Thai-Hindi 18 March 2023
โดย prinwut  18 มี.ค. 2566
หัวข้อหมายเลข 45677

Thai-Hindi 18 March 2023


- (แจ้งว่าวันนี้คุณอาช่าคุณอาคิ่ลสนทนาได้ชั่วโมงเดียวเพราะต้องพาคุณพ่อไปโรงพยาบาล)

- ต้องช่วยเขาเต็มที่เพราะเขาอยู่ในภาวะที่ลำบากและมีภาระมากแต่ที่สำคัญที่สุดคือ ให้เขาเห็นประโยชน์อย่างยิ่งที่จะไม่ลืมที่จะเข้าใจพระธรรมเหมือนญาติพี่น้องเป็นเพื่อนกัน เป็นญาติกัน ทุกอย่างที่มีปัญหาก็ช่วยกันแก้

- เราเป็นพี่น้องกันเสมอตราบใดที่เรามีพระธรรมร่วมกันที่จะเข้าใจและจะช่วยให้คนอื่นได้เข้าใจพระธรรมด้วย ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องเข้าใจความจริงที่ละเอียดมากมิฉะนั้นก็ไร้ประโยชน์

- การป่วยไข้ของคุณพ่อคุณอาคิ่ลก็มาจากการที่ได้ช่วยหาที่ดินให้มูลนิธิฯ เราก็จะไม่ลืมเลยดิฉันจะทำทุกอย่างให้คุณอาคิ่ลและคุณอาช่าเข้าใจพระธรรมยิ่งขึ้นเพื่อประโยชน์แก่คนอื่นเพื่อดำรงพระศาสนา

- ที่สำคัญที่สุดต้องเข้าใจถูกในพระธรรมที่ลึกซึ้ง เปลี่ยนไม่ได้ผิดทันที เพราะฉะนั้นมีอะไรที่เป็นเรื่องที่เขาจะสามารถทำให้ค่อยๆ เข้าใจรู้ว่า “พระธรรมคือเดี๋ยวนี้” ที่เขาเริ่มจะเข้าใจนั่นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

- ไม่ประมาทเลยที่จะเข้าใจความลึกซึ้งของพระธรรม ต้องเข้าใจจริงๆ ถ้ามีคนอื่นนอกจากคุณอาช่าคุณอาคิ่ลที่สนใจที่จะสนทนาต่อก็ทำได้

- (อาช่าอยากจะให้ทบทวนว่า “สันตีรณ” ทำกิจอะไรบ้าง)

- สันตีรณเป็นชาติอะไร (วิบาก) นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะความต่างกันของวิบากที่เป็นผลกับจิตที่เป็นเหตุ จิตที่เป็นเหตุทำได้มากกว่า แต่จิตที่เป็นผลทำได้เฉพาะกิจของจิตนั้นๆ เท่านั้น

- เพราะฉะนั้น สันตีรณเราจะรู้ก็เมื่อได้กล่าวถึง เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสว่าต้องเกิดแน่นอน

- ต้องไม่ลืมว่า เดี๋ยวนี้มีเห็น มดก็เห็น เทวดาก็เห็น พรหมก็เห็น เพราะฉะนั้นต้องมีสันตีรณเกิดแน่นอนต่อจากเห็น

- กรรมทำให้สันตีรณเกิดกี่ดวงกี่ประเภท (มี ๒ เป็นผลของกุศลกรรมและผลของอกุศลกรรม)

- นี่เป็นสิ่งที่เราคิดแต่ว่าความจริง สันตีรณเป็นวิบากพิเศษที่เกิดจากกรรมที่ทำให้เกิดสันตีรณ ๓ ไม่ใช่ ๒

- นี่เป็นความพิเศษของสันตีรณที่จะต้องรู้ อเหตุกอกุศลวิบากมีเท่าไหร่ (ตอบว่า ๘) ๘ คืออะไร (ตอบไม่ได้) นี่คือการจำจำนวนไม่มีประโยชน์เพราะจำโดยไม่เข้าใจ ผิดได้

- นี่เป็นตัวอย่างที่ละเอียดแม้ดูเหมือนว่าเป็นสิ่งไม่สำคัญ แต่ความละเอียดที่จะเข้าใจธรรมจะต้องรู้ว่า “ละเอียด” ที่เราคิดเองไม่ได้

- ความต่างกันของกุศลวิบากกับอกุศลวิบากมีมาก เราไม่สามารถจะรู้ได้เลย กรรมทุกอย่างที่เป็นอกุศลกระทำแล้วเป็นเหตุให้เกิดอกุศลวิบากแค่ ๗ ดวงเท่านั้น

