อินเดีย ...อีกแล้ว23
โดย kanchana.c  13 ธ.ค. 2552
หัวข้อหมายเลข 14660

วัดชีวกัมพวัน

เมื่อลงจากคิชฌกูฏแล้ว รถก็พาไปรับประทานกลางวัน ที่โรงแรม Rajgir Residency

Hotel ก่อนถึงโรงแรม ผ่านวัดชีวกัมพวัน ซึ่งหมอชีวกโกมารภัจจ์สร้างในสวนมะม่วง

ของตนถวายแด่พระผู้มีพระภาคเป็นอารามหลวง เพราะหลังจากที่รักษาพระวรกายของ

พระผู้มีพระภาคที่หมักหมมด้วยโรคให้หายแล้ว ได้ถวายผ้าเนื้อดีจากแคว้นสีพี เมื่อเวลา

พระผู้มีพระภาคกล่าวอนุโมทนากถาจบ ท่านก็บรรลุเป็นพระโสดาบัน ท่านมีศรัทธามาก

ต้องการจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาควันละ ๒ – ๓ ครั้ง แต่พระเวฬุวันและเขาคิชฌกูฏก็

ไกลเกินไป จึงสร้างวัดนี้ขึ้น บางทีก็เรียกว่า ชีวการาม เป็นโรงพยาบาลสงฆ์แห่งแรก

ในพระพุทธศาสนาด้วย


หมอชีวกเป็นบุตรของหญิงงามเมือง เมื่อคลอดแล้วถูกนำมาทิ้งไว้ที่กองขยะ เจ้า

ชายอภัยราชกุมารซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าพิมพิสารเก็บไปเลี้ยง และเมื่อท่านทราบ

ความจริง ก็คิดว่า การอยู่ในราชสำนักต้องมีวิชาความรู้ จึงขอไปเรียนวิชาแพทย์ที่

สำนักตักศิลา ท่านสำเร็จการศึกษาด้วยการค้นพบว่า ไม่มีต้นไม้ใดไม่เป็นยาเลย

เมื่อท่านได้เงินค่ารักษาจากคนไข้รายแรก ท่านก็นำเงินทั้งหมดที่ได้ไปถวายเจ้า

ชายอภัยเพื่อตอบแทนที่เลี้ยงดูท่านมา แต่เจ้าชายอภัยไม่รับและให้ท่านนำเงินนั้นไป

สร้างบ้านในพระราชวังของเจ้าชายอภัย

หมอชีวกมีความสามารถมากถึงขนาดเปิดกระโหลกศีรษะเพื่อรักษาโรคได้ ผ่าตัดเนื้อ

งอกในลำไส้ และโรคเรื้อรังอื่นๆ ที่หมอคนอื่นรักษาไม่หาย ท่านก็สามารถรักษาให้หาย

ได้ เมื่อท่านรักษาโรคริดสีดวงให้พระเจ้าพิมพิสารหายแล้ว ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นแพทย์

ประจำราชสำนัก และแพทย์ประจำพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์

(ภาพจากวิกิพีเดีย)

หมอชีวกมีบทบาทสำคัญในทางพระพุทธศาสนามาก ท่านเป็นคนทูลขอพรจากพระผู้

มีพระภาคให้ถวายคหบดีจีวรได้ ให้สร้างที่จงกรมและเรือนไฟเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นที่

บริหารกายของภิกษุ ห้ามไม่ให้คนที่เป็นโรคติดต่อ ๕ อย่าง ได้แก่ โรคเรื้อน ๑ โรคฝี ๑

โรคกลาก ๑ โรคมองคร่อ ๑ โรคลมบ้าหมู ๑ มาบวชเป็นพระ เพราะสมัยนั้นเกิดโรค

ระบาดหลายโรคในแคว้นมคธ คนที่เป็นโรคเข้ามาบวชเพื่อจะได้รับการรักษาเป็น

จำนวนมาก และหมอชีวกยังถามถึงเรื่องเนื้อที่ไม่ควรบริโภค คือ เนื้อที่ตนเห็น เนื้อที่

