เจริญวิปัสสนา มีปัจจัยใดทำให้ เกิดขึ้น
โดย ใหญ่ราชบุรี  18 ก.ค. 2556
หัวข้อหมายเลข 23201

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอเรียนถามค่ะ

เจริญวิปัสสนา คืออะไร ประกอบมาจากคำใด มีปัจจัยใดทำให้ เกิดขึ้น มีขึ้น เจริญขึ้น สะสมได้ที่ไหนอย่างไรหรือไม่ ช่วยยกตัวอย่างคำนี้ที่ปรากฏในพระไตรปิฎกด้วยค่ะ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาสำหรับคำตอบค่ะ



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 18 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เจริญวิปัสสนา คืออะไร ประกอบมาจากคำใด

เจริญวิปัสสนา มาจากคำว่า วิปัสสนาภาวนา

ภาวนา หมายถึง การอบรมเจริญ การยังกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ภาวนาจึง ไม่ใช่เป็นการไปทำอะไรด้วยความไม่รู้ ไม่ใช่การท่องบ่น ไม่ใช่เป็นการต้องการที่ จะกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยความไม่รู้ ด้วยความไม่เข้าใจ แต่เป็นการอบรม เจริญกุศลให้มีขึ้น ให้เจริญยิ่งขึ้น

ในทางพระพุทธศานา แสดงถึงภาวนา ๒ ที่เป็นสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา สมถภาวนา เป็นการอบรมความสงบของจิตจนบรรลุฌานขั้นต่างๆ เมื่อฌานไม่เสื่อม ตายไปเกิดที่พรหมโลก

วิปัสสนาภาวนาเป็นการอบรมปัญญา เมื่อปัญญาเจริญยิ่งขึ้น ย่อมรู้ความจริง คือ รู้แจ้งอริยสัจจธรรมทั้ง ๔ ละกิเลสได้ตามลำดับมรรค สูงสุดคือ บรรลุความเป็นพระอรหันต์ ดับภพชาติไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

วิปัสสนา คือ ปัญญาที่รู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ว่าไม่เที่ยง เป็น ทุกข์และเป็นอนัตตา ตามความเป็นจริง เช่น ขณะที่สติปัฏฐานเกิดระลึกรู้ ลักษณะ ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เมื่อว่าโดยศัพท์ และ อธิบายโดยละเอียดเป็นขั้นๆ ดังนี้ ครับ

วิ (วิเศษ แจ้ง ฯ) + ปสฺสนา (เห็น) + ภาวนา (การอบรม การเจริญ)

การอบรมเพื่อความเห็นแจ้ง การเจริญปัญญาเพื่อเห็นอย่างวิเศษ หมายถึง การเจริญปัญญาเพื่อเห็นแจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริงตามลำดับขั้น จากขั้นต้นคือ การอบรมสติปัฏฐาน เป็นการเจริญวิปัสสนาเพื่อเห็นแจ้งลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม จนสติปัฏฐานถึงความสมบูรณ์ วิปัสสนาญานซึ่งเป็นปัญญาที่เกิดขึ้น พร้อมกับมหากุศลจิตญาณสัมปยุตต์ จึงเกิดขึ้นเห็นสภาพธรรมอย่างวิเศษ คือ ประจักษ์แจ้งไตรลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม วิปัสสนาญาณจะเกิดขึ้นเป็นไป ตามลำดับขั้นของปัญญาที่เจริญยิ่งขึ้น ตั้งแต่วิปัสสนาญาณที่ ๑ (นามรูปปริจเฉท ญาณ) จนถึงวิปัสสนาญาณที่ ๑๒ (อนุโลมญาณ) จะมีสังขารคือนามธรรมและรูป ธรรมเป็นอารมณ์วิปัสสนาญาณที่ ๑๓ (โคตรภูญาณ) วิปัสสนาญาณที่ ๑๔ (มรรคญาณ) วิปัสสนาญาณที่ ๑๕ (ผลญาณ) มีวิสังขารคือพระนิพพานเป็น อารมณ์ วิปัสสนาญาณที่ ๑๖ (ปัจจเวกขณญาณ) มีมรรคจิต ผลจิต พระนิพพาน กิเลสที่ละแล้ว และกิเลสที่เหลืออยู่ เป็นอารมณ์

เชิญคลิกฟังคำบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์ที่นี่ ครับ

ความหมายของวิปัสสนา

วิปัสสนาคืออะไร ๑

วิปัสสนาคืออะไร ๒

วิปัสสนาคืออะไร ๓

วิปัสสนาคืออะไร ๔

วิปัสสนาหมายถึงปัญญาที่รู้ชัด


คำถามที่ว่า (วิปัสสนา) มีปัจจัยใดทำให้ เกิดขึ้น มีขึ้น เจริญขึ้น สะสมได้ที่ไหนอย่างไรหรือไม่

