แด่เด็กปัญญาอ่อน ผู้พิการซ้ำซ้อน
โดย kanchana.c  9 ม.ค. 2553
หัวข้อหมายเลข 15068

วันนี้ที่ มศพ.สนทนาธรรมเรื่องทานที่เป็นสัปปุริสทาน ทานของสัตบุรุษและทานของอสัตบุรุษ ซึ่งมีลักษณะต่างๆ เมื่ออ่านครั้งแรก ก็คิดว่าเราเคยให้ทานโดยไม่เคารพบ้าง ไม่ได้ให้ทานด้วยมือตนเองบ้าง ดังนั้นอานิสงส์ก็คงไม่ได้รับอย่างที่ท่านแสดงว่า จะทำให้มั่งคั่งบ้าง ทำให้มีรูปสวยบ้าง ทำให้มีคนเชื่อถือบ้าง

ดังนั้น ในการให้ทานครั้งต่อไป จะต้องให้ด้วยความเคารพ ให้ด้วยมือตนเอง ซึ่งความคิดทั้งหมดนั้นเกิดจากความรักตัว อยากให้ตนเองได้รับแต่สิ่งดีๆ ที่วิเศษกว่าคนทั้งหลาย และไม่ได้รู้เลยว่า ธรรมทั้งหลายนั้นเป็นอนัตตา และความรู้จริงๆ ว่าทุกอย่างเป็นธรรมนั้นก็ไม่มั่นคงเลย จึงไม่เข้าใจธรรม

วันนี้ฟังท่านอาจารย์อธิบายว่า ฟังธรรมเพื่อให้เข้าใจธรรม ว่าทุกอย่างเป็นธรรม แม้แต่พระสูตรนี้ ก็แสดงลักษณะของสภาพธรรม ที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน การให้ทานเกิดขึ้นได้เพราะมีจิต และจิตก็มีมากมายแตกต่างกันหลากหลาย ตั้งแต่จิตที่ให้ทาน และจิตที่ไม่ให้ทาน ก็ต้องมีสภาพที่ต่างกัน ผลที่ได้รับก็ต่างกัน แม้จิตที่ให้ทานนั้นก็ยังต่างกันตามระดับขั้นของปัญญา มีทั้งให้ทานโดยเคารพ ให้ทานโดยไม่เคารพ เป็นต้น ผลที่เกิดขึ้นจากจิตที่ต่างกัน ก็ย่อมต่างกันตามสภาพของจิตที่เป็นเหตุ

เพิ่งรู้ตัวเองวันนี้เองว่า ไม่เคยอ่านพระสูตรในลักษณะนี้เลย มีแต่เป็นตัวตนที่อ่าน เป็นเราที่ควรทำอย่างนี้หรือไม่ควรทำอย่างนั้น เพื่อที่จะได้รับผลมากๆ หรืออ่านเพื่อไว้สอนคนอื่น

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่คอยจูงเด็กปัญญาอ่อน ผู้พิการซ้ำซ้อนให้เดินถูกทางด้วยค่ะ นอกจากจะปัญญาอ่อน พิการซ้ำซ้อนแล้ว ยังเป็นเด็กดื้อ เกเร ที่ไม่ค่อยเชื่อฟังอีกค่ะ



ความคิดเห็น 1    โดย orawan.c  วันที่ 10 ม.ค. 2553

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนา ความยึดมั่นว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน และเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด หนา เหนียวแน่น และนานมาก จึงต้องอบรมอีกนานมากๆ กว่าจะไม่ลืมว่า ทุกอย่างเป็น ธรรมะ และ เป็น อนัตตา


ความคิดเห็น 2    โดย วิริยะ  วันที่ 10 ม.ค. 2553

เรียนถามค่ะ

การให้ทานโดยเคารพและการให้ทานโดยไม่เคารพ มีลักษณะอย่างไรคะ

ขอบพระคุณค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย เมตตา  วันที่ 10 ม.ค. 2553

อรรถกถาอสัปปุริสทานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอสัปปุริสทานสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อสกฺกจฺจํ ทานํ เทติ ได้แก่ หาเคารพคือทำใจให้สะอาดให้ทานไม่.

บทว่า อจิตฺตึ กตฺวา เทติ ได้แก่ ให้ด้วยอาการไม่ยำเกรง โดยความไม่เคารพ.

บทว่า อปวิฏฺ€ํ เทติ ได้แก่ ไม่ให้ส่งๆ ไป อีกอย่างหนึ่งให้เหมือนประสงค์จะทิ้ง.

บทว่า อนาคมนทิฏ€ิโก เทติ ได้แก่ หาทำความเห็นผลกรรมกันมาอย่างนี้ว่า ผลแห่งกรรมที่ทำจักมาถึงดังนี้ให้เกิดขึ้นไม่ ในฝ่ายขาวพึงทราบวินิจฉัยดังนี้

บทว่า จิตฺตึ กตฺวา เทติ ได้แก่ เข้าไปตั้งความยำเกรงในไทยธรรมและในทักขิไณยบุคคลแล้วให้. ในสองอย่างนั้นบุคคลกระทำไทยธรรมให้ประณีต มีรสอร่อยแล้วให้ ชื่อว่า เข้าไปตั้งความยำเกรงในไทยธรรม. บุคคลเลือกบุคคลแล้วให้ ชื่อว่า เข้าไปตั้งความยำเกรงในทักขิไณยบุคคล.

บทว่า สหตฺถา เทติ ความว่า ไม่ใช้มือของคนอื่นให้ตามคำสั่ง ให้ด้วยมือของตนเองเท่านั้น ด้วยคิดว่า ชื่อว่า เวลาที่เราท่องเที่ยวไปในสงสารอันไม่มีเบื้องต้นและเบื้องปลายแล้ว ได้ใช้มือและเท้านั้นไม่มีประมาณเลย เราจักทำความหลุดพ้นไปจากวัฏฏะ ความออกไปจากภพ ดังนี้.

บทว่า อาคมนทิฏฺ€ิโก ได้แก่ เชื่อกรรมและวิบาก ว่าจักเป็นปัจจัยแห่งภพในอนาคตแล้วให้ ดังนี้.

จบอรรถกถา อสัปปุริสทานสูตรที่ ๗

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่..

สัปปุริสทานสูตร , อสัปปุริสทานสูตร...เสาร์ที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๓


ความคิดเห็น 4    โดย h_peijen  วันที่ 11 ม.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย ups  วันที่ 11 ม.ค. 2553

สาธุ


ความคิดเห็น 6    โดย WS202398  วันที่ 13 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

เข้มแข็ง และเพียรไปตามทางด้วยกันครับ


ความคิดเห็น 7    โดย bsomsuda  วันที่ 14 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย chatchai.k  วันที่ 17 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