศพเป็นประจำ หรือคนที่ผ่าตัดต่างๆ เห็นส่วนประกอบต่างๆ มีไม่น่าดูมากมาย แล้วก็ยังมีความเห็นว่าสวยงามอยู่ น่ารักน่าพอใจ ต่างกันการเจริญอสุภกรรมฐานอย่างไร ให้ผลต่างกันอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prachern.s
วันที่ 9 ธ.ค. 2552

การเห็นสิ่งต่างๆ ว่า สวย งาม เป็น ขณะนั้นเป็นโลภะ โลภะเป็นสังขารขันธ์ ขณะที่โลภะเกิดขึ้นก็มี เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ เกิดพร้อมกันเมื่ออบรมเจริญปัญญารู้แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง จนบรรลุเป็นพระอนาคามีความเห็นว่างามก็จะดับได้ ผู้ที่เห็นซากศพ แม้จะทำการผ่าตัดเนืองๆ แต่จิตเป็นอกุศลเพราะยังมีกิเลส เพราะไม่พิจารณาโดยแยบคาย จึงยังเห็นกายว่างามอยู่ ส่วนผู้ที่เจริญอสุภกรรมฐานเนืองๆ เพราะพิจารณากายโดยแยบคาย จึงเห็นกายตามความเป็นจริงว่าไม่งาม

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
WS202398
วันที่ 9 ธ.ค. 2552

ความเห็นว่างามนี้สร้างความเดือดร้อนไม่น้อยเลย ถ้าลดละได้จะมีความสุขมากขึ้น ปัญหาลดลงได้มาก สำหรับผมมันละเอียดมากจับตัวได้อยากกว่าความโกรธ เหมือนความโกรธพอสอดส่อง ก็พอจะเห็นตัว แต่่ความเห็นว่างามนี้ พอจะละ ก็ละได้ยาก ควานหาตัวไม่พบ มีสภาพเหมือนไฟที่สุมอยู่ภายใน ลุกโพลงบ้าง รุมๆ ใต้เถ้าบ้าง รอเวลาลุกโพลงเมื่อได้เชื้อไฟ และปัจจุบันการโหมค้าความงามก็เหมือนโหมกองไฟ ให้ร้อนแรง

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
สิ่งสมมุติ
วันที่ 9 ธ.ค. 2552

แต่อสุภกรรมฐาน ถ้าเลิกทำเมื่อไหร่ ก็มีโอกาสกลับไปเห็นว่าสวยงามได้อยู่เหมือนเดิมไม่ใช่หรือครับ?

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prachern.s
วันที่ 9 ธ.ค. 2552

ถ้าไม่เจริญอสุภะต่อเนื่องกัน สุภะก็แทนที่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 9 ธ.ค. 2552

ความสวยงามเป็นเพียงแค่สิ่งที่ฉาบทา แค่ถลกหนังออกมา ก็ดูไม่ได้แล้วค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
คุณ
วันที่ 10 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
สิ่งสมมุติ
วันที่ 10 ธ.ค. 2552

ตอบตามความเข้าใจนะครับ โปรดใช้กาลามสูตรในการพิจารณา ครับ วิธีอื่นนอกจากมานั่งพิจารณาแล้ว ก็คือการเจริญสติปัฏฐาน ๔ จนมองเห็นความเป็นจริงได้ ด้วยจิตครับ จิตตามจิตทัน เห็นจิต รู้เท่าทัน พบว่าไม่มีอะไรเป็นตัวเป็นตน เกิดภาวนามยปัญญา (ไม่ใช่ที่เกิดจากการคิดนะครับ ปัญญาที่เกิดจากการคิดก็ต้องมา นั่งคิดจริงๆ คิดไม่ทันก็หลุดได้) จะไม่กลับมาเห็นความสวยงามอีกครับ ปิดประตูราคะไปเลย (ถ้าถึงระดับอนาคามี) ไม่ต้องมานั่งดับด้วย อสุภนิมิต เป็นครั้งๆ ไป หรือคอยทำมากๆ ไว้ อีกด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 10 ธ.ค. 2552

สังขารขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี เช่น โลภะ โทสะ โมหะ เป็นสังขาร ขันธ์ เป็นอกุศล ศรัทธา หิริ ฯลฯ เป็นสังขาร ขันธ์ เป็นกุศล ต้องอาศัยการศึกษาธรรมะจนกว่าจะรู้ตามความเป็นจริงว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ups
วันที่ 10 ธ.ค. 2552

โลภะ เป็นดังเพื่อนสนิท ถ้ายังเป็นปุถุชนอยู่ (ผมก็มีและยังแยะอยู่) พยายามต่อไปครับ ขณะนี้ถือว่าดีแล้วที่รู้ว่ามี เพื่อนสนิท (โลภะ)