วิปัสสนา เป็นปัญญาที่รู้ความจริงของสภาพธรรมในขณะนี้ อันเป็นปัญญาขั้น ปฏิบัติ เพราะฉะนั้น ก่อนจะถึงปัญญาขั้นปฏิบัติ ก็จะต้องเริ่มจากรอบรมปัญญาขั้น การฟังในขั้นปริยัติ ปริยัติในที่นี้ไม่ได้หมายถึง การจำศัพท์ได้มาก ชื่อได้มากไม่ชื่อ ว่าเป็นปริยัติที่จะนำไปสู่ปฏิบัติ แต่ จะต้องเป็นปัญญาที่เริ่มเข้าใจจากขั้นการฟังที่จะ เป็นสัจจญาณ คือ มั่นคงด้วยความเข้าใจว่า ขณะนี้เป็นธรรม สิ่งที่ศึกษาเป็นธรรม ย่อมจะเป็นปัจจัยให้เกิดปัญญาขั้นปฏิบัติ คือ สติปัฏฐานเกิดเป็นวิปัสสนาที่รู้ความจริง ด้วย สติ และ ปัญญาที่รู้ตรงลักษณะของสภาพธรรม รู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราครับ ซึ่ง จะสะสมได้ที่ไหน ก็สะสมที่ใจ ที่เริ่มค่อยๆ มีความเข้าใจขึ้นทีละน้อย จากการฟัง พระธรรมที่ถูกต้อง โดยเฉพาะในเรื่องของสภาพธรรมครับ สมดังในพระไตรปิฎกที่ แสดงไว้ว่า เหตุใกล้ให้เกิด สติปัฏฐาน หรือเกิดวิปัสสนา คือ สัญญาที่มั่นคง ซึ่งความจำ หรือสัญญาเจตสิก เกิดกับจิตทุกดวง หมายความว่า ไม่ว่าจะเป็นกุศลหรือ อกุศล สัญญา ความจำ ต้องเกิดด้วยเสมอดังนั้นตามปกติ ในชีวิตประจำวัน กุศลหรือ อกุศลเกิดขึ้นมาก ก็ต้องเป็นอกุศล ดังนั้น สัญญาความจำตามปกติในวันๆ หนึ่ง ก็จำ ผิด จำด้วยความเป็นเรา เป็นตัวตน เป็นความจำที่มั่นคงในทางที่ผิด ซึ่งไม่ใช่เหตุให้ เกิดสติปัฏฐานแน่นอนครับ แต่การจำที่มั่นคงที่จะเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิดนั้น คือ ขณะที่ฟังเข้าใจในเรื่องสภาพธัมมะ ว่า ธรรมคืออะไร อยู่ในขณะไหน ขณะที่เข้าใจ ขณะที่ฟัง ก็มีสัญญา ความจำเกิดด้วย ขณะที่เข้าใจในเรื่องสภาพธัมมะที่กำลังฟัง ขณะนั้นก็เริ่มสะสม การจำถูก (เพราะมีปัญญาเกิดร่วมด้วย) จำว่าเป็นธรรมเท่านั้น ใน ขณะนี้ (แม้ขั้นการฟัง) ไม่ต้องไปหาธรรมที่อื่น ฟังจนเข้าใจ จนเหตุปัจจัยพร้อม ความจำที่มั่นคง อันเนื่องมาจากการฟังพระธรรมในเรื่องสภาพธัมมะที่มีในขณะนี้ว่า เป็นธรรมไม่ใช่เรา ก็เป็นปัจจัยให้สติเกิดขึ้น (สติขั้นสติปัฏฐาน) ระลึกสภาพธัมมะที่มี ในขณะนี้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เราตรงตามสภาพธัมมะที่กำลังปรากฏโดยไม่ใช่ขั้นคิดนึก และขั้นการฟังครับ แต่ที่สำคัญ ความจำหรือสัญญาที่มั่นคง ที่จะเป็นปัจจัยให้สติ เกิด ต้องจำถูกในเรื่องสภาพธัมมะ โดยมีปัญญาเกิดร่วมด้วยกับสัญญานั้น จึงจะ เป็นปัจจัยให้สติเกิดครับ

ช่วยยกตัวอย่างคำนี้ที่ปรากฏในพระไตรปิฎกด้วย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 406

[๓๗๙] ธรรม ๒ อย่าง ควรเจริญเป็นไฉน คือ สมถะ และ วิปัสสนา ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ ควรเจริญ

พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 353

ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง ที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา

[๒๗๕] ๒๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอมรมจิต จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้วิปัสสนาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 266

[๔๖๑] ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร เป็นผู้ฉลาด ในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา เป็น ผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วย อาการเท่าไร.

ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วย อาการ ๙ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ พระเสขะเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 2    โดย khampan.a  วันที่ 18 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

วิปัสสนา เป็นเรื่องของปัญญาที่รู้แจ้งซึ่งสภาพธรรมตามความเป็นจริงซึ่งจะขาด ปัญญาตั้งแต่ในขั้นการฟังการศึกษาไม่ได้เลย พระอริยสาวกในอดีตที่ได้รู้แจ้งอริย สัจจธรรม ก็เพราะได้อบรมเจริญวิปัสสนา ทั้งนั้น ครับ

คำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

"พระพุทธศาสนา เป็นคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงแสดงธรรม ที่พระองค์ทรงตรัสรู้เพื่อให้บุคคลอื่นได้เข้าใจถูกต้องตรงตามความเป็นจริงเช่นเดียว กับที่พระองค์ทรงตรัสรู้ หมายความว่า ควรรู้ หรือเข้าใจตั้งแต่ต้น ว่า พระพุทธศาสนา เป็นคำสอนของใคร ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสอนเรื่องอะไร ทรงสอนเรื่องความจริง หรือ สัจจธรรม ที่สามารถรู้ตาม จนถึงประจักษ์แจ้งความจริง และดับความไม่รู้ ดับกิเลสได้ตามลำดับขั้นของปัญญา เพราะฉะนั้นพระพุทธศาสนา จึงเป็นเรื่องของปัญญา ทั้งหมด

คำสอนในพระพุทธศาสนา ทั้งหมด ไม่ได้มีคำแนะนำให้ทำ แต่เป็นเรื่องของ บุคคลผู้ศึกษานั้นเอง ที่ควรเข้าใจตั้งแต่ต้นว่าตนเองได้รู้จักพระพุทธศาสนาแล้วหรือ ยังว่าคำสอนของพระพุทธเจ้า ทรงสอนให้ เข้าใจสัจจธรรม ไม่ใช่สอนให้ทำ โดยที่ไม่ เข้าใจอะไรเลย ทรงสอนให้เข้าใจว่า ขณะนี้มีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏซึ่งตั้งแต่เกิด จนตายก็เกิดดับสืบต่อตลอดเวลาไม่ขาดสาย แต่ไม่เคยรู้จักสภาพธรรมนั้นๆ ตาม ความเป็นจริงว่า สภาพธรรมที่กำลังปรากฏนั้น คือ อะไร และ มีการยึดถือสภาพธรรม เหล่านั้น ว่าเป็น ตัวตน ซึ่งหากจะเข้าใจจริงๆ ว่า ขณะไหนเป็นเรา เป็นตัวตน ก็คือ เมื่อได้ฟังพระธรรมคำสอนของพระองค์เมื่อได้ฟังแล้วเกิดความเข้าใจ ก็จะทราบตาม ความเป็นจริง ว่าไม่มีสิ่งที่เคยยึดถือว่า เป็นตัวตน เป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคล มีแต่สภาพธรรมที่เกิดดับสืบต่อตามเหตุ ตามปัจจัย ซึ่งหมายถึงสภาพธรรมที่มีจริงๆ แต่ละขณะเท่านั้น"

การที่ปัญญาจะเจริญขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสม ความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อย ครับ

...กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

และ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 3    โดย wannee.s  วันที่ 18 ก.ค. 2556

วิปัสสนา คือ ปัญญาที่ประจักษ์สภาพธรรม โดยต้องเริ่มจากการฟัง การพิจารณา การเจริญสติปัฏฐาน ค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย Boonyavee  วันที่ 18 ก.ค. 2556

ขอกราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย nopwong  วันที่ 18 ก.ค. 2556

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 6    โดย Rodngoen  วันที่ 19 ก.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 7    โดย SOAMUSA  วันที่ 22 ก.ค. 2556

ภาวนา หมายถึง การอบรมเจริญ, การยังกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ภาวนาจึง ไม่ใช่เป็นการไปทำอะไรด้วยความไม่รู้ ไม่ใช่การท่องบ่น


เรียนอาจารย์ค่ะ

คำว่า ภาวนา มีทั้งในสมถ และ วิปัสสนา ในสมถกรรมฐานนั้น ภาวนาก็ยังมีการพูดคำบริกรรมอยู่นะคะ เช่น ในปถวีกสิณ อันดับแรกคือบริกรรมภาวนา ก็ยังพูดว่า ปถวีๆ ๆ ๆ ฯ ขณะที่เพ่งองค์ปถวีกสิณ บริกรรมภาวนาว่า ปถวีๆ ๆ ขณะเพ่งองค์ปถวีกสิณนี้ต่างจากการท่องบ่นอย่างไรคะ


ความคิดเห็น 8    โดย surat  วันที่ 22 ก.ค. 2556

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 9    โดย nong  วันที่ 28 ก.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 10    โดย papon  วันที่ 31 ก.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 11    โดย chatchai.k  วันที่ 24 ต.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