ตนได้ยิน เนื้อที่ตนรังเกียจ

เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงห้อพระโลหิตที่พระบาทจากการที่ท่านพระเทวทัตกลิ้งหินลง

มาเพื่อปลงพระชนม์ หมอชีวกก็ทำการรักษา

และที่วัดชีวกัมพวันนี้เป็นสถานที่หมอชีวกพาพระเจ้าอชาตศัตรูเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค

เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม พระเจ้าอชาตศัตรูขอถึงความเป็นอุบาสก แต่ไม่

สามารถบรรลุธรรมใดๆ ได้ ทั้งๆ ที่สามารถจะบรรลุได้เมื่อฟังพระธรรมเทศนาจบลง แต่

เพราะท่านทำปิตุฆาต คือ ปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารผู้มีคุณธรรมเป็นพระอริยบุคคล

และเป็นพระราชบิดาของพระองค์ จึงปิดกั้นการบรรลุมรรคผลทั้งหมด

ในกาลต่อมา หมอชีวกได้รับพระดำรัสยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกผู้เลื่อมใส

ในบุคคล

จะเห็นว่าไม่ใช่เมื่อบรรลุคุณธรรมเป็นพระอริยบุคคลแล้ว จะต้องอยู่ในวัดทุกคน

เมื่อดิฉันเริ่มศึกษาพระธรรม คิดว่าตนเองมีศรัทธามากตั้งใจลาออกจากงานที่ทำ เพื่อ

ศึกษาพระธรรมอย่างเดียว เมื่อรู้จักตัวเองมากขึ้น ก็รู้ว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะยังเป็น

ปุถุชน ต้องมีอาชีพการงานเพื่อเลี้ยงชีวิต หรือถ้ามีเงินมากมายแล้ว ก็ยังมีสังคมที่ต้อง

เกี่ยวข้องที่ไม่ใช่การศึกษาพระธรรมเท่านั้น และถ้ามีความเข้าใจพระธรรมยิ่งขึ้นไปอีก

ก็จะเห็นว่า พระธรรมนั้นอยู่ในชีวิตประจำวัน ตลอดเวลา ทุกขณะ จะทำอาชีพอะไร หรือ

อยู่สถานะไหน ก็มีพระธรรมที่จะให้ศึกษาได้ตลอดเวลา และเมื่อเข้าใจว่าขณะใดเป็น

กุศล ขณะใดเป็นอกุศล ก็จะละอกุศล และจะเจริญกุศลยิ่งขึ้น เมื่อเป็นกุศลจะ

ประกอบอาชีพอะไรก็เป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับตนเองและคนอื่น อย่างท่านหมอชีวก

ท่านเป็นพระโสดาบัน ท่านก็ยังรักษาคนไข้ด้วยกุศลจิต นำความรู้ความสามารถมาทำ

กุศลช่วยคนได้มากมาย



ความคิดเห็น 1    โดย คุณ  วันที่ 15 ธ.ค. 2552

กราบอนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 2    โดย panasda  วันที่ 15 ธ.ค. 2552

ขอขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย Jans  วันที่ 15 ธ.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย hadezz  วันที่ 16 ธ.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย วิริยะ  วันที่ 17 ธ.ค. 2552

ขอเรียนถามค่ะ

โรคติดต่อ 5 อย่างที่ได้กล่าวมานั้น อยากเรียนถามว่า โรคมองคร่อ คือโรคอะไรคะ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย paderm  วันที่ 17 ธ.ค. 2552

เรียนความเห็นที่ 5

โรคมองคร่อคือไข้ประภทหนึ่ง ผู้เป็นทำให้ผอมแห้งด้วย

ผู้เป็นโรคนี้ไม่อนุญาตให้บวชครับ

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 7    โดย วิริยะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย wirat.k  วันที่ 25 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 9    โดย คนบ้านนอก  วันที่ 26 ธ.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 10    โดย กระจ่าง  วันที่ 15 ต.ค. 2553
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