พระธรรมวินัย ศึกษาเพื่ออะไร ทำไมต้องศึกษา
โดย บัวในตม  18 พ.ค. 2551
หัวข้อหมายเลข 8675


เคยฟังแต่อภิธรรม และพระสูตร จากวิทยุ MP3 พระธรรมวินัยศึกษาอะไร เพื่ออะไร
มีประโยชน์อย่างไรต่อการศึกษาพระธรรมค่ะ (เพราะไม่ได้อยู่ในเพศบรรพชิต)



ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 19 พ.ค. 2551

พระธรรมวินัย เป็นคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือเรียกว่าพระไตรปิฎกพระวินัยปิฎก เป็นคำสอนที่เกี่ยวข้องกับพระภิกษุโดยตรง ถ้าคฤหัสถ์ได้ศึกษาย่อมเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เพศบรรพชิตเป็นอย่างมาก ดังนั้นคฤหัสถ์ควรศึกษาด้วยเช่นกันสำหรับพระสุตตันตปิฎกและพระอภิธรรมปิฎกควรศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีประโยชน์กับทุกบุคคลทุกระดับชนชั้นครับ

ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่.. ศึกษาธรรมเพื่อขัดเกลาและเป็นคนดี

ฟังธรรมเพื่ออะไรและปฏิบัติธรรมเพื่ออะไร ..


ความคิดเห็น 2    โดย prissna  วันที่ 19 พ.ค. 2551

สิ่งใดมีประโยชน์ มีสาระ ยิ่งศึกษายิ่งมีแต่ความเจริญพุทธบริษัทมี ๔ ภิกษุ ภิกษุณี (ปัจจุบันไม่มีแล้ว) อุบาสก อุบาสิกาเมื่อเป็นชาวพุทธ (ไม่เพียงแต่ในนาม) มีโอกาสคบกัลยาณมิตรก็ควรศึกษาพระธรรมวินัย และน้อมประพฤติ และปฏิบัติตามสถานภาพของตนๆ จุดเริ่มต้นคือ เพื่อละความไม่รู้จุดหมาย คือความรู้ด้วยความเข้าใจ และปัญญา ของตนเอง.


ความคิดเห็น 3    โดย prissna  วันที่ 19 พ.ค. 2551

หากมีโอกาสศึกษาพระวินัยปิฏก นอกจากจะมีความรู้ว่าคฤหัสถ์ควรปฏิบัติอย่างไร จึงเป็นการสมควรและเอื้อเฟื้อต่อสมณะธรรมของเพศบรรชิตแล้วยังได้ทราบถึงประโยชน์ของการละเว้นอกุศลแม้เพียงเล็กน้อยตัวอย่างเช่น ควรทราบว่ากิจของสงฆ์มีอะไรบ้าง ทำไมพระพุทธองค์จึงห้ามภิกษุสัมผัสสตรี เป็นต้น


ความคิดเห็น 4    โดย wannee.s  วันที่ 19 พ.ค. 2551

คฤหัสถ์ศึกษาพระวินัยเพื่อจะได้ปฏิบัติต่อพระภิกษุได้ถูกต้อง ช่วยให้ท่านไม่อาบัติ และรักษาพระวินัยคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วย ที่สำคัญทำให้เป็นผู้มีศีลงาม มีกาย วาจาเรียบร้อยค่ะ พระวินัยเน้นเรื่องของศีล พระสูตรเน้นสมาธิ พระอภิธรรมเน้นปัญญาค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย baramees  วันที่ 19 พ.ค. 2551

ส่วนของพระวินัยจากพระไตรปิฎกนั้นเป็นแนวทางเบื้องต้น เพื่อให้ผู้ศึกษาได้ทราบถึงสิ่งที่ควรและไม่ควรในการปฏิบัติต่อพระภิกษุ อันเป็นการเกื้อกูลกันทั้งสองฝ่ายและรักษาพระศาสนารวมทั้งขัดเกลากิเลสในกาย วาจาที่ไม่ดีแม้ของตนเอง ซึ่งพระวินัยแสดงถึงกิริยามารยาทอันงามที่ควรประพฤติอันสามารถน้อมนำมาปฏิบัติในการขัดเกลากิเลสของตนเองในทางกาย วาจา ในบางอย่างได้อย่างเหมาะสม