- และกุศลกรรมที่ทำไปแล้วก็ให้ผลมากกว่าอกุศลวิบาก แต่ต้องรู้ความละเอียดจึงจะเห็นความต่างของผลของอกุศลกรรมและกุศลกรรมแม้ว่าจำนวนจะมากกว่าอกุศลกรรม

- ต้องไม่ลืมว่า กรรมทำให้เกิดต่างกัน อกุศลกรรมทำให้เกิดอกุศลวิบากเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เกิดเป็นเปรต เกิดเป็นอสุรกาย เกิดในนรกเท่านั้น ไม่เกิดมากกว่านั้นเลย แต่มีนรกมากมายหลายขุมและเปรตหลายชนิด สัตว์เดรัจฉานหลายชนิดด้วย ทั้งหมดเป็นผลของอกุศลกรรมขณะแรกที่ทำให้เกิดขึ้น

- ถ้าให้ผลเพียงทำให้เกิดขณะเดียวไม่พอเลยเพราะขณะเกิดเป็น ๑ ขณะจิตที่ยังไม่รู้อารมณ์ใดๆ ของชาตินั้นเลย แต่ไม่ว่าจะเกิดที่ไหนก็ตามมีผลติดตามมามากมายไม่ใช่เพียงขณะปฏิสนธิเท่านั้น

- เพราะฉะนั้นต้องทราบว่า ผลของกรรมต้องมากกว่าเพียงทำให้เกิดขึ้น ผลของกรรมที่ปรากฏให้รู้ได้ทุกชาติมีเพียง ๕ ทาง เกิดเป็นเปรต เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เกิดในนรก เกิดเป็นอสุรกาย เกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็น เทพจะต้องมีผลของกรรม ๕ ทาง

- เพราะฉะนั้นผลของกรรมที่เป็นวิบากมีมากแต่จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อมีการเห็น การได้ยิน การรู้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกายเท่านั้น

- จิตอื่นๆ ไม่ได้ปรากฏมีแต่เห็นบ้าง ได้ยินบ้าง ได้กลิ่นบ้าง ลิ้มรสบ้าง รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ๕ทางบ้างแล้ว คิดนึกซึ่งไม่ใช่ผลของกรรม เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่จิตอื่นๆ ไม่ได้ปรากฏนอกจากทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

- ทบทวน อกุศลกรรมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นอะไรที่แรงมาก น้อยมาก เบามากก็ตามแต่สามารถที่จะให้ผลทำให้อกุศลวิบากซึ่งเป็นผลของอกุศลกรรม ๗ ประเภทเท่านั้นเกิดขึ้น

- เพราะฉะนั้นเราจะเริ่มรู้จักผลของอกุศลกรรมคือ เห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ ได้ยินเสียงที่ไม่น่าพอใจ ได้กลิ่นที่ไม่น่าพอใจ ได้รสที่ไม่น่าพอใจ กระทบสัมผัสสิ่งที่ไม่น่าพอใจ

- คุณพ่อของคุณอาคิ่ลกำลังเจ็บเป็นผลของอะไร ทางไหน (อกุศล) จะน้อยจะมากเท่าไหร่ก็เป็นอกุศลวิบากที่เกิดขึ้นเป็นผลของอกุศลกรรมในชาติที่เป็นมนุษย์น้อยกว่าในภพภูมิอื่นมาก

- ความเจ็บปวดของมนุษย์กับความเจ็บปวดของสัตว์เราสามารถจะประมาณได้ แต่น้อยกว่าความเจ็บปวดในนรกมากมายมหาศาล เพราะฉะนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ว่า ผลของอกุศลกรรมเป็นวิบากจิตที่เป็นอกุศล ๗ ประเภท

- เห็นเป็นผลของอกุศลกรรมเป็นอกุศลวิบาก ๑ ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย๕ แล้วยังมีผลของกรรมอีก ๒ ขณะ ๒ ประเภทเพราะจิตเห็นเกิดขึ้นทำกิจเห็น ๑ ขณะเท่านั้นจิตที่กำลังเจ็บทางกายเกิดขึ้น ๑ ขณะเท่านั้น

- จิตเห็นทำกิจอื่นไม่ได้เลยนอกจากเห็น จิตได้ยินทำกิจอื่นไม่ได้เลยนอกจากได้ยิน จิตได้กลิ่นทำกิจอื่นไม่ได้เลยนอกจากได้กลิ่น จิตลิ้มรสทำกิจอื่นไม่ได้เลยนอกจากลิ้มรส จิตที่รู้สิ่งที่กระทบแล้วเจ็บทำกิจอื่นไม่ได้เลยนอกจากขณะที่เกิดขึ้นแล้วรู้เจ็บเท่านั้น ๕ แล้ว อย่าลืมอกุศลวิบากมี ๗ เหลืออีก ๒

