อินทรีย์ ๒...ดับสังโยชน์ ๑๐
โดย พุทธรักษา  13 มี.ค. 2552
หัวข้อหมายเลข 11604

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
บรรดาสังโยชน์เหล่านั้น สังโยชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ย่อมดับไป เพราะ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (ปฐมมรรค) ตั้งมั่นแล้ว สังโยชน์ ๗ ที่เหลือ มีกามฉันทะ เป็นต้น ย่อมดับไป เพราะ อัญญินทรีย์ (อรหัตตมรรค) ตั้งมั่นแล้ว ก็พระอรหันต์ ย่อมรู้ญาณใด อย่างนี้ว่า "ชาติของเราสิ้นแล้ว" ญาณนี้ เป็นญาณในความสิ้นไป (ขเย ญานํ) และ ย่อมรู้ทั่วว่า "กิจอื่นที่กระทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี" เป็นญาณที่รู้ ในการไม่เกิดขึ้น แห่งปฏิสนธิ (อนุปฺปาเท ญาณํ) ญาณทั้ง ๒ นี้ เป็น อัญญาตาวินทรีย์ ฯ

(ใน อัฏฐสาลินี กล่าวว่า ญาณในความสิ้นไป เป็น ญาณในอริยมรรค เพราะทำความสิ้นกิเลส ญาณในความไม่เกิด เป็น ญาณในอริยผล เพราะว่า เกิดในที่สุด แห่งการประหารกิเลส แต่ในปกรณ์นี้ กล่าวถึง ญาณทั้ง ๒ นั้น ว่า เป็นอรหัตตผลญาณ ฯ) .ในการดับสิ้นไปแห่งอินทรีย์ นั้น เมื่อบุคคล ถึงอัญญินทรีย์แล้วอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ย่อมดับไป เมื่อถึงความเป็นอรหันต์อัญญินทรีย์ ย่อมดับไป ในกาลที่ญาณทั้ง ๒ คือญาณ ในความสิ้นไป และ ญาณ ในความไม่เกิด ดับไปอัญญาตาวินทรีย์ก็ดับไป ฯ ในญาณทั้ง ๒ คือญาณรู้ในความสิ้นไป และ ญาณรู้ในความไม่เกิดว่าโดยประเภทของกิจ มี ๒ อย่าง แต่เมื่อว่าโดยสภาวะ ก็เป็นปัญญา อย่างเดียว ฯ
ปัญญาใด ที่ตรัสไว้ด้วยกิจ คือ การปิดกระแส ปัญญา นั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถะว่า รู้ทั่ว และ สติใด ที่ตรัสว่า เป็นเครื่องกั้นกระแส สติ นั้น ชื่อว่า สติ เพราะอรรถะว่า ไม่เลอะเลือน ตามอารมณ์ ที่ตนเห็นแล้ว ฯ


ข้อความบางตอนจากหนังสือ "เนตติปกรณ์" รจนาโดย ท่านพระมหากัจจายนะ แปลโดยอาจารย์สมพร ศรีวราทิตย์



ขออนุโมทนา



ความคิดเห็น 1    โดย pornpaon  วันที่ 14 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 2    โดย Komsan  วันที่ 15 มี.ค. 2552
ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 3    โดย chatchai.k  วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