การเป็นผู้มีความมั่นคงในพระรัตนตรัย หมายความว่าอย่างไรคะ
โดย เอริน  13 ม.ค. 2558
หัวข้อหมายเลข 26036

ทำไมบางคนยังไหว้เทพ ในศาสนาอื่นได้ การไหว้หรือเคารพผิดหรือไม่คะ บางคนก็มีรูปเทพในบ้าน เช่น พระพรหม พระพิฆเนศ อย่างนี้ถือว่าไม่มั่นคงหรือเปล่าคะ บางท่านบอกว่า ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีมาก่อนศาสนาพุทธ "พุทธ" ก็มาจาก "พราหมณ์" การไหว้ไม่ผิด รบกวนด้วยนะคะ



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 13 ม.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สัตว์โลกมีการสะสมมาแตกต่างกัน ทั้งสะสมในฝ่ายที่เป็นความเห็นผิด ไมได้สะสมในฝ่ายที่เห็นถูกมาก็มีมาก และสะสมความเห็นถูกมาก็มีเช่นกัน เพราะฉะนั้น กาย วาจา ก็เป็นไปตามการสะสม ผู้ที่สะสมความเห็นผิดมามาก ก็ย่อมที่จะเลื่อมใสในสิ่งที่ผิด ไม่เลื่อมใสในสิ่งที่ถูก ส่วนผู้ที่มีความเห็นถูก ก็ย่อมเลื่อมใส ศรัทธาในสิ่งที่ถูก ไม่เลื่อมใสในสิ่งที่ผิด แต่ผู้ที่มีศรัทธามั่นคง จริงๆ คือ พระโสดาบัน ศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัย ที่ดับความเห็นผิดได้หมด ไม่ไปนับถือสิ่งอื่นนอกจากพระรัตนตรัย ครับ จะถึงความมีศรัทธา มั่นคงในพระรัตนตรัย ในพระพุทธศาสนาได้อย่างไร ซึ่งก่อนจะถึงศรัทธาที่มั่นคงด้วยปัญญา ก็ต้องเริ่มจากเหตุให้เกิดศรัทธา ซึ่งในตัณหาสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ครับว่า เหตุให้เกิดศรัทธา คือ การฟังพระธรรม เพราะถ้าไม่มีการฟังพระธรรมแล้ว ย่อมไม่เกิดความเลื่อมใสไม่เกิดศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลายที่เจริญขึ้น มากขึ้นเลย และเหตุให้มีการฟังธรรม คือ การคบสัตบุรุษ ผู้มีปัญญา มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น เพราะฉะนั้น เพราะอาศัยการคบสัตบุรุษย่อมเป็นปัจจัยให้ได้ฟังธรรม และเมื่อมีการฟังธรรม ย่อมเป็นเหตุให้เกิดศรัทธา

สรุปได้ว่า ศรัทธาจะเจริญ จะถึงความบริบูรณ์ไม่หวั่นไหวได้ ก็เพราะอาศัยการฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมเป็นสำคัญ ดังนั้น ไม่ได้สำคัญที่ผลว่าจะได้ศรัทธาบริบูรณ์อย่างไร แต่สำคัญที่เหตุว่าจะถึงความเป็นผู้มีศรัทธาบริบูรณ์ ก็ด้วยการฟังธรรม และปัญญาจะไม่เจริญเลย และไม่ถึงความบริบูรณ์เลย หากขาดปัญญา ความเข้าใจพระธรรม ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ...

เหตุให้เกิดศรัทธา [ตัณหาสูตร]

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 3    โดย khampan.a  วันที่ 13 ม.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"ประพฤติปฏิบัติหนทางใดๆ ด้วยความไม่รู้ หนทางนั้นไม่ใช่หนทางของปัญญา เป็นหนทางแห่งความเห็นผิด คือ มิจฉาทิฏฐิ"