- แต่เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร ได้กลิ่นแล้วรู้สึกอย่างไร เจ็บแล้วรู้สึกอย่างไร เป็นจิตอื่นไม่ใช่จิตเห็นจิตได้ยินเป็นต้น

- เพราะฉะนั้นจิตเห็นเกิดขึ้น ๑ ขณะดับ ทำกิจอื่นไม่ได้แต่มีจิตที่กรรมทำให้เกิดขึ้น “รับ” สิ่งที่จิตเห็นเห็นแต่ “ไม่เห็น” คนละกิจ

- ก่อนที่จะคิดเรื่องราวอะไรอื่นต่อจากเห็นต่อจากได้ยินจะต้องมีจิตที่เกิดรับสิ่งที่จิตเห็น “เห็น” ไว้แล้วก็ดับ

- จิตที่เป็นผลของกรรมที่ต้องรู้อารมณ์เดียวกับความเจ็บต้องเกิดหลังจากที่จิตที่รู้เจ็บดับไปแล้ว มิฉะนั้นจะไม่มีจิตอะไรที่รับรู้อารมณ์นั้นต่อมาจากจิตเห็นจิตได้ยินได้เลย

- จิตที่เกิดต่อจากเห็นได้ยินเป็นต้นทำกิจ “รับรู้อารมณ์” เดียวกันจึงเป็น “สัมปฏิจฉันนจิต” เพราะฉะนั้นสัมปฏิจฉันนะ ๑ ขณะเป็นอกุศลวิบากรับรู้อารมณ์ต่อจากที่รู้ทางตา หู จมูก ลิ้นกาย ทำอะไรไม่ได้นอกจาก “รับไว้” เท่านั้น

- จิตที่เกิดต่อรู้อารมณ์ที่เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ได้กลิ่นแล้วต่อจากสัมปฏิจฉันนะ เพราะฉะนั้นจิตที่เกิดต่อจากสัมปฏิจฉันนะเป็นอกุศลวิบากที่กรรมทำให้เกิดขึ้นที่จะต้องรับรู้ต่อจากสัมปฏิจฉันนะอีก ๑ ขณะ อกุศลวิบากมีเพียง ๗ เท่านั้นต้องไม่ลืม

- ยังสงสัยมั้ย จำได้มั้ย เข้าใจมั้ยในจิต ๗ ดวงนี้ ก่อนที่จะมีความคิดต่างๆ นานา เกี่ยวกับสิ่งที่ได้เห็นบ้าง ได้ยินบ้างพวกนี้ จิตเห็นทำเพียงแค่เห็นและสัมปฏิจฉันนะทำเพียงแค่ “รับไว้” และสันตีรณก็ “รับต่อ” พอที่จะทำให้จิตที่เกิดต่อเป็นอะไร กุศล อกุศล หรือคิดเรื่องอะไร

- วิบากจิตหมดแล้ว อกุศลวิบากจิตหมดแล้วแต่จิตที่เกิดต่อที่เป็นอกุศลที่สะสมมาหรือกุศลที่สะสมมาพร้อมที่จะเกิดได้แต่เกิดทันทีไม่ได้

- จิตที่เกิดต่อจากสันตีรณเกิดเพราะปัจจัยที่ต้องเกิด “กระทำทาง” ให้กุศลจิตหรืออกุศลจิตที่สะสมมาเกิดต่อ

- จิตที่กระทำทาง “เปิดทาง” ให้กุศลหรืออกุศลจิตเกิดต่อจึงชื่อว่า “ชวน” ซึ่งเป็นกุศลหรืออกุศล “ปฏิปาทกะ” เป็นบาทให้กุศลและอกุศลจิตเกิดได้

- เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้เองเป็นจิตที่เรากล่าวถึงขณะที่เห็นต้องมีจิตเกิดก่อนเห็นเพราะสิ่งที่กระทบตาต้องกระทบ “จักขุปสาท” เป็นปัจจัยให้จิตนี้เกิดขึ้นรู้ว่า “อารมณ์กระทบ” เพราะฉะนั้นเขายังไม่ “เห็น” ยังไม่ได้ “รับผลของกรรม” แต่ “กระทำทาง” หรือว่า “เปิดทาง” ให้วิถีจิตเกิดขึ้นเห็น จิตนี้ชื่อว่า “ปัญจทวาราวัชชนะ” แล้วแต่ว่าจะเป็น “จักขุทวาราวัชชนะ” “โสตทวาราวัชชนะ” ฯลฯ แล้วแต่ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย

- ก่อนจิตนี้เกิดเป็นจิตอะไร (ภวังคุปเฉทะ) ถูกต้อง ก่อนภวังคุปเฉทะเป็นอะไร (ภวังคจลนะ) ก่อนภวังคจลนะเป็นอะไร (รู้ว่าเป็นภวังค์) แต่มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า “อตีตภวังค์” เป็นภวังค์ที่เกิดก่อนหมายความว่า เป็นภวังค์ที่อารมณ์กระทบก่อนที่จะไหว ก่อนที่จะเป็นภวังคุปปัจเฉทะทางปัญจทวาร ต้องเข้าใจไม่ใช่เป็นเรื่องจำจะได้ไม่ลืมว่ามีกี่ดวง

- อกุศลวิบากมีกี่ดวง (๗ ดวง) สันตีรณอกุศลวิบากเกิดเมื่อไหร่ (หลังจากเห็นที่เป็นผลของอกุศลกรรมหลังสัมปฏิจฉันนะที่เป็นผลของอกุศลกรรมจะเกิดสันตีรณที่เป็นผลของอกุศลวิบาก)

- เพราะฉะนั้น ถามสั้นๆ สันตีรณอกุศลวิบากเกิดเมื่อไหร่ (คำตอบเดิม ยกตัวอย่างเห็น ถ้าเห็นไม่ดีหลังจากนั้นต้องมีสันตีรณอกุศลวิบากเกิด)

- อย่าลืมว่า ฟังคำถามก่อน ถามสั้นๆ ตอบสั้นๆ ถามว่า สันตีรณอกุศลวิบากเกิดเมื่อไหร่ ลองตอบสั้นๆ (หลังสัมปฏิจฉันนะ) สัมปฏิจฉันนะเกิดเมื่อไหร่ (หลังจากเห็น ได้ยิน ลิ้มรส ที่เป็นผลของอกุศลกรรม) จิตเห็นเกิดเมื่อไหร่ (หลังจากปัญจทวาราวัชชนจิต) ปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดเมื่อไหร่ (หลังจากภวังคุปเฉทจิตเกิดแล้วดับ) ภวังคุปเฉทะเกิดเมื่อไหร่ (หลังภวังคจลนะ) ภวังคจลนะเกิดเมื่อไหร่ (หลังอตีตภวังค์) อตีตภวังค์เกิดเมื่อไหร่ (อาช่าไม่แน่ใจแต่รู้ว่าต้องมีจิตใดจิตหนึ่ง)

- “อตีตภวังค์” เกิดเมื่ออารมณ์กระทบ เพราะฉะนั้นแสดงให้รู้ว่า รูปที่กระทบมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เมื่อกระทบแล้วจิตจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม รูปนั้นอยู่ไปจนถึง ๑๗ ขณะของจิตแล้วดับ ทั้งหมดนี้เพื่อที่จะให้เข้าใจคำตอบว่า “สันตีรณ” ทำกี่กิจ อะไรบ้าง

- ไม่ใช่เป็นคำตอบง่ายๆ เป็นชื่อให้จำเท่านั้น แต่ต้องเข้าใจเพื่อ “ละ” ความไม่รู้ เพื่อเห็นความเป็นอนัตตาของธรรม



ความคิดเห็น 1    โดย prinwut  วันที่ 18 มี.ค. 2566

- ถ้าเข้าใจดีแล้ว ดิฉันจะถามสั้นๆ และความเข้าใจของเขาทั้งหมดทำให้เขาตอบได้สั้นๆ ถามอะไรก็ได้เป็นการทดสอบว่า เข้าใจจริงๆ เข้าใจมั่นคงแค่ไหน

- อกุศลวิบากจิตมีกี่ดวง (๗ ดวง) อะไรบ้าง (เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณ)

- เพราะฉะนั้นอกุศลวิบากจิตมีมากกว่านี้ได้ไหม (ไม่ได้) เจ็บมากในนรกจะมีอกุศลวิบากจิตเกิน ๗ ดวงได้ไหม (มีแค่ ๗) ในอเวจีมหานรกมีอกุศลวิบากจิตเท่าไหร่ (๗ เหมือนกัน) และในมนุษย์กำลังป่วยไข้ได้เจ็บ กำลังเห็นสิ่งไม่ดี อาหารที่เผ็ดมาก ทั้งหมดมีอกุศลวิบากเท่าไหร่ (ลังเลที่จะตอบว่าเท่าไหร่)