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
สามารถ
วันที่ 11 ธ.ค. 2552

ผมมีความเห็นอย่างนี้ครับว่า

ความจริงมีอยู่และคงสัจจะของความจริงนั้นๆ อยู่อย่างนั้นสิ่งที่ไม่งาม สกปรก ไม่น่ายินดี มีความเสื่อมอยู่เบื้องหน้า ย่อมไม่งาม สกปรก ไม่น่ายินดี มีความเสื่อมอยู่เบื้องหน้า อยู่อย่างนั้นเหลือเพียงแต่ว่าปัญญาจะสามารถเข้าถึงความจริงในสิ่งนั้นมากน้อยเพียงใด เมื่อเข้าถึงย่อมประกาศตามความเป็นจริงถึงลักษณะที่แท้จริงในสิ่งนั้นได้นอกเหนือจากนี้ หากเป็นมีความเห็นว่า สิ่งที่ไม่งาม สกปรก ไม่น่ายินดี มีความเสื่อมอยู่เบื้องหน้า เป็นสิ่งที่งาม สะอาด น่ายินดี เป็นสิ่งที่มีความรุ่งเรืองอยู่อย่างมั่นคง ย่อมเป็นความเห็นผิดความจริงมีอยู่อย่างนั้น อย่างไร ปัญญาเท่านั้นที่มองเห็น นอกนั้นคือความเห็นผิดร่างกายไม่น่ายินดีอย่างไร ปัญญาเท่านั้นที่มองเห็น นอกเหนือนนั้นคือความเห็นผิดทั้งหมด

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2552

สงสัยค่ะ ผู้ที่ผ่านการเจริญอสุภะ จนจิตมั่นคงไม่หลงยินดียินร้ายแล้ว ว่า ทันทีที่เห็นรูปสวยงาม จะมองเห็น (มีสัมมาทิฏฐิ) ทันทีเลยหรือเปล่าคะว่า เป็น อสุภะ หรือว่า ต้องเห็นก่อนว่า สิ่งนั้นมีความสวยงาม (จริง..ถ้านึกเปรียบเทียบกับสิ่งที่ไม่งาม) เกิดความยินดีพอใจในรูป (ดูแล้วสบายตา) แต่เมื่อสติเกิดมีปัญญา ก็จะรู้ได้ว่า สิ่งนั้นเป็นเพียงรูป ซึ่งเนื้อแท้คือ สิ่งไม่สวยงาม ไม่คงทนเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยทำให้เห็น เป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นชั่วคราว ยึดถือไม่ได้ ดังนี้...จึงจะคลายความยินดีพอใจในรูปที่เห็นนั้นได้จริง...เป็นเช่นนั้นหรือเปล่าคะ...จึงจะได้ชื่อว่า เห็นถูก (สัมมาทิฎฐิ)

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
prachern.s
วันที่ 14 ธ.ค. 2552

เรียน ความเห็นที่ 12

ผู้ที่อบรมเจริญอสุภะจนจิตมั่นคงมีกำลัง ท่านอยู่มีปกติเห็นร่างกายทั้งของตนและกายของผู้อื่นว่าเป็นอสุภะ แต่เมื่อยังไม่ได้ดับกามราคะ ความยินดีพอใจก็ย่อมเกิดขึ้นได้อีก ถ้าประมาท สำหรับพระอริยบุคคลระดับพระอนาคามี พระอรหันต์ท่านย่อมเห็นตามเป็นจริงในกายนี้ว่าไม่งาม ย่อมไม่มีกามราคะเกิดขึ้นอีก ส่วนความเห็นถูกต้องก็มีหลายระดับ เห็นว่าไม่งาม ขั้นฟัง ขั้นพิจารณา ขั้นสมถะ ขั้นวิปัสสนาและขั้นอริยะ ย่อมต่างกันครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2552

ขอบคุณค่ะ คุณ prachern.s

ถ้าไม่ใช่พระอนาคามีขึ้นไป แม้ว่าผู้นั้นจะเจริญอสุภะจนจิตมั่นคงแล้วก็ยังมีโอกาสหลงยินดีพอใจในรูปร่างกายได้อีก ถ้าประมาท

ขออนุโมทนาค่ะ คุณ prachern.s และทุกๆ ความเห็นด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
WS202398
วันที่ 18 ธ.ค. 2552

1. ขณะที่มีปัญญา เป็นไปได้ไหมที่ไม่รู้ว่ามีปัญญา หรือมีปัญญาก็ต้องรู้ว่ามีปัญญา?