อ้างอิงจาก ... ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๕๕

เป็นปกติธรรมดาของผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ ยังละกิเลสอะไรๆ ไม่ได้ ก็ย่อมจะมีเหตุปัจจัยให้กิเลสประเภทนั้นๆ เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ ความเห็นผิด ก็เช่นเดียวกัน ก็เพราะยังไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงของสภาพธรรม ก็ย่อมจะมีความเข้าใจผิดเห็นผิด ยึดถือในข้อวัตรปฏิบัติที่ผิด และเมื่อเห็นผิดแล้วการชักชวน ก็ย่อมจะชักชวนผู้อื่นไปในทางผิดๆ คล้อยตามความเห็นที่ผิด ด้วย ในเบื้องต้นนี้ก็ทำให้เห็นแล้วว่า ความเห็นผิด อันตรายมาก เป็นโทษแก่ตนเอง แล้วยังก่อให้เกิดโทษแก่คนอื่นด้วย แต่ละคนสะสมมาไม่เหมือนกัน สะสมมาทั้งส่วนที่ไม่ดีและส่วนที่ดี เพราะเคยได้ยินได้ฟังพระธรรมมาแล้ว เคยเห็นประโยชน์ของพระธรรมมาแล้ว การสะสมฝ่ายดีนี้ ไม่สูญหายไปไหน ทำให้มีการพิจารณาไตร่ตรองว่า เหตุกับผลไม่ตรงกัน เมื่อเหตุผิดแล้ว ผลจะถูกไม่ได้ ก็ทำให้ถอยกลับจากหนทางที่ผิดนั้น ในเมื่อเป็นสิ่งที่ผิด ก็ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะยึดถือไว้ ควรที่จะทิ้งได้ในทันที

ความเข้าใจพระธรรม อันเนื่องมาจากการฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงจะทำให้เรามีความเบาสบายไม่หวั่นไหวไปด้วยอำนาจของอกุศล พร้อมกับมีความมั่นคงยิ่งขึ้นที่จะฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญาต่อไป ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 4    โดย wannee.s  วันที่ 13 ม.ค. 2558

ถ้าฟังธรรมะเข้าใจ ก็จะซาบซึ้งในพระคุณ และจะมีความมั่นคงขึ้นตามความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย papon  วันที่ 13 ม.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 6    โดย เอริน  วันที่ 13 ม.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 7    โดย peem  วันที่ 14 ม.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย tee  วันที่ 14 ม.ค. 2558

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 9    โดย thilda  วันที่ 15 ม.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 10    โดย tanrat  วันที่ 15 ม.ค. 2558

สะสมความเห็นถูกไป ไม่ใช่ปากกล่าว แต่จิตระลึกได้ ระลึกที่จะนอบน้อมในคุณความดีของท่านเทพทั้งหลาย อย่างน้อยท่านก็เกิดในสุคติภูมิ เหตุต้องสมกับผล อกุศลไม่นำไปเกิดในสุคติภูมิ คุณความดีที่กระทำ แม้เล็กน้อยแต่มีกำลัง ส่งผลให้เกิดในสุคติภูมิ แต่ก็ยังต้องกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก จะค่อยๆ เห็นความเป็นอนัตตา อนิจจัง ทุกขัง


ความคิดเห็น 11    โดย j.jim  วันที่ 20 ม.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 12    โดย แต้ม  วันที่ 4 ก.พ. 2558

—ในพระไตรปิฎกเขียนไว้ว่า "มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก ถูกความกลัวคุกคามเอาแล้ว ย่อมยึดถือเอาภูเขาบ้าง ป่าไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง สวนศักดิ์สิทธิ์บ้าง รุกขเจดีย์บ้าง ว่าเป็นที่พึ่งของตน; นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันทำความเกษมให้ได้เลย นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด ผู้ใดถือเอาสิ่งนั้นๆ เป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมไม่หลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้"

“ส่วนผู้ใดที่ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งแล้ว เห็นอริยสัจทั้งสี่ ด้วยปัญญาอันถูกต้อง คือ เห็นทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ นั่นแหละคือที่พึ่งอันเกษม นั่นคือที่พึ่งอันสูงสุด ผู้ใดถือเอาที่พึ่งนั่นแล้ว ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้แท้”

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 13    โดย chatchai.k  วันที่ 3 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