- เราไม่ได้ถามรายละเอียด เราถามว่าอกุศลวิบากทั้งหมดมีเท่าไหร่ ต้องตอบตามจำนวนเกินจากนั้นไม่ได้ ขาดไปก็ไม่ได้ใช่ไหม เพราะถามว่า อกุศลวิบากจิต “ทั้งหมด” มีเท่าไหร่ (๗)

- ความเจ็บในนรก มหาอเวจีนรกกับความเจ็บในโลกนี้ต่างกันตรงไหน (ไม่ต่างกัน) ต่างกันที่ว่า สิ่งที่กระทบแรงกว่า ถ้าเขากระทบไฟเบาๆ นิดเดียวไม่เจ็บมาก แต่ยิ่งแรงเท่าไหร่ความเจ็บยิ่งมากเท่านั้นในขณะนั้นแล้วแต่ว่า ไฟนั้นหรือความร้อนนั้นจะมากแค่ไหน นี้เป็นข้อที่ ๑

- ในโลกนี้มีตั้งแต่เจ็บนิดหน่อยจนกระทั่งมากที่สุด แต่ที่อเวจีมหานรกคิดดูความร้อนของไฟจะแรงมากกว่านี้สักเท่าไหร่เพราะฉะนั้น “กายวิญญาณ” จะเจ็บปวดสักเท่าไหร่ นี้ข้อที่ ๑ ข้อที่ ๒ จะมีการ “กระทบทางกาย” มาก บ่อย นานกว่าในมนุษย์เท่าไหร่ บ่อยๆ

- สันตีรณเกิดต่อจากอะไร (หลังจากสัมปฏิจฉันนะ) สันตีรณ “รู้สึกเจ็บ” ไหม (ไม่) เป็นอกุศลวิบากรู้สึกเจ็บไหม (ตอบว่าเจ็บ) ไม่ได้ “เจ็บ” ต้องเป็นกายวิญญาณเท่านั้น เปลี่ยนไม่ได้ต้องมั่นคงในความเข้าใจให้ถูกต้องแต่ละจิตต่างกัน

- เพราะฉะนั้นสัมปฏิจฉันนะ “เจ็บ” ไหม (ไม่) ถูกต้อง กายวิญญาณ “เจ็บ” ไหม (เจ็บ) เวลานี้เขารู้แล้วใช่ไหมว่า ขณะเจ็บเป็นจิตประเภทไหน และขณะที่เกิดก่อนและหลังไม่ใช่เป็นจิตประเภทนั้น

- ปัญจทวาราวัชชนะเจ็บไหม กายทวาราวัชชนะซึ่งเป็น ๑ ในปัญจทวาราวัชชนะเจ็บไหม (ไม่) ปัญจทวาราวัชชนะเกิดต่อจากอะไร (หลังภวังคุปเฉทะ) ภวังคุปเฉทะเกิดต่อจากอะไร (ภวังคจลนะ) ภวังคจลนะเกิดต่อจากอะไร (อตีตภวังค์) อตีตภวังค์เกิดต่อจากอะไร (ไม่ใช่ภวังค์จะเป็นจิตอะไรก็ได้) บอกเลยไม่ใช่ภวังค์เป็นจิตอะไรก็ได้ เรากำลังให้เขาคิดเพราะฉะนั้นเราถามให้เขาคิดว่า อตีตภวังค์เกิดต่อจากอะไร ลองคิดดู (เป็นวิถีจิตใดวิถีจิตหนึ่ง) ไม่ใช่ คิดดีๆ (ตอบว่า ตทาลัมพนะ)

- ยังไม่ได้พูดคำนี้เลย อย่าไปคิดเพราะว่าผิด เห็นไหมคิดเองผิด เรายังไม่ได้พูดถึงคำนี้ไปคิดได้อย่างไร แต่เขาควรจะรู้ว่า เมื่อวิถีจิตหมดแล้วอะไรเกิดต่อ (ก่อนอตีตภวังค์ต้องเป็นภวังค์)

- ต้องไม่ลืมเลย ต้องไม่ลืมเลยคิดเองไม่ได้แต่เวลาที่เขาไม่ได้คิดเขาตอบผิด แต่ถ้าค่อยๆ คิดเขาสามารถค่อยๆ เข้าใจแล้วไม่ลืม เป็นความเข้าใจของเขา เพราะฉะนั้นต้องให้เขาคิดเพราะฉะนั้นเราจะถามวนไปวนมาอย่างนี้เขาอาจจะเบื่อ แต่แสดงให้เห็นว่า ความเข้าใจเขาแค่ไหน มั่นคงแค่ไหน ถ้าเขาเข้าใจมั่นคงอย่างนี้เขาจะลืมไหม

