พึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่น
โดย pirmsombat  9 พ.ย. 2554
หัวข้อหมายเลข 19999

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 599

.........................

[๙๔๘] ภิกษุไม่พึงลุอำนาจแห่งความโกรธและความดูหมิ่น

พึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่ อนึ่ง

ภิกษุเมื่อปราบก็พึงปราบที่รักและที่เกลียดชังเสียโดยแท้.

ความโกรธและความดูหมิ่น

[๙๔๙] ชื่อว่า ความโกรธ ในคำว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจ

ความโกรธและความดูหมิ่น คือ ความอาฆาต ความมุ่งร้าย ฯลฯ

ความเป็นผู้ดุร้าย ความเพราะวาจาชั่ว ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต ชื่อว่า

ความดูหมิ่น คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมดูหมิ่นผู้อื่น โดยชาติบ้าง

โดยโคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอื่นๆ บ้าง. คำว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจ

ความโกรธและความดูหมิ่น ความว่า ไม่พึงลุอำนาจความโกรธและความ

ดูหมิ่น คือ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความโกรธ

และความดูหมิ่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจความโกรธ

และความดูหมิ่น.

รากของความโกรธและความดูหมิ่น

[๙๕๐] รากแห่งความโกรธ ในคำว่า พึงขุดรากความโกรธและ

ความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่ เป็นไฉน อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ

อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ (แต่ละอย่าง) เป็นรากแห่งความโกรธ.

รากแห่งความดูหมิ่นเป็นไฉน อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ

อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ (แต่ละอย่าง) เป็นรากแห่งความดูหมิ่น.

คำว่า พึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่ ความว่า พึงขุด

รื้อ ถอน ฉุด กระชาก ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี

ซึ่งความโกรธและความดูหมิ่นเสียดำรงอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงขุด

รากความโกรธและความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่.

ว่าด้วยที่รัก ๒ อย่าง

[๙๕๑] บทว่า อถ ในคำว่า อนึ่ง ภิกษุ เมื่อปราบก็พึงปราบที่รัก

และที่เกลียดชังเสียโดยแท้ เป็นบทสนธิ เป็นบทอุปสัค เป็นบทปท-

ปูรณะ ศัพท์ที่ประชุมอักขระ เป็นศัพท์สละสลวยด้วยพยัญชนะ เป็นลำดับ

บท. ชื่อว่าเป็นที่รัก ได้แก่ที่รัก ๒ อย่าง คือ สัตว์ ๑ สังขาร ๑ สัตว์เป็น

ที่รักเป็นไฉน สัตว์ในโลกนี้เป็นผู้ปรารถนาความเจริญ ปรารถนาประโยชน์

เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความปลอดโปร่งจากโยคกิเลส

แก่บุคคลนั้น คือ เป็นมารดาบิดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิง บุตร

ธิดา มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต (ผู้สืบสาย) สัตว์เหล่านี้ ชื่อว่าเป็น

ที่รัก. สังขารเป็นที่รักเป็นไฉน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อัน

เป็นที่ชอบใจ สังขารเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นที่รัก ชื่อว่าที่เกลียดชัง ได้แก่เป็น

ที่เกลียดชัง ๒ อย่าง คือ สัตว์ ๑ สังขาร ๑ สัตว์เป็นที่เกลียดชังเป็นไฉน

สัตว์ในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ปรารถนาความเจริญ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็น

ประโยชน์เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่ปลอดโปร่ง

จากโยคกิเลส ปรารถนาจะปลงเสียจากชีวิต แก่บุคคลนั้น สัตว์เหล่านี้

ชื่อว่าเป็นที่เกลียดชัง. สังขารเป็นที่เกลียดชังเป็นไฉน รูป เสียง กลิ่น

รส โผฏฐัพพะ อันไม่เป็นที่ชอบใจ สังขารเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นที่เกลียดชัง.

