มีความฟุ้งซ่านคิดวิตกกังวลจะแก้อย่างไร
โดย audience  21 เม.ย. 2549
หัวข้อหมายเลข 1107

บางครั้งคิดวิตกกังวลล่วงหน้าเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น เช่น กังวลว่าการค้าขายจะขาดทุนหรือมีปัญหาที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นกับการค้าของเรา วิตกกังวลจนบางครั้งมาก จนทำอะไรไม่ได้ ไม่รู้ว่าคนอื่นเป็นอย่างนี้หรือเปล่า จะแก้ไขอย่างไรดี


ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 21 เม.ย. 2549

ความวิตกกังวลล่วงหน้ากับเหตุการณ์ต่างๆ เป็นอกุศลวิตกของผู้ที่ยังละอกุศล

ยังไม่ได้ซึ่งก็เป็นธรรมดาทุกๆ คนก็มีกันทั้งนั้น บางคนมีมาก บางคนมีน้อยแล้ว

แต่การสะสม การเจริญกุศลทุกๆ ประการ ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้กุศลจิต

เกิดแทนอกุศลวิตก และกุศลที่จะเป็นหนทางดับอกุศลวิตก ไม่ให้เกิดอีกเลย

ก็คือ การอบรมเจริญปัญญาขั้นสติปัฏฐาน จนบรรลุเป็นพระอริยบุคคล เป็น

ลำดับขั้นจนถึงพระอรหันต์ จึงจะไม่มีอกุศลวิตกอีกเลย


ความคิดเห็น 2    โดย study  วันที่ 21 เม.ย. 2549

เชิญคลิกอ่าน.....อนิมิตตสมาธิดับอกุศลวิตก ๓


ความคิดเห็น 3    โดย study  วันที่ 21 เม.ย. 2549

เชิญคลิกอ่าน....อกุศลวิตกเกิดเพราะไม่มนสิการโดยแยบคาย [อโยนิโสมนสิการสูตร]


ความคิดเห็น 4    โดย anu  วันที่ 22 เม.ย. 2549

เรื่องวิตกกังวลผมเป็นมาก มากๆ ๆ จนจะเป็นโรคประสาท ที่เป็นเช่นนี้เพราะปัญหาไม่ได้ถูกแก้ไข และหรือบางครั้งไม่สามารถแก้ไขได้ ไม่ว่าจะเนื่องจากเงื่อนไขใดๆ ก็ตามแล้วที่แย่กว่านั้นก็คือ ไม่สามารถหาทางออกให้กับตนเองได้ ผมอาศัยการสนทนากับผู้ที่เราเคารพนับถือ ขอความเห็นและวิธีแก้ไขปัญหาครับ ทางแก้ที่แท้จริงมันมีนะครับ ธรรมมะของพระพุทธเจ้าเป็นเลิศในโลก แต่เราเอามาใช้ไม่ได้ทันท่วงที แล้วเราขาดปัญญาจนไม่สามารถเข้าใจธรรมมะอย่างแท้จริง ดังนั้นเราจึงไม่ได้แก้ไขปัญหาที่ต้นตอ เมื่อเป็นเช่นนั้นเราจึงทำได้แค่แก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าเท่านั้นเอง ผมเห็นใจคุณจัง แต่ผมก็ขจัดความกังวลในใจผมไม่ได้เช่นกันครับ


ความคิดเห็น 5    โดย prachern.s  วันที่ 24 เม.ย. 2549

อยากเรียนถามว่า ต้นตอ ของการวิตกกังวลคืออะไรครับ


ความคิดเห็น 6    โดย ต้นไม้  วันที่ 24 เม.ย. 2549

เรียนถามท่านวิทยากรว่า

ความวิตกกังวลเป็นกรรมของผู้นั้นด้วยใช่ไหม และถ้าจัดว่าเป็นกรรม แล้วจะมีวิบากเป็นอย่างไรคะ และขออนุโมทนาสมาชิก : anu prachern.s audience และมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา


ความคิดเห็น 7    โดย study  วันที่ 24 เม.ย. 2549

ขณะที่มีความวิตกกังวล ขณะนั้นเป็นเพียงอกุศลจิตเท่านั้นไม่ได้ทำกรรมอะไรจึงไม่มีวิบาก


ความคิดเห็น 8    โดย audience  วันที่ 24 เม.ย. 2549
ต้นตอของความวิตกกังวลน่าจะเป็นอวิชชา ขอท่านผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ

ความคิดเห็น 9    โดย study  วันที่ 25 เม.ย. 2549

โดยนัยของปฏิจจสมุบาท เพราะมีอวิชชาจึงมีสังขาร คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และ อเนญชาภิสังขาร ซึ่งความวิตกกังวลเกิดร่วมกับอปุญญาภิสังขาร เมื่อดับอวิชชาได้แล้ว อปุญญาภิสังขารและความวิตกกังวลก็ดับ ฉะนั้น จึงควรกล่าวได้ว่าอกุศลทั้งปวงมีอวิชชาเป็นปัจจัย


ความคิดเห็น 10    โดย audience  วันที่ 25 เม.ย. 2549

ความวิตกกังวลคงเป็นโทสะ เพราะเป็นความขุ่นใจ ไม่สบายใจ ซึ่งเป็นอกุศลประเภทหนึ่งมีอวิชชาเป็นปัจจัย ขออนุโมทนาท่านวิทยากรของมูลนิธิฯ ที่ช่วยให้ความกระจ่างตราบใดที่ยังมีอวิชชา ความวิตกกังวลก็เกิดได้เมื่อมีเหตุปัจจัยให้เกิด คงไม่มีใครยับยั้งได้ จนกว่าจะเจริญปัญญาดับอวิชชาเป็นสมุทเฉทแล้วใช่ไหมครับ


ความคิดเห็น 11    โดย อ้อม  วันที่ 6 พ.ค. 2549
ถูกต้องแล้วคะ ขออนุโมทนา

ความคิดเห็น 12    โดย komgrip  วันที่ 4 เม.ย. 2550

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 13    โดย อิสระ  วันที่ 19 ก.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 14    โดย wannee.s  วันที่ 19 ก.ค. 2550

ตราบใดที่เรายังเป็นปุุถุชน ความฟุ้งซ่าน วิตกกังวลทุกคนก็มีเป็นเรื่องธรรมดาของคนที่ยังมีกิเลส จะละความฟุ้งซ่านได้ ต่อเมื่อเราค่อยๆ อบรมปัญญาจนกว่าจะเป็นพระอรหันต์จึงจะละความฟุ้งซ่านได้หมด


ความคิดเห็น 15    โดย ไรท์แจกแล้วไง  วันที่ 21 ก.ค. 2550
ควรเข้าใจด้วยปัญญาว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่เราที่คิด มีแต่ความคิด ไม่มีเรา งงไหม ขณะคิดไม่เห็น ขณะเห็นยังไม่ใช่คิด เห็นเป็นอย่างไร คิดเป็นอย่างไร ควรรู้ชัด ประทัดก็แตกไปทีละอัน อย่างที่เคยเห็น แต่เห็นกับคิดแตกไปเร็วยิ่งกว่านั้น แต่ก็เป็นไปโดยลำดับ ไม่ใช่เราเลย

ความคิดเห็น 16    โดย JANYAPINPARD  วันที่ 24 ก.ค. 2550

อนิมิตตสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีนิมิต) ...กรุณาอธิบายสมาธิที่ไม่มีนิมิต ตัดมาจาก web..นิมิต แปลว่า เครื่องหมาย คือ รูปเครื่องกำหนดจิต จับเป็นอารมณ์ นิมิตนี้ส่วนใหญ่เป็นเครื่องหมายของกสิณ แต่ทว่า กรรมฐานหมวดอื่นๆ ก็มีเหมือนกัน เช่น อสุภ-กรรมฐานก็มีรูปอสุภนิมิต อาหาเรปฏิกูลสัญญา ก็มีรูปอาหารเป็นนิมิต อย่างนี้ รวมความว่า นิมิตนั้นแยกออกเป็น ๒ อย่างคือ นิมิตที่เป็นเครื่องหมายกำหนด นิมิตจำเป็นที่นักปฏิบัติจำเป็นต้องกำหนดอย่างหนึ่ง นิมิตเลื่อนลอย เป็นนิมิตตัดรอนความดีที่นักปฏิบัติควรละประการหนึ่ง.. นิมิตเป็นสมมุตบัญญัติใช่หรือไม่

เจริญอนิมิตตสมาธิ..เจริญอย่างไร


ความคิดเห็น 17    โดย study  วันที่ 24 ก.ค. 2550

อนิมิตตสมาธิ เป็นชื่อของผลสมาบัติของพระอริยบุคคล คือ ในขณะบรรลุ ท่านรู้สังขารโดยความเป็นทุกข์ ดังข้อความในอรรถกถาดังนี้

เชิญคลิกอ่านได้ที่.......

กรรมปัจจุบัน ๔ อย่าง [อรรถกถากรรมกถา]


ความคิดเห็น 18    โดย opanayigo  วันที่ 10 มิ.ย. 2552

อนุโมทนาค่ะ