- แต่ถ้าไม่พูดให้ละเอียดเขาจะรู้ไหมว่า ความคิดของเขาไม่ได้เป็นไปตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า ภวังค์เกิดหลายขณะมาก ผู้ที่มีภวังค์น้อยที่สุดคือ ขณะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากระทำ “ยมกปาฏิหาริย์” เท่านั้นเพราะว่าเป็นการกระทำที่ทุกสิ่งทุกอย่างปรากฏเกิดสืบต่อเร็วสุดที่จะประมาณได้เพราะฉะนั้นขณะนั้น เคยเป็นอย่างนั้นหรือเปล่าใครก็ไม่เป็น

- เพราะฉะนั้นหลังจากนี้ ที่เห็นต้องมีภวังค์เกิดหลายขณะ เราไม่รู้เลยแต่ว่าไม่ใช่ ๑ ขณะหรือ๒ ขณะ เพราะฉะนั้นจะรู้ว่า รูป ๑ รูปมีอายุ ๑๗ ขณะจิตดับเมื่อไหร่ก็ต้องรู้ว่า ขณะที่รูปนั้นเกิดกระทบภวังค์หรือเปล่าและจิตเกิดดับเท่าไหร่ ขณะไหนรูปเกิดดับ

- เรายังไม่พูดเรื่องนี้แต่เขาสามารถที่จะคิดไตร่ตรองได้เอง แต่เราจะพูดว่า อกุศลวิบากจิตทั้งหมดมีกี่ดวง (ถึงเวลาที่อาช่าต้องไปก่อน)

- ข้อสำคัญคือเราจะเก็บเรื่องนี้ไว้คราวหน้าสำหรับให้เขาคิดไตร่ตรองกัน และถ้าคุณมานิชมีคำถามอะไรก็เชิญ

- ฟังพร้อมๆ กันก็ดี เพราะฉะนั้นที่พูดกันวันนี้ก็ให้เขาไปทบทวนว่า ทุกครั้งที่ได้ฟังต้องมั่นคงอกุศลวิบากจิตมี ๗ ดวงเพราะฉะนั้นคำถามของเขาที่ถามว่า “สันตีรณจิตทำกิจอะไรบ้าง” เราจะต่อคราวหน้าเพราะต้องไม่ลืมว่า ต้องเป็นอกุศลวิบากจิต ๗ เท่านั้นไม่เปลี่ยนไม่ว่าจะเป็นอะไรทั้งหมด

- (มานิชพูดว่า เวลาฟังธรรมปลื้มปิติมาก ชอบที่ฟังมากแต่บางทีหลังจากฟัง ออกไปแล้วอกุศลก็เกิดแบบเดิม อกุศลจิตเกิดเยอะมากถึงขนาดที่ต้องมาเสียใจภายหลัง ทำไมจึงเป็นอย่างนี้)

- บอกเขาว่า เป็นธรรมดา ถ้าสิ่งนี้ไม่เกิดขึ้น เขาจะรู้มั้ย เขา “สะสม” อะไรมาบ้าง (ไม่รู้)

- ชีวิตประจำวันทำให้เห็นความจริงว่า ถ้าไม่มีเหตุที่สะสมมา ความคิดการกระทำอย่างนั้นก็เกิดไม่ได้

- (มานิชคิดต่อว่า ถ้าเป็นแบบนี้ เป็นอกุศลมากเรื่องความอดทนเล็กน้อยๆ ก็ไม่มีแล้วต่อไปจะเจริญทางธรรมได้อย่างไร) แต่ถ้าไม่มีความเข้าใจธรรมเลย เขาจะรู้ความจริงไหมว่า ทุกอย่างเป็นอนัตตาไม่ใช่เขา กุศลเป็นกุศล อกุศลเป็นอกุศล ผลของกุศลอกุศลเป็นผลของกุศลอกุศล

- กุศลสูงที่สุดในชาตินี้ที่จะเป็นปัจจัยให้ “ละคลาย” สิ่งที่ไม่ดีที่ทำไปแล้วที่สะสมมาก็คือ เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดที่ได้ปลาบปลื้มใจที่ได้เข้าใจพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ต้อง“ประพฤติตาม” ด้วยตามกำลังของความสามารถ

- ทุกคนเคยทำผิดมาแล้วมากๆ แต่สามารถที่จะรู้ความจริง รู้คุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประโยชน์มหาศาลที่เขาสามารถจะรู้ว่า อะไรผิด อะไรถูก อะไรควร อะไรไม่ควร

- สิ่งที่ผิดไปแล้วถ้าสามารถแก้ได้ต้องแก้ทันที ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับตัวเองและคนอื่น (มีความพยายามอยู่บ้างแต่ก็เห็นว่ายากมาก)

