จินตามยปัญญา เป็นไฉน.

 
opanayigo
วันที่  16 ส.ค. 2552
หมายเลข  13219
อ่าน  5,374

[เล่มที่ 78] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 582

[๘๐๔] ในญาณวัตถุหมวดละ ๓ นั้น จินตามยปัญญา เป็นไฉน

ในการงานทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในศิลปะทั้งหลายที่ ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในวิชาทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดีบุคคลมิได้ฟังจากผู้อื่น ย่อมได้กัมมัสสกตาญาณ หรือย่อมได้สัจจานุโลมิกญาณว่ารูปไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าเวทนาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้ บ้างย่อมได้อนุโลมิกญาณ ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณธัมมนิชฌานขันติญาณอันใด ซึ่งมีลักษณะอย่างนั้น นี้เรียกว่า จินตามยปัญญา

อธิบายจินตามยปัญญา

ปัญญา อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า โยคะ ในคำว่า โยควิหิเตสุ นี้ มีอธิบายว่า ในการจัดแจงด้วยปัญญา ชื่อว่า น้อมนำไปด้วยปัญญา. อายตนะคือบ่อเกิดแห่งการงานในคำว่า กมฺมายตเนสุ นี้ ชื่อว่าการงานนั่นแหละ.

อีกอย่างหนึ่งแม้แต่คำว่า การงานนั้นด้วย อายตนะนั้นด้วย มีอยู่แก่บุคคลผู้มีอาชีพเป็นต้น ดังนี้ ก็ชื่อว่า บ่อเกิดแห่งการงาน. แม้ในคำว่า สิปฺปายตเนสุ ก็นัยนี้. ฯลฯ

คำว่า ปรโต อสุตฺวา ปฏิลภติ (แปลว่า บุคคลมิได้ฟังจากผู้อื่นย่อมได้...) ได้แก่ มิได้ฟังคำแนะนำของผู้อื่น คิดอยู่เองนั่นแหละ ย่อมได้... คำว่า อยํ วุจฺจติ (แปลว่า นี้เรียกว่า) ได้แก่ ปัญญานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า จินตามยปัญญา.

ก็จินตามยปัญญานั้น ย่อมไม่เกิดแก่บุคคลพวกใดพวกหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้นแก่พระมหาสัตว์ทั้งหลาย ผู้รู้ยิ่งเท่านั้น. สัจจานุโลมิกญาณแม้ในที่นี้ ก็ย่อมเกิดแก่พระโพธิสัตว์ทั้งสอง (ทฺวินฺนํเยว โพธิสตฺตานํ) เท่านั้น


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
สามา
วันที่ 7 เม.ย. 2554

สาธุค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
--MoN--Pp--
วันที่ 3 ส.ค. 2554

ประโยค๙ - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 376

แท้จริง บัณฑิตเชื่อในพระผู้มีพระภาคว่า พระผู้มีพระภาคทรงทราบสมรรถภาพพิเศษแห่งธรรมทั้งหลาย โดยอาการทุกอย่าง จึงทรงแสดงปัจจัย ๒๔ ไว้ดังนี้ ควรทำ สุตมยญาณ ให้เกิดขึ้นว่า ธรรมเหล่านี้มีความพิเศษอย่างนี้ แล้วทำความพากเพียรเพื่อตรัสรู้ความพิเศษแห่งปัจจัยนั้น ด้วย จินตามยญาณ และภาวนายญาณ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 7 ส.ค. 2554

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของความเห็นที่ 2 ครับ

เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงปัจจัย 24 ผู้ที่ศึกษาควรมีศรัทธาเชื่อในในพะรธรรมที่พระองค์แสดงคือ ปัจจัย 24 ว่าเป็นธรรมที่พิเศษลึกซึ้งอย่างยิ่ง อันเกิดจากปัญญาที่สำเร็จจากการฟังคือ สุตมยปัญา และเห็นประโยชน์พากเพียรอบรมปัญญา ด้วยจินตามยปัญญาและภาวนามยปัญญาเพื่อตรัสรู้ความจริงที่เป็นปัจจัย 24 นั้น ครับ

ขออนุโมทนาที่ยกข้อความที่เป็นประโยชน์มาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 13 พ.ย. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