2. เป็นไปได้ไหมที่ผมอาจถามว่าขณะนั้นประกอบด้วยปัญญาหรือไม่นั้น ประกอบด้วยปัญญาแต่ไม่รู้ว่าประกอบด้วยปัญญา?

3.หากคนทั่วไปมีสติบางครั้ง เหตุใดถึงไม่รู้ว่าสติมีลักษณะอย่างไร? จะเปรียบได้เหมือนสุริยุปราคา แม้นานๆ เกิดครั้งหากได้เห็นสักครั้ง ก็คงน่าจะจำได้ว่ามีลักษณะอย่างไร ไว้ในสัญญาขันธ์ ส่วนสติเมื่อพิจารณาว่าสติมีหน้าตาอย่างไรโดยสัญญาทำไมยังคลุมเครือ ถ้าเป็นสภาพธรรมปกติหากเกิดขึ้น เมื่อไม่มีสติเกิดขึ้นร่วมด้วยก็เป็นธรรมดาที่จะมีไม่รู้สภาพธรรมนั้นตามความเป็นจริงว่ามีลักษณะอย่างไร แต่เมื่อขณะใดขณะหนึ่่งหากมีสติเกิดร่วมด้วย เหตุใดถึงไม่สามารถจดจำลักษณะตัวเองของสิ่งที่เรียกว่า สติได้

4. สัตว์มีสติบ้างหรือไม่?

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
paderm
วันที่ 18 ธ.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เรียน ความเห็นที่ 16

1. ปัญญาเป็นสภาพธรรมที่รู้ตามความเป็นจริง แต่ปัญญามีหลายระดับ เช่น ปัญญาที่เชื่อกรรมและผลของกรรม ปัญญาขั้นสมถภาวนา ปัญญาขั้นวิปัสสนาภาวนา เป็นต้น ดังนั้น ขณะที่ปัญญาเกิดขณะนั้นเห็นถูก แต่ไม่ได้หมายความว่าเมื่อปัญญาเกิดแล้วจะต้องรู้ว่าปัญญาเกิด เช่น ขณะที่ให้ทานและมีความเชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม ขณะนั้นมีปัญญาแต่ก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องรู้ว่ามีปัญญา แต่มีปัญญาเกิดร่วมด้ววยในขณะนั้นแน่นอน แต่หากเป็นปัญญาระดับสติปัฏฐานก็รู้ตามความเป็นจริง ปัญญาเกิดก็รู้และก็รู้ในสภาพธรรมที่เป็นปัญญาที่เพิ่งดับไปด้วยครับ

2. สำหรับข้อนี้ก็โดยนัยเดียวกัน มีปัญญาเกิดร่วมด้วยแต่ไม่จำเป้นต้องรู้ว่ามีปัญญาก็ได้

3. สติก็มีหลายระดับเช่นกัน สติเป็นธรรมฝ่ายดี ขณะใดที่เป็นกุศลต้องมีสติเกิดร่วมด้วยขณะที่ให้ทานมีสติ แต่ไม่ได้รู้ลักษณะของสติ สติขั้นทานทำหน้าที่ระลึก สติในกุศลขั้นอื่นๆ ก็ทำหน้าที่ระลึก แต่ปัญญาต่างหากที่ทำหน้าที่รู้ลักษณะของสภาพธรรม นั่นคือรู้ลักษณะของสติ ดังนั้นขณะที่สติปัฏฐานเกิดจึงมีปัญญาเกิดร่วมด้วย รู้ตัวลักษณะของสติ เพราะฉะนั้นกุศลอื่นๆ ที่มีสติเกิดร่วมด้วยไม่จำเป็นต้องรู้ตัวลักษณะของสติ ปัญญาทำหน้าที่รู้ตัวลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งต้องเป็นกุศลระดับสติปัฏฐานนะครับ

4. สัตว์คือบัญญัติสมมติขึ้น ความจริงก็คือ จิต เจตสิก รูปที่ประกอบกัน เพราะฉะนั้นสัตว์ก็มีจิต เจตสิกด้วย สติจึงสามารถเกิดได้ ขณะใดที่จิตฝ่ายดีเกิดขึ้น ขณะนั้นมีสติเกิดร่วมด้วย เช่น ขณะที่กุศลจิตเกิดก็มีสติเกิดร่วมด้วยครับ สัตว์จึงมีสติได้ครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
WS202398
วันที่ 21 ธ.ค. 2552