- เพราะเหตุว่า “เป็นตัวเขา” ไม่สำเร็จแต่ถ้าเขา “รู้คุณค่า” ของพระธรรม มีความมั่นคงในการที่จะเข้าใจเพิ่มขึ้น “ความเข้าใจ” เท่านั้นอย่างเดียวที่สามารถที่จะมีกำลังที่จะ “ละ” อกุศลได้ มั่นคงที่สุดที่จะเห็นสิ่งใดไม่ดีต้อง “ทิ้ง” ทันทีมิฉะนั้นก็จะเพิ่มขึ้นๆ โดยเขาไม่รู้ตัว

- เป็นบุญของเขาที่มีโอกาสได้ฟังพระธรรม ได้รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิฉะนั้นชีวิตจะลงต่ำไปจนกระทั่งไม่สามารถที่จะขึ้นมารู้ความจริงๆ ได้

- ทุกคนเป็นเพื่อนที่ดีต้องการที่จะให้เขาเข้าใจพระธรรมเพราะฉะนั้นเขารู้ว่า สิ่งใดที่ไม่ดีต้องทิ้งอย่าเก็บไว้เพราะมิฉะนั้นจะเพิ่มขึ้น

- ไม่มีสิ่งใดที่ประเสริฐเท่ากับ “พระรัตนตรัย” เป็นที่พึ่งที่แท้จริง เพราะฉะนั้นถ้าเขามีความมั่นคงว่า “ปัญญา” ความเห็นถูกเท่านั้นที่จะทำให้สิ่งที่ไม่ดีที่สะสมมาทั้งหมดค่อยๆ น้อยลงและทำความดีเพิ่มขึ้นเพราะเข้าใจธรรมขึ้น สำคัญที่สุดจึงต้องเข้าใจถูกในพระธรรม

- คนดีพร้อมที่จะให้อภัยคนอื่นแต่คนที่ได้รับการอภัยแล้ว เขาต้องรู้จริงๆ ว่า เขาจะต้องดีขึ้นมิฉะนั้นแล้วถึงคนอื่นจะอภัยแต่ความไม่ดีก็ยังมีอยู่ คนดีให้อภัยพร้อมที่จะให้อภัยทุกคนที่ไม่ดีแต่ว่า เมื่อคนอื่นอภัยแล้แต่ตัวเขายังไม่ดีอยู่ก็ไม่มีประโยชน์อะไร

- คนอื่นไม่สำคัญเลยเขาจะให้อภัยหรือไม่ให้อภัย แต่คนที่เข้าใจถูกต้องถึงประโยชน์ถึงคุณค่าของการที่ชีวิตจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีเมื่อมีความเข้าใจขึ้น เห็นประโยชน์อย่างยิ่งของความเข้าใจจึงศึกษาด้วยความละเอียดอย่างยิ่งเพื่อเป็นที่พึ่งในการที่จะ “ละชั่ว”

- สิ่งที่ไม่ดีที่ทำไปแล้วต้องให้ผลแน่นอน เพราะฉะนั้นก็ควรที่จะเข้าใจและทำแต่ความดีเพื่อที่จะให้ความดีนั้นให้ผล และผลของความดีก็คือเป็นคนดีขึ้นๆ และมีปัญญาความเข้าใจยิ่งขึ้น จึงจะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ทำให้ปลาบปลื้มยิ่งขึ้น

- ธรรมละเอียดลึกซึ้งยากที่จะรู้ได้แต่ว่า ถ้ามีความเข้าใจที่สะสมมาซึ่งเราไม่ทราบว่า คุณมานิชสะสมอะไรมาบ้างแต่ก็สะสมความเข้าใจที่จะเห็นประโยชน์ต้องมั่นคงขึ้นในคุณความดี

- อกุศลทั้งหมดทุกชนิดมากน้อยไม่นำสิ่งที่ดีมาให้เลย ต้องเห็นโทษภัยของอกุศลแม้เพียงเล็กน้อยว่า “กั้น” ไม่ให้มีความเข้าใจพระธรรมในขณะที่เป็นอกุศล

เพราะฉะนั้นผู้ที่เห็นประโยชน์จริงๆ เห็นคุณของกุศลจึงไม่ละเว้นโอกาสที่จะเป็นกุศล

- อกุศลไม่ใช่บารมีเพราะเหตุว่า เป็นความไม่รู้จึงไม่สามารถที่จะทำให้เข้าใจความจริงของสิ่งที่เป็นความจริงของขณะนี้ได้

