หนทางปรกติของการอบรมเจริญปัญญา - สมถและวิปัสสนา ตอนที่ 1-11 [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]
โดย wittawat  5 พ.ค. 2562
หัวข้อหมายเลข 30834

ถาม: ในอารมณ์กัมมัฏฐานทั้ง 40 ของสมถภาวนา ผม (ดิฉัน) ชอบ "อานาปานสติ" แต่ว่า ก็เข้าใจในเรื่องนี้ว่า ไม่สามาถละกิเลสได้ และไม่ทำให้ประจักษ์แจ้งอริยสัจธรรม และถึงพระนิพพานได้ด้วย

อ.สุจินต์: ถ้าโดยสมถภาวนา กิเลสไม่สามารถที่จะละคลายได้เลย หรือ อริยสัจธรรมก็ประจักษ์แจ้งไม่ได้ และไม่สามารถที่จะบรรลุพระนิพพานได้ด้วย

ถาม: คิดว่า จุดประสงค์ของคนคือการละกิเลสและบรรลุพระนิพพาน แต่เขาไม่ได้เข้าใจว่าอะไรเป็นเหตุของความยึดติดในชีวิตประจำวัน เขาไม่ได้รู้เมื่อมีโลภะ ถ้าเพียงหวังที่จะละกิเลสได้โดยปราศจากความรู้กิเลสนั้นตามความเป็นจริง ก็ยังมีความยึดติดในผล เป็นไปได้หรือไม่ที่คนเหล่านี้จะอบรมเจริญสติปัฏฐาน

อ.สุจินต์: เป็นไปไม่ได้ (ที่สติปัฏฐานจะเจริญขึ้น สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าใจสิ่งที่มีจริง มีแต่เพียงการหวังผลของการเจริญปัญญา)

ถาม: เราสามารถที่จะเจริญทั้งสมถะ และวิปัสสนาทั้งคู่ได้ไหม

อ.สุจินต์: บุคคลนั้นจะทราบได้ด้วยตนเองว่าเขากำลังเจริญสมถะ หรือวิปัสสนา แต่ "ถ้าไม่มีความเข้าใจถูกในความต่างของหนทางที่อบรมเจริญ ทั้งสมถะหรือวิปัสสนาก็ไม่สามารถอบรมเจริญขึ้นได้"

ถาม: กรุณาให้แนวทางของการอบรมเจริญวิปัสสนา

อ.สุจินต์: ไม่มีใครสามารถที่จะรีบเร่งการอบรมเจริญสติปัฏฐาน จุดประสงค์ของการอบรมเจริญสติปัฏฐาน คือ การละคลายกิเลส

แต่อย่างไรก็ตาม บุคคลผู้ที่ไม่รู้จักกิเลสของเขา ไม่ได้ถูกชวนให้ไปตามหนทางที่จะละคลายกิเลส ถ้าใครจะบอกให้เด็กที่ไม่ได้สนใจเรื่องกิเลสของเขา บอกให้เขาละกิเลสด้วยการอบรมเจริญสติปัฏฐาน พวกเขาก็จะไม่ต้องการละกิเลส แล้วจะอบรมเจริญสติปัฏฐานได้อย่างไร

ทุกคน ไม่ว่าเด็ก และผู้ใหญ่ มีกิเลสมากมาย ถ้าใครจะถามเขาว่า เขาอยากจะกำจัดกิเลสไหม แทบทั้งหมดจะตอบว่า เขาไม่ได้อยากทำอย่างนั้น เพราะฉะนั้นก็ไม่ควรที่จะบังคับให้ใครอบรมเจริญสติปัฏฐาน

บางคนที่เมื่อได้ยินเกี่ยวกับกิเลส (ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีบ้าง) ก็อาจจะไม่อยากมีกิเลส แต่ว่าได้เข้าใจจริงๆ เกี่ยวกับกิเลสหรือไม่ ความติดข้อง โลภะ เป็นกิเลส ใครบ้างอยากมีโลภะ เขาอาจจะไม่ชอบในเรื่องของการมีโลภะ แต่จริงๆ แล้วทุกคนชอบโลภะแต่ละขณะ และทุกๆ ขณะ นี่แสดงให้เห็นว่าไม่ได้เข้าใจลักษณะของกิเลสของโลภะ เราสามารถพิสูจน์ได้ว่าเราเข้าใจโลภะจริงๆ ว่าเป็นกิเลสหรือไม่ อาหารอร่อยไหม เสื้อผ้าและสิ่งของซึ่งตกแต่งให้ร่างกายของเราสวยงามนั้นดูดีไหม เพลงเพราะไหม กลิ่นหอมไหม เก้าอี้นุ่มสบายไหม พอใจกับสิ่งที่กระทบสัมผัสไหม แม้ว่าบางคนจะไม่ชอบให้มีโลภะ เพราะคิดว่าเขาไม่ควรจะมี เขาสามารถที่จะพิสูจน์ได้ว่าจิตชอบโลภะตลอดเวลา การอบรมเจริญสติปัฏฐานเป็นการอบรมเจริญขึ้นของสติและปัญญา ไม่ใช่ความพยายามที่จะใส่ใจเพียงอารมณ์เดียว หรือสมาธิ

ข้อความนี้แปลจาก...The Natural Way of Development - Samatha and Vipasana

อ่านตอนอื่นๆ ได้จากลิงค์นี้

ตอนที่ 1 - สมถและวิปัสนา

ตอนที่ 2 - อัตตสัญญาคืออะไร (1)

ตอนที่ 3 - อัตตสัญญาคืออะไร (2)

ตอนที่ 4 - ควรทำอะไรให้เข้าใจมากขึ้น

ตอนที่ 5 - ช่วยอธิบายหน่อยว่าระลึกอย่างไร

ตอนที่ 6 - การรวมกลุ่มวิธีปฏิบัติก็คือการหวังผล

ตอนที่ 7 - ความรู้ตามตำราและความรู้ระดับวิปัสสนาญาน

ตอนที่ 8 - ควรระลึกอย่างไร

ตอนที่ 9 - เช่นเดียวกับการจับด้ามมีด

ตอนที่ 10 - ข้อประพฤติปฏิบัติที่เป็นปรกติและไม่เป็นปรกติ

ตอนที่ 11 - ธรรมนั้นปฏิบัติกิจของตนเองตามปรกติ