ขอบพระคุณมากครับสำหรับคำตอบ

สติกับธรรมฝ่ายกุศลเกื้อหนุนกันในลักษณะอย่างไรครับ เหตุใดถึงเกิดด้วยกันเสมอ ชวนให้นึกถึงว่าเวลาเกิดอกุศล ทำอกุศลมีลักษณะเหมือนคนละเมอเพ้อพก มีเจตนาแต่ไม่มีสติฟังยากจังครับ เวลาอกุศลเกิดขึ้นแล้วเกิดเจตนาที่จะละคลาย สติทำหน้าที่อะไร ปัญญาทำหน้าที่อะไร และหากปัญญาไม่เกิดร่วมด้วย เกิดแต่สติจะมีเจตนาละคลายอกุศลได้หรือไม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
yodchaw
วันที่ 22 ธ.ค. 2552

การเปลี่ยนการความคุ้นเคย อย่างหนึ่งไปอีกอย่าง มันเหมือนการกลบเกลื่อนตัวเองไว้ คงรักษาตัวตนไว้ ยังเอาอนุสัยเก่าเข้ามาดำเนินการต่อแต่เปลี่ยนเรื่องเท่านั้นเอง ไม่จะยังคงไม่สำเร็จประโยชน์ที่แท้จริง ประโยชน์ในที่นี้หมายถึงความไม่ติด ขัด ข้อง คา ลุล่วงของจิตใจนี้ จนกว่าเมื่อไหร่มีการ ปลง วาง ไม่ค่อยอะไรกับอะไร กับกายใจนั้นละ ประโยชนั้นจะชัดไปเอง ที่นี้คือการปลงฐานธรรม คือสักแต่ว่าตรงที่รู้ ไม่อะไรกับอะไร กับการรู้ สติปัฏฐานทั้งหมด ประมวลตรงที่ ปลง วาง ไม่ยึดติด สักแต่ว่า ไม่อะไรกับอะไร

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
paderm
วันที่ 23 ธ.ค. 2552
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 14541 ความคิดเห็นที่ 18 โดย WS202398 เมื่อจิตเกิดขึ้นก็ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเสมอ ซึ่งเจตสิกไม่ใช่มีเจตสิกเดียว เมื่อจิตเกิดขึ้นก็ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยอย่างน้อย ๗ ประเภท จิตที่เป็นฝ่ายดีก็เช่นกัน เช่นขณะที่กุศลจิตเกิดก็ต้องมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วยเสมอ ซึ่งไม่ใช่มีเพียงเจตสิกเดียวที่เกิดร่วมด้วย เจตสิกอื่นๆ ก็เกิดร่วมด้วยเช่นกัน เช่น ศรัทธา หิริ โอตัปปะ เป็นต้น

ขณะที่กุศลจิตเกิด มีเจตนางดเว้นที่จะไม่ทำอกุศล เป็นต้น ขณะนั้นมีสติเกิด ทำหน้าที่ระลึกได้ที่จะไม่ทำอกุศลนั้น ส่วนปัญญาอาจเกิดด้วยก็ได้หรือไม่เกิดด้วยก็ได้ แต่เมื่อปัญญาเกิดแล้วก็รู้ตามความเป็นจริง หากว่าไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย แต่มีสติเกิดก็สามารถกั้นกระแสกิเลสขณะนั้นที่จะไม่เป็นอกุศล (เป็นกุศล) แต่ไม่ได้รู้ตามความเป็นจริง แสดงให้เห็นว่ากุศลจึงมีทั้งประกอบด้วยปัญญาและไม่ประกอบด้วยปัญญาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
paderm
วันที่ 24 ธ.ค. 2552
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 14541 ความคิดเห็นที่ 19 โดย yodchaw การเปลี่ยนการความคุ้นเคย อย่างหนึ่งไปอีกอย่าง มันเหมือนการกลบเกลื่อนตัวเองไว้ คงรักษาตัวตนไว้ เรียกก็ยังเอาอนุสัยเก่าเข้ามาดำเนินการต่อแต่เปลี่ยนเรื่องเท่านั้นเอง ไม่จะยังคงไม่สำเร็จประโยชน์ที่แท้จริง ประโยชน์ในที่นี้หมายถึงความไม่ติด ขัด ข้อง คา ลุล่วงของจิตใจนี้ จนกว่าเมื่อไหร่มีการ ปลง วาง ไม่ค่อยอะไรกับอะไร กับกายใจนั้นละ ประโยชนั้นจะชัดไปเอง ที่นี้คือการปลงฐานธรรม คือสักแต่ว่าตรงที่รู้ ไม่อะไรกับอะไร กับการรู้ สติปัฏฐานทั้งหมด ประมวลตรงที่ ปลง วาง ไม่ยึดติด สักแต่ว่า ไม่อะไรกับอะไร เชิญคลิกอ่านที่นี่ สักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่าได้ยิน ฯลฯ หมายความว่าอย่างไร
 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
WS202398
วันที่ 25 ธ.ค. 2552