- ผู้ที่เห็นประโยชน์ของกุศลจึงเห็นโทษของอกุศลและเมื่อเห็นโทษแล้วก็เว้นอกุศล ขณะที่เว้นอกุศลและเป็นกุศลเป็นบารมีที่ค่อยๆ ทำให้เพิ่มขึ้นจนกระทั่งเข้าใจประโยชน์ของบารมีที่จะทำให้เข้าใจธรรมได้

- ทุกคนเดินทางไกลมาแล้วในสังสารวัฏฏ์และมีโอกาสในระหว่างที่เดินทางได้มีโอกาสได้พบสิ่งที่ประเสริฐที่สุดคือ พระธรรม เพราะฉะนั้นเมื่อเห็นประโยชน์อย่างนี้ก็รู้ว่า ในชีวิตแต่ละชาติ ชาติก่อน ชาติต่อไปไม่รู้ว่ามีโอกาสจะได้พบได้ฟังพระธรรมไหม แต่ชาตินี้กำลังได้พบเป็นโอกาสที่ประเสริฐสุดที่จะได้เข้าใจพระธรรมและมีพระธรรมเป็นที่พึ่งในการที่จะเป็นคนดีที่จะรู้ความจริง

- คนที่ได้รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งก็เป็นผู้ที่มีความหวังดีต่อคนอื่นเป็นมิตรซึ่งกันและกัน และช่วยเหลือกันทุกประการที่จะให้ทุกคนละความไม่ดีและเพิ่มความดีขึ้น

- เราต้องอาศัยกันและกันช่วยกัน เข้าใจธรรมขึ้นเพื่อที่จะได้ทำความดีเพิ่มขึ้นจนกระทั่งความไม่ดีและความไม่รู้น้อยลงเป็นประโยนช์สูงสุดของชาตินี้ซึ่งเราไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่

- เพราะฉะนั้นทำความดี “ทันที” ไม่ละเว้นเพราะว่า โอกาสนั้นอาจจะไม่มีอีกแล้วก็ได้

- ทุกคนมี “เพื่อนธรรม” ที่หวังดีต่อกัน เป็นกำลังใจซึ่งกันและกัน สบายใจขึ้นไหม (คุณมานิชตอบว่าสบายใจขึ้น)

- เพราะฉะนั้นทำความดีต่อไป ศึกษาสิ่งที่มีค่าที่สุดในสังสารวัฏฏ์คือ เข้าใจพระธรรมในความลึกซึ้งต่อไป

- ชีวิตจะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่ไม่มีใครรู้เลย เดี๋ยวนี้ก็ได้เพราะฉะนั้นทำ “ความดีและเข้าใจพระธรรม”

หวังว่าทุกคนจะมั่นคงในพระธรรมยิ่งขึ้นเพราะเป็นประโยชน์สูงสุดไม่มีประโยชน์ใดเท่าเทียมได้เลย

- เพราะประโยชน์สูงสุดก็คือ ได้เข้าใจความจริงว่า “ไม่มีเรา” ทุกอย่างเป็นสิ่งที่มีจริงที่เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย

- ถ้าคุณมานิชศึกษาธรรม ตรึกตรองธรรมแล้วมีอะไรที่สงสัยใคร่ที่จะได้สนทนากันก็ขอเชิญทุกครั้งเลย

- ดิฉันยินดีที่สุดที่จะให้คนอื่นได้ปลาบปลื้มยิ่งขึ้นในความมั่นคงต่อพระรัตนตรัย

- ไม่รีรอถ้ามีปัญหาก็เชิญสนทนาต่อไปเลยนะคะ สวัสดีค่ะ


ความคิดเห็น 2    โดย prinwut  วันที่ 18 มี.ค. 2566

กราบบูชาด้วยความนอบน้อมต่อพระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้า

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ยินดียิ่งในกุศลของคุณสุคินและผู้ร่วมสนทนาธรรมชาวอินเดียทุกท่านครับ


ความคิดเห็น 3    โดย Junya  วันที่ 18 มี.ค. 2566

กราบยินดีในกุศลวิริยะของคุณตู่เป็นอย่างยิ่งค่ะ เกื้อกูลและเป็นประโยชน์มากค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย เมตตา  วันที่ 19 มี.ค. 2566

ขอบพระคุณ และยินดีในความดีค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย khampan.a  วันที่ 19 มี.ค. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่ตู่ ปริญญ์วุฒิด้วยครับ


ความคิดเห็น 6    โดย siraya  วันที่ 19 มี.ค. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณตู่ ปริญญ์วุฒิค่ะ


ความคิดเห็น 7    โดย chatchai.k  วันที่ 19 มี.ค. 2566

กราบอนุโมทนาครับ