ความคิดเห็น 6    โดย baramees  วันที่ 19 พ.ค. 2551

ถ้าหากว่าพุทธบริษัทได้ศึกษามีความเข้าใจในเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงซึ่งเป็นส่วนของพระอภิธรรมเป็นอย่างดีแล้วก็จะทำให้ศึกษาพระวินัยและพระสูตรเข้าใจตามไปด้วย ดังนั้นการศึกษาพระธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนานั้นจะขาดปิฎกใดปิฎกหนึ่งไม่ได้เลย เพราะทั้งสามปิฎกเกื้อกูลแก่ผู้ที่ศึกษาได้อย่างแท้จริง


ความคิดเห็น 7    โดย pornpaon  วันที่ 19 พ.ค. 2551

คิดว่าควรศึกษาค่ะ เพราะเมื่อก่อนไม่รู้เรื่องวินัยสงฆ์ เคยนำเงินใส่ซอง ใส่บาตรพระไปตั้งไม่รู้กี่ครั้งและก็คงมีเรื่องอื่นๆ ที่ดิฉันอาจทำผิดไปโดยไม่รู้แล้วด้วยเช่นกัน เท่ากับไปส่งเสริมให้ภิกษุท่านลำบากโดยไม่รู้ตัว (และตัวเราเองก็จะลำบากด้วย) เพื่อการไม่พลั้งเผลอในการทำอกุศลแม้เพียงเล็กน้อยการศึกษาพระธรรมวินัยย่อมเป็นประโยชน์อย่างยิ่งค่ะ

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย suwit02  วันที่ 20 พ.ค. 2551
สาธุ

ความคิดเห็น 9    โดย มาณพน้อย  วันที่ 20 พ.ค. 2551

พระวินัย เป็นหนึ่งในปิฎกสาม ถ้าได้ศึกษาเป็นอย่างดีแล้ว จะเห็นความจริง (สัจจะ) ที่เป็นสัจจธรรมทั้งเรื่องของกุศลและอกุศล เพราะเหตุว่า ในเรื่องของกุศลจะเป็นเรื่องของความละอาย ความเกรงกลัวต่อสภาพธรรมที่เป็นอกุศลประการต่างๆ แต่ถ้าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นอกุศล ก็จะเป็นเหตุให้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติพระวินัย (ให้พระภิกษุสำรวมระวัง เพื่อไม่ให้ประพฤติผิด) ทำให้ได้เห็นความจริงของอกุศลซึ่งต้องเป็นอกุศล ไม่ว่าจะเกิดกับคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม ครับ


ความคิดเห็น 10    โดย พุทธรักษา  วันที่ 21 พ.ค. 2551

ลองฟังจากท่านอาจารย์สุจินต์นะคะvcd บ้านธัมมะตอนที่ 075


ความคิดเห็น 11    โดย orawan.c  วันที่ 21 พ.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 12    โดย บัวในตม  วันที่ 22 พ.ค. 2551

ขอบคุณค่ะ ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 13    โดย เจริญในธรรม  วันที่ 23 พ.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 14    โดย happyindy  วันที่ 22 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ.....


ความคิดเห็น 15    โดย เมตตา  วันที่ 26 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 16    โดย thongkhun1937  วันที่ 28 พ.ค. 2561

พระภิกษุ สามเณร ฆราวาส ไม่ได้อ่าน พระไตรปิฎก ชุด ๔๕ เล่ม ชุด ๙๑ เล่ม ไม่ได้เรียนรู้เรื่อง จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล ศีล ๒๒๗ ข้อ กันเลย ให้เงินเดือนพระ ให้ตำแหน่งพระ ไม่ท้วงติงกันเลยฯ