จะลดความกำหนัดด้วยวิธีอย่างไรบ้าง
โดย piroon  10 เม.ย. 2550
หัวข้อหมายเลข 3393

จะลดความกำหนัดด้วยวิธีอย่างไรบ้าง เวลาเกิดความกำหนัดหรือกามารมณ์ในเพศตรงข้าม ทั้งที่รู้ว่าไม่ดีจะมีวิธีการยับยั้งหรือลดลงได้อย่างไรบ้างครับ



ความคิดเห็น 1    โดย suchada.s  วันที่ 11 เม.ย. 2550

จะพยายามบังคับยับยั้งให้ลดลงนั้น บังคับไม่ได้ ธรรมะทั้งหลายเป็นอนัตตา การที่ภาวะกำหนัด ซึ่งเป็นโลภะอย่างหยาบเกิดขึ้นได้นั้น ก็เพราะมีเหตุปัจจัย มีการสะสมมามากจนนับไม่ได้ว่ากี่กัปป์ เกิดขึ้นจนชำนาญ เกิดขึ้นเป็นอัตโนมัติ ไม่ต้องชักชวนเลย ในเมื่อกำหนัดเกิดขึ้นได้ สติก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน มาศึกษา มาฟังพระธรรมอันประเสริฐที่พระผู้มีพระภาคฯ ทรงเพียรแสดงอนุเคราะห์สัตว์โลกถึง 45 พรรษา การฟังนี้จะเป็นปัจจัยให้ผู้ฟังเกิดความเห็นถูก เกิดโยนิโสมนสิการ คิดได้ถูกต้องตรงสภาพจริง และเป็นปัจจัยให้เกิดสติได้ ฟังแล้วฟังอีก อ่านแล้วอ่านอีก สติมีโอกาสเกิดได้ อกุศลธรรมทั้งหลายจะถูกขัดเกลาไปด้วยธรรมะฝ่ายตรงข้าม คือ กุศลธรรม ขอชื่นชม ที่ท่านเห็นว่าอกุศลธรรมเป็นสิ่งไม่ดี คิดแสวงหาวิธีการที่ดี เพื่อขจัดยับยั้ง และเลือกที่จะมาค้นหาที่นี่.


ความคิดเห็น 2    โดย study  วันที่ 11 เม.ย. 2550

ธรรมที่เป็นข้าศึกของกามราคะก็คือ อสุภะ การพิจารณาซากศพ หรือการพิจารณาอาการ ๓๒ โดยความเป็นของปฏิกูล เมื่อพิจารณาโดยแยบคาย ย่อมบรรเทาหรือระงับได้ชั่วคราว

เชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

อสุภนิมิตละกามฉันทะ​ [ทีฆนิกาย​ มหาวรรค]​


ความคิดเห็น 3    โดย study  วันที่ 11 เม.ย. 2550

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 121

เชิญคลิกอ่านที่ >>> ทุติยสัญญาสูตร [บางส่วน]


ความคิดเห็น 4    โดย wannee.s  วันที่ 11 เม.ย. 2550

ให้คิดถึงความไม่งามของร่างกาย เช่น น้ำลาย เลือด อุจจาระ ขี้ตา ขี้มูก คิดถึงสิ่งเป็นปฏิกูลบ่อยๆ หรือคิดถึงความตายบ่อยๆ ว่าอีกไม่นานเราก็จะต้องตาย ควรรีบทำความดี บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ดีกว่าเสียเวลากับเรื่องที่ไม่มีสาระ


ความคิดเห็น 5    โดย แวะเข้ามา  วันที่ 11 เม.ย. 2550

อนุโมทนา ถ้ายังไม่เห็นโทษ ก็ยังลดไม่ได้


ความคิดเห็น 6    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 11 เม.ย. 2550

เกิดแล้วนี่ สิ่งที่เกิดแล้วจะไปทำให้ไม่เกิดไม่ได้เพราะเกิดแล้ว มีปัจจัยให้เกิด เป็นธัมมะหรือเปล่า ควรรู้ว่าเป็นธัมมะ เป็นหนทางเดียวที่จะดับกิเลส วิธีอื่น ระงับชั่วคราว แม้ได้ฌาณก็ไม่สามารถดับกิเลส คือ ความยินดีพอใจนี้ได้ กิเลสที่ต้องดับก่อนคือความเห็นผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคล ยึดว่าเป็นเรา แม้ความกำหนัด แม้จะคิดพิจารณาด้วยวิธีต่างๆ สงบลงได้ แต่ก็ไม่ได้เป็นหนทางที่จะดับกิเลส และความยึดถือว่าเป็นเรา ต้องมั่นคงว่าทุกอย่างเป็นธัมมะครับ ลองอ่านข้อความนี้ดูนะ จะแสดงว่าควรละกิเลสอะไรก่อน และละด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ไม่ใช่ด้วยการคิดพิจารณาหรือฌาณครับ

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 123

เชิญคลิกอ่านที่ >>> สัตติสูตร...ผู้ปฏิบัติควรทำตัวเหมือนถูกหอก

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย


ความคิดเห็น 7    โดย toangsg  วันที่ 14 พ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