กรรมยุติธรรมเสมอ
โดย opanayigo  23 มิ.ย. 2552
หัวข้อหมายเลข 12743

วันอาทิตย์ที่ผ่านมา ในการสนทนาธรรม

ได้ฟังหลายท่านสนทนาเกี่ยวกับเรื่อง กรรม

............

กรรม เป็นคำที่ชาวพุทธส่วนใหญ่ คุ้นเคย

แต่ความหมายที่แท้ ความเข้าใจที่ถูก ลึกซึ้งต่างกัน

(กรรมมักถูกแปลไปฝ่ายไม่ดี เช่น มันเป็นเวรกรรม, แก้กรรม)

เมื่อไม่เข้าใจ จึงสงสัยใน กรรม

กรรมเป็นเรา เรามีกรรม

กรรม คือ อะไร

ไม่รู้ว่าทำไม ต้องพบเจอ

กรรม มีกระบวนการเกิดอย่างไร?

................

เกิดอาการหวั่นไหว??

....................

ควรแก่การศึกษา??

ขอยกคำกล่าวท่านผู้รู้เตือนว่า

" กรรมยุติธรรมเสมอ "

................

เข้าใจ กรรม มีประโยชน์อะไร??

ยุติธรรม อย่างไร??

...............

พระสุตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑

เชิญคลิกอ่านได้ที่

กรรมเก่า กรรมใหม่ [กรรมสูตร]

....................

กราบอนุโมทนา



ความคิดเห็น 1    โดย เมตตา  วันที่ 23 มิ.ย. 2552

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่...

มือที่มองไม่เห็น

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 2    โดย suwit02  วันที่ 23 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 3    โดย khampan.a  วันที่ 24 มิ.ย. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ ๒๙๓ “ท่านอย่าได้ทำบาปนะ บาปใดอันท่านทำไว้ บาปนั้นจะเผาผลาญท่านในภายหลัง,บุรุษทํากรรมเหล่าใดไว้ทางกายทวาร วจีทวาร และมโนทวาร เมื่อเขากลับได้ผลของกรรมนั้น ย่อมพบกรรมเหล่านั้นเองในตน ผู้ทำกรรมดีย่อมเสวยผลดี แต่ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมเสวยผลชั่วช้าลามก ไม่น่าปรารถนา, แท้จริง แม้ในทางโลก บุคคลหว่านพืชเช่นใดไว้ ย่อมนำไปซึ่งพืชนั้น คือ ย่อมเก็บผล ได้รับผล เสวยผลอันสมควรแก่พืชนั้นเอง”

(ข้อความตอนหนึ่งจาก... จุลลนันทิยชาดก)

ชีวิตของแต่ละบุคคลที่ดำเนินไปในแต่ละขณะนั้น เป็นความจริง เป็นธรรม ตราบใดที่ยังไม่ได้ดับกิเลสทั้งหลายทั้งปวง อย่างเด็ดขาด บางขณะย่อมเป็นการกระทำเหตุที่ดี คือ กุศล บางขณะเป็นการกระทำเหตุที่ไม่ดี คือ อกุศล ตามการสะสม บางขณะเป็นผลของกุศล มีการได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ที่ดี ที่น่า-ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ บางขณะเป็นผลของอกุศล ซึ่งจะตรงกันข้ามกับผลของกุศล ไม่มีใครทำให้เลย นอกจากตัวเองเท่านั้น (โทษใครไม่ได้) เนื่องจากว่าในอดีตชาติอันยาวอย่างนับไม่ถ้วน เราได้กระทำทั้งกรรมดี และกรรมไม่ดีไว้มาก การที่กรรมใดจะให้ผลนั้น ไม่อาจเลือกได้ ไม่สามารถที่จะบังคับบัญชาได้ ดังนั้น ประโยชน์ของการศึกษาเรื่องกรรม คือ เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก เป็นผู้มั่นคงในเรื่องกรรมและผลของกรรม และสะสมกรรมดีต่อไปตามกำลัง เพื่อละความไม่ดีที่สะสมมาอย่างเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ จนกว่าจะถึงความเป็นผู้หมดจดจากกิเลสได้ในที่สุด ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 4    โดย ปริศนา  วันที่ 24 มิ.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย JANYAPINPARD  วันที่ 24 มิ.ย. 2552