ขอบพระคุณมากครับสำหรับคำตอบ

เจตนาเจตสิก มีอย่างอ่อนอย่างแรงหรือเปล่าครับ

เช่นเวลามีความตั้งใจทำกุศลมีสติเกิดร่วมด้วย แต่อาจมีปัญญาเกิดร่วมด้วยหรือไม่แล้วแต่กรณีนั้น ความตั้งใจทำกุศลนั้นมีอย่างอ่อน อย่างแรงหรือไม่ครับ

หากมีความตั้งใจอย่างอ่อนอย่างแรง ตัวที่เป็นตัวกำหนดให้เป็นอย่างอ่อนหรืออย่างแรง คือเจตนาเจตสิก หรือสังขารตัวอื่นครับ

ขณะที่สติระลึกรู้สังขารตัวใหนครับที่ทำให้มีเจตนาวิรัติทุจริต หรือเวลาให้ทานมีสติ สังขารตัวใหนครับที่ทำให้มีเจตนาให้ทาน

ในกรณีไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย ใช่สัญญาหรือเปล่าครับที่จำไว้ว่า พอระลึกรู้ว่าอย่างนี้อกุศลสัญญาก็บอกว่าควรละเว้นได้ไหมครับ ต้องมีหิริ กับโอตตัปปะ เกิดพร้อมด้วยหรือไม่

หรือพอระลึกถึงการให้ทานสัญญาก็บอกว่าการให้ทานเป็นความดีควรทำ หรือต้องมี เมตตา หรือกรุณาเจตสิกเกิดร่วมด้วยครับ

ผมเข้าใจเช่นนี้ถูกหรือเปล่าครับ เจตสิกอย่างน้อย 7 ประเภทที่เกิดกับจิตทุกดวงนั้น เป็นตัวยื่นพื้นที่ไม่สามารถใช้ในการแบ่งแยกความต่างของจิตแต่ละดวง เจตสิกอื่นๆ นอกจาก 7 ดวงนี้ต่างหากซึ่งหากเกิดร่วมด้วยแล้วจะเป็นตัวปรุงให้จิตแต่ละดวงมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป

เจตสิกประเภทกุศลไม่เกิดร่วมกับเจตสิกประเภทอกุศลในจิตดวงเดียวกันใช่หรือไม่ครับ

สติสามารถระลึกรู้ถึงเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตพร้อมกันทุกเจตสิกหรือไม่ คือผมส่งสัยว่าจิตรู้อารมณ์ที่ทีละ 1 อารมณ์ ส่วนเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยก็รู้อารมณ์เดียวกับจิต เช่น ตาเห็นรูป สติก็ระลึกรู้ว่าเห็นรูป และสติจะระลึกรู้ลักษณะของสังขารธรรมต่างๆ ได้อย่างไร เพราะรู้อารมณ์เดียวกับกับจิตหรือ รูป ที่เห็นนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
bsomsuda
วันที่ 25 ธ.ค. 2552

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
bsomsuda
วันที่ 25 ธ.ค. 2552

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
paderm
วันที่ 27 ธ.ค. 2552

เรียน ความเห็นที่ 22

กุศลจิตมีทั้งที่มีกำลังและไม่มีกำลังคือที่เป็นอสังขารริกและสสังขาริก เจตสิกที่เกิดกับ จิตนั้นก็เป็นไปตามประเภทของกุศลจิตแต่ละประเภทเช่นกัน ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดมาก

ขณะที่งดเว้นจากทุจริตด้วยสติที่เป็นเครื่องกั้นกระแสไม่ให้กิเลสเกิดขึ้น และขณะที่ กุศลจิตเกิดในขั้นทาน สติทำหน้าที่ระลึกที่จะให้ การรู้ว่าสิ่งใดควรไม่ควร ไม่ใช่สัญญาแต่ต้องเป็นปัญญา ขึ้นอยู่กับชาติของจิต จิตเป็นชาติใด เจตสิกที่เหลือก็เป็นชาตินั้นครับ

เจตสิกฝ่ายดีย่อมไม่เกิดร่วมกับอกุศลเจตสิกเลยครับ

สติรู้อารมณ์ทีละอย่าง ขณะรู้สภาพธรรมอะไรก็เพียงสภาพธรรมนั้นอย่างเดียวครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
WS202398
วันที่ 28 ธ.ค. 2552

ขอขอบพระคุณ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 27  
 
chatchai.k
วันที่ 22 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