คำว่า โดยแท้ เป็นคำกล่าวโดยส่วนเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่มีความสงสัย

เป็นคำกล่าวโดยไม่มีความเคลือบแคลง เป็นคำกล่าวไม่เป็นสองส่วน เป็น

คำกล่าวไม่เป็นสองอย่าง เป็นคำกล่าวมิได้รวมกัน เป็นคำกล่าวไม่ผิด.

คำว่า โดยแท้นี้ เป็นคำกล่าวกำหนดแน่. คำว่า อนึ่ง ภิกษุเมื่อปราบ

ก็พึงปราบที่รักและที่เกลียดชังเสียโดยแท้ ความว่า ภิกษุเมื่อปราบก็พึง

ปราบ เมื่อย่ำยีพึงย่ำยีซึ่งที่รักและที่เกลียดชัง ที่ยินดีและยินร้าย สุขและ

ทุกข์ โสมนัสและโทมนัส อิฐารมณและอนิฐารมณ์ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า อนึ่ง ภิกษุเมื่อปราบก็พึงปราบที่รักและที่เกลียดชังเสียโดยแท้

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ภิกษุไม่พึงลุอำนาจแห่งความโกรธ และความดูหมิ่น

พึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่ อนึ่ง

ภิกษุเมื่อปราบก็พึงปราบที่รักและที่เกลียดชังเสียโดยแท้.



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 10 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย[๙๔๘] ภิกษุไม่พึงลุอำนาจแห่งความโกรธและความดูหมิ่น

พึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่ อนึ่ง

ภิกษุเมื่อปราบก็พึงปราบที่รักและที่เกลียดชังเสียโดยแท้.

ความโกรธและความดูหมิ่น

เมื่อความโกรธเกิดขึ้น เมื่อความโกรธมีกำลัง ย่อมลุอำนาจด้วยกิเลส ทำให้มีการกล่าว

ร้าย ว่าร้าย เพราะอาศัยความโกรธที่มีกำลังนั่นเองครับ ผู้มีปัญญา ย่อมพิจารณาตาม

ความเป็นจริง ด้วยความเป็นแต่เพียงสภาพะรรม ไม่ใช่เรา ไม่มีสัตว์ บุคคลที่กระทำ

ความผิดให้และไม่มีเราที่ได้รับสิ่งที่ไมด่ดี มีแต่เพียง จิต เจตสิกที่เกิดขึ้นและดับไป

การอบรมสติปัฏฐาน เข้าใจความจริงของสภาพธรรม จึงเป็นการก้าวล่วงความโกรธ

เพราะเข้าใจความจริง จนสามารถดับความโกรธ ไม่ลุอำนาจความโกรธได้ในอนาคต

ครับ

ความดูหมิ่น เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ตราบใดที่ยังมีกิเลส ย่อมเกิดความดูหมิ่น เพราะ

ชาติ ย่อมดูหมิ่นเพราะตระกูล ย่อมเกิดความดูหมิ่นเพราะความมีทรัพย์ ย่อมดูหมิ่นเพราะ

สักการะ สรรเสริญ เป็นต้น แต่เมื่อเป็นผู้มีปัญญา ก็ย่อมพิจารณาเบื้องต้นถึงความที่

สัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน การจะได้รับสิ่งใดก็ตามเหตุ ที่ทำมาแต่ละคน ความดูหมิ่น ก็

เป็นเพียงหลงเข้าใจผิดว่ามีสิ่งต่างๆ มีทรัพย์ มีตระกูล ก็ถูกโลกสมมติหลอกให้เกิดความ

ดูหมิ่น แต่ในความเป็นจริง ก็มีแต่สภาพธรรมทีเกิดขึ้นและดับไปครับ การอบรมสติ

ปัฏฐานจึงเป็นหนทางการก้าวล่วงความดูหมิ่นประการทั้งปวงเพระาเข้าใจว่าเป็นแต่

เพียงธรรม ไม่มีเรา ไม่มีตระกูล ไม่มีทรัพย์สมบัติและจะดูหมิ่นในสิ่งที่ไม่มีจริงได้อย่างไร

ครับ

ภิกษุเมื่อปราบก็พึงปราบที่รักและที่เกลียดชังเสียโดยแท้.