กรรมหมายถึงการกระทำในปรมัตถธรรมหมายถึง...เจตนาเจตสิก..เกิดกับจิตทุกดวงเจตนาเจตสิก...เกิดกับวิบากจิตและกิริยาจิต...เกิดแล้วไม่ให้ผลหากเกิดกับกุศลและอกุศลจิตแต่ไม่ออกมาทางกาย วาจาเกิดการสะสมเป็นอนุสัยกิเลส (ยกเว้นโลกุตตรมรรคจิต 4 ดวง) หากก้าวล่วงออกมาทางกาย วาจา ..เจตนาเจตสิกนั้นเรียกว่า อภิสังขารให้ผลเป็นวิบากจิต และกัมมัชรูป

กรรมไม่แบ่งชั้นวรรณะในการให้ผลกรรมให้ผลไม่ว่ากระทำทั้งในที่ลับและที่แจ้งผลของกรรมยุติธรรมเสมอโดยไม่ต้องเรียกร้อง

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย saifon.p  วันที่ 24 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 7    โดย wannee.s  วันที่ 25 มิ.ย. 2552

ชีวิตที่เกิดมาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึงรับผลของกรรมเก่าที่ดีและไม่ดี และอีกส่วน

หนึ่งทำกรรมใหม่ที่ดีและไม่ดี แต่การมีชีวิตอยู่ด้วยปัญญาประเสริฐที่สุดค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย paderm  วันที่ 25 มิ.ย. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 168 ในบทว่า กายทุจฺจริตสฺส เป็นต้น มีอธิบายว่า พืชสะเดาและบวบขม

ย่อมไม่ทำผลมีรสหวานให้บังเกิด ได้แต่ทำผลอันมีรสไม่น่าชอบใจไม่มีรสหวานให้

บังเกิดอย่างเดียว ฉันใด กายทุจริตเป็นต้น ย่อมไม่ทำผลอันมีรสอร่อยให้บังเกิด

ย่อมทำผลอันไม่อร่อยเท่านั้นให้บังเกิด ฉันนั้น พืชอ้อยและพืชข้าวสาลีย่อมให้ผล

มีรสหวานอร่อยทั้งนั้นให้บังเกิดย่อมไม่ทำผลที่ไม่แช่มชื่น ผลเผ็ดร้อนให้บังเกิด

ฉันใด กายสุจริตเป็นต้น ย่อมทำวิบากผลอันอร่อยทั้งนั้นให้บังเกิด ไม่ทำผลที่ไม่อร่อยให้บังเกิด ฉันนั้น. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า

คนหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น คนทำเหตุดี ย่อมได้ผลดี ส่วนคนทำเหตุชั่ว

ย่อมได้ผลชั่ว.

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 9    โดย orawan.c  วันที่ 25 มิ.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

และกรรมย่อมไม่บกพร่องในหน้าที่ด้วยค่ะ


ความคิดเห็น 10    โดย opanayigo  วันที่ 26 มิ.ย. 2552

ขอเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อการศึกษา ;

หัวข้อ : กรรมอื่นหมายถึงกรรมที่ได้กระทำแล้ว

.................

ข้อความบางตอนจาก เสียงบรรยายท่านอาจารย์สุจิตน์

" หน้าที่ของกรรม มีหลายอย่าง "

กรรมอุปฐาก

กรรมเบียดเบียน

กรรมตัดรอน

..............

เชิญคลิกฟังได้ที่

หัวข้อ พื้นฐานพระอภิธรรม

เวปไซด์หน้าแรก ขวามือ

.................

อนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 11    โดย pornpaon  วันที่ 26 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 12    โดย วันชัย๒๕๐๔  วันที่ 26 มิ.ย. 2552
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 13    โดย pradit  วันที่ 26 มิ.ย. 2552
คนหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น คนทำเหตุดี ย่อมได้ผลดี ส่วนคนทำเหตุชั่ว

ย่อมได้ผลชั่ว.