ผู้ไร้กิเลสสามารถครองตัวในรูปแบบฆราวาสต่อได้หรือไม่
โดย suthon  23 ก.ค. 2549
หัวข้อหมายเลข 1674

อยากทราบว่าผู้ที่ไร้กิเลสแล้ว ถ้าไม่บวชในวันที่บรรลุธรรม จะต้องดับขันธ์ภายในวันนั้น หรือไม่เกิน 7 วันเลยหรือ มีกล่าวอ้างในพระไตรปิฏกหรือไม่


ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 24 ก.ค. 2549

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 445

ข้อความบางตอนจากอรรถกถาเตวิชชวิจฉสูตร .......... บทว่า นตฺถิ โข วจฺฉ ดูก่อนวัจฉะ ไม่มีเลย คือ ผู้ยังไม่ละคิหิสังโยชน์ ชื่อว่าจะทำที่สุดทุกข์ย่อมไม่มี. แม้บุคคลเหล่าใดดำรงเพศคฤหัสถ์คือ สันตติมหาอำมาตย์ อุคคเสนะ เศรษฐีบุตร วีตโสกธารกะ ก็บรรลุพระอรหัตได้. แม้บุคคลเหล่านั้น ก็ยังความใคร่ในสังขารทั้งปวงให้แห้งไปด้วยมรรคแล้วบรรลุได้. แต่เมื่อบรรลุแล้วก็ไม่ตั้งอยู่ด้วยเพศนั้น. ชื่อว่าเพศคฤหัสถ์นี้เลว ไม่สามารถทรงคุณอันสูงสุดไว้ได้. เพราะฉะนั้น ผู้ตั้งอยู่ในเพศคฤหัสถ์นั้น บรรลุพระอรหัตแล้วย่อมบวช หรือปรินิพพานในวันนั้นเอง. แต่ภุมมเทวดายังดำรงอยู่ได้. เพราะเหตุไร. เพราะมีโอกาสที่จะแฝงตัวอยู่ได้.ฯลฯ


ความคิดเห็น 2    โดย aditap  วันที่ 24 ก.ค. 2549
ขอคำอธิบายที่ว่า "มีโอกาสที่จะแฝงตัวอยู่ได้" ด้วยครับ

ความคิดเห็น 3    โดย study  วันที่ 25 ก.ค. 2549

"มีโอกาสที่จะแฝงตัวอยู่ได้" น่าจะหมายถึง สถานที่หลีกเร้นที่เหมาะสม


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 ก.ค. 2549

ในมิลทปัญหา เมณฑกปัญหา วรรดที่หก คิหิอรหัตตปัญหาที่ ๕๒ ได้แสดงไว้

ชัดเจนว่าคฤหัสถ์ทีบรรลุคุณธรรมเป็นพระอรหันต์ แต่ไม่ได้บวชจะต้องปรินิพพานใน

วันนั้น แม้ในสมัยครั้งพุทธกาล ผู้ที่เป็นคฤหัสถ์บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วท่านก็ออก

บวชภายในวันนั้น เช่น พระนางเขมา และท่านอื่นๆ และผู้ที่ไม่บวชก็ปรินิพพานในวัน

นั้น เช่น พระเจ้าสุทโธทน สันตติมหาอมาตย์ เป็นต้น

โดย : มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา : - วันที่ : 14-06-2548


ความคิดเห็น 5    โดย siwa  วันที่ 17 ต.ค. 2549

อยากทราบว่านิพพานใช้กับผู้ที่มีชีวิตอยู่ (จิตหมดกิเลส) ได้หรือไม่ค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย study  วันที่ 17 ต.ค. 2549


คำว่า นิพพาน ใช้กับผู้ที่มีชีวิตอยู่ได้ หมายถึง กิเลสนิพพาน


ความคิดเห็น 7    โดย siwa  วันที่ 18 ต.ค. 2549

ขอบพระคุณค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย siwa  วันที่ 18 ต.ค. 2549

ดังนั้นผู้ที่มีชีวิตอยู่ได้โดยจิตหมดกิเลส (กิเลสนิพพาน) ย่อมหมายถึง พระ

อริยบุคคลขั้นสูงสุด ก็คือพระอรหันต์บุคคลเท่านั้น ไม่ทราบว่าดิฉันเข้าใจถูกต้อง

หรือไม่ค่ะ


ความคิดเห็น 9    โดย study  วันที่ 18 ต.ค. 2549
ถูกต้องครับ