ความโกรธและความดูหมิ่น

การปราบสิ่งที่รักและไม่รัก ก็ไม่ใช่ด้วยวิธีอื่นก็ด้วยการอบรมปัญญารู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่

เรา สิ่งที่รักก็มีทั้งที่เป็นสมมติ คือ สัตว์ บุคคล พี่น้อง ภรรยา เป็นต้นและสิ่งทีเป็นที่รัก

ที่เป็นสภาพธรรม เช่น รูปที่น่าพอใจ เสียง กลิ่น รส เป็นต้น หนทาง คือ ละความยินดี

พอใจในสัตว์ สังขาร แต่ไม่ใช่ให้สภาพธรรมเหล่านี้ไม่เกิด เกิดแล้ว แต่เข้าใจสิ่งทีเกิด

แล้วว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราครับ และสิ่งที่เกลียดชังก็โดยนัยเดียวัน มีทั้งที่เป็นส สัตว์

บุคคลทีเกลียดชังและ สภาพธรรมทีไม่ดีด้วย หนทางก็ไม่พ้นจากการรู้ลักษณะของ

สภาพธรรมไม่ใช่เราครับ

พึงขุดรากแห่งความโกรธ

เหตุของความโกรธก็ไม่พ้นจากสภาพธรรมทีเป็นกิเลสทั้งหลาย มี อวิชชา เป็นต้น ขุด

รากด้วยปัญญา ไม่ใชเราที่จะพยายามไม่ให้โกรธ ถ้าไม่เข้าใจว่าเป็นธรรมก่อน ก็ไม่

สามารถขุดรากความโกรธได้เลยครับ

ขออนุโมทนาคุณหมอและทุกๆ ท่านครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 2    โดย วิริยะ  วันที่ 10 พ.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย khampan.a  วันที่ 10 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขออนุญาตร่วมสนทนา ด้วยครับ การที่ยังมีความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ ความโกรธ เกิดขึ้น รวมไปถึงความดูหมิ่นผู้อื่น ด้วยเหตุต่างๆ ก็เพราะยังเป็นผู้มีกิเลสอยู่นั่นเอง ซึ่งจะเห็นไ้ด้ว่า สิ่งร้ายๆ ทั้งหลาย สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย จะมาจากไหน ถ้าไม่ใช่เป็นเพราะกิเลส แต่ถ้าเป็นผู้ที่ดับกิเลสหมดแล้ว ความโกรธ ก็ไม่มี การดูหมิ่นผู้อื่นก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นแล้ว ความประพฤติเป็นไปของผู้ที่เต็มไปด้วยกิเลส และผู้ที่ดับกิเลสไ้ด้อย่างหมดสิ้นแล้ว จึงมีความต่างกันอย่างเทียบกันไม่ได้ แต่ถึงแม้ว่าจะมีกิเลสมากมายสักเพียงใดก็ตาม มี โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็จะต้องถูกทำลาย ถูกถอนจนหมดสิ้น เมื่อได้อบรมเจริญปัญญา จนกว่าปัญญาจะถึงความสมบูรณ์บริบูรณ์ในที่สุด เมื่อนั้นก็จะสามารถดับกิเลสได้ตามลำดับขั้น ซึ่งกิเลสที่ดับได้แล้วก็จะไม่เกิดขึ้นอีกเลย ครับ. ...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอและทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 4    โดย เซจาน้อย  วันที่ 10 พ.ย. 2554

...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอและทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 5    โดย pirmsombat  วันที่ 10 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณและอนุโมทนาในกุศลจิตของ

คุณผเดิม คุณคำปั่น คุณเซจาน้อยและทุกท่านครับ


ความคิดเห็น 6    โดย สมศรี  วันที่ 11 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณและอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ


ความคิดเห็น 7    โดย nong  วันที่ 11 พ.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย orawan.c  วันที่ 11 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ



ความคิดเห็น 9    โดย ผู้ร่วมเดินทาง  วันที่ 11 พ.ย. 2554
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอ อาจารย์ผเดิม อาจารย์คำปั่น และทุกท่านครับ