อยากได้บทสวดอนุศาสน์ 8 เป็นภาษบาลีครับ
โดย พระบอม  25 ส.ค. 2554
หัวข้อหมายเลข 19576

บทสวดอนุศาสน์ 8 เป็นภาษาบาลีครับ ผมหาไม่เจอสักที ขอแบบที่อ่านง่ายง่ายนะครับ

แบบตัวจุดผมอ่านไม่เก่ง เอาแบบที่เขียนเป็นภาษาไทยแต่อ่านเป็นบาลีนะ ครับง่ายดี



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 25 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระัรัตนตรัยอนุศาสน์ คือ คำสอนเบื้องต้นที่พระอุปัชฌาย์หรือกรรมวาจาจารย์บอกแก่ภิกษุผู้บวช

ใหม่ในเวลาอุปสมบท มี ๘ ข้อ แบ่งเป็น นิสัย ๔ และ อกรณียะ ๔นิสัย ๔ คือปัจจับเครื่องอาศัยของบรรพชิต๑. เที่ยวบิณฑบาต

ภิกษุในพุทธศาสนาไม่มีอาชีพอื่น แต่ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยอาศัยโภชนะคือคำข้าวอันหา

ได้ด้วยปลีแข้ง ด้วยการรับอาหารจากชาวบ้านโดยกิริยาที่มิใช่โดยการออกปาก เรียกว่า

การบิณฑบาต

ส่วนภัตที่ได้โดยวิธีอื่น เช่น ภัตถวายสงฆ์ ภัตเฉพาะสงฆ์ การนิมนต์ สลากภัต ภัตถวาย

ในปักษ์ ภัตถวายในวันอุโบสถ ภัตถวายในวันปฏิบท เหล่านี้แม้นับว่าเป็นการเลี้ยงชีพ

สุจริต แต่ก็จัดว่าเป็นลาภเหลือเฟือสำหรับพระภิกษุ

๒. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล

ผ้าบังสุกุล คือ ผ้าที่ภิกษุเก็บเศษผ้าท่อนเล็กท่อนน้อยซึ่งตกอยู่ตามพื้นดิน เปื้อนผุ่นไม่

สะอาด ไม่สวยไม่งาม โดยที่สุดแม้ผ้าที่เขาใช้ห่อศพตกอยู่ตามป่าช้า ภิกษุเก็บมาเย็บปะ

ต่อกันเป็นผืน ซัก เย็บ ย้อมใช้เป็นจีวรสำหรับนุ่งห่ม

ส่วนผ้าจีวรที่มีค่า ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าแพร ผ้าที่ชาวบ้านถวาย แม้รับได้แต่

ก็จัดเป็นลาภเหลือเฟือสำหรับพระภิกษุ

๓. อยู่โคนต้นไม้

ภิกษุในพุทธศาสนาเป็นผู้สละบ้านเรือน ออกบวชแล้วเป็นผู้ไม่มีเรือน อาศัยอยู่ตามร่ม

ไม้ ป่าเขา เงื้อมผา เถื่อนถ้ำ

กุฏิและวิหาร อาคารมีหลังคามุงที่ชาวบ้านมีศรัทธาสร้างถวายก็สามารถอยู่อาศัยได้ แต่

นับเป็นลาภเหลือเฟือสำหรับพระภิกษุ

๔. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า

ภิกษุในพุทธศาสนาฉันสมอและมะขามป้อมดองด้วยน้ำมูตรเน่าหรือน้ำปัสสาวะเป็นยา

ส่วนยาที่ผสมด้วยเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย จัดเป็นลาภเหลือเฟือสำหรับ

ภิกษุ

อกรณียะ ๔ คือกิจที่ภิกษุไม่ควรทำ

๑. เสพเมถุน

ภิกษุไม่พึงเสพเมถุนธรรม ไม่ว่ากับคนหรือสัตว์ ทั้งที่มีชีวิตหรือตายแล้ว ภิกษุเสพเมถุน

จะขาดจากความเป็นภิกษุทันที เปรียบเหมือนคนถูกตัดศรีษะแม้จะนำศีรษะมาต่อเข้ากับ

ร่างก็ไม่อาจมีชีวิตฟื้นขึ้นมาได้

๒. ลักขโมย

ภิกษุไม่พึงถือเอาของที่เขาไม่ให้ มีราคาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป ในปัจจุบันบาทหนึ่งก็ดี

เกินบาทหนึ่งก็ดี ต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นภิกษุ เปรียบเหมือนใบไม้แก่

เหลืองหลุดจากขั้วไม่อาจมีความเขียวสดได้อีก

๓. ฆ่าสัตว์

ภิกษุไม่พึงแกล้งพรากสัตว์จากชีวิต รวมทั้งทำครรภ์ให้ตกไป ด้วยตนเองก็ดี ด้วยการ

จ้างวานผู้อื่นก็ดี ด้วยการพรรณาคุณให้เขาทำก็ดี บังคับให้เขาทำก็ดี ใช้คาถาอาคมก็ดี

หรือใช้อุบายอื่นๆ ก็ดี ทำแล้วขาดจากความเป็นพระภิกษุ

๔. พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน

ภิกษุไม่พึงอวดอุตริมนุสสธรรมอันไม่มีอยู่จริง คือ อวดคุณว่าตนมีฌาน วิโมกข์ สมาธิ

สมาบัติ หรือมรรคผลใดๆ ทำแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ


ความคิดเห็น 2    โดย paderm  วันที่ 25 ส.ค. 2554

ผู้ใดมีคำแนะนำเกี่ยวกับบทสวดภาษาบาลี แนะนำได้มา ณ ที่นี้ครับ


ความคิดเห็น 3    โดย พระบอม  วันที่ 25 ส.ค. 2554

ขอบทสวดอนุศาสน์8เป็นภาษาบาลีหน่อยครับ


ความคิดเห็น 4    โดย แสงจันทร์  วันที่ 25 ส.ค. 2554

คำบอกอนุศาสน์ ๘ อย่าง

นิสสัย ๔

(ปัจจัยเครื่องอาศัยของพระภิกษุ กิจที่ต้องปฏิบัติ)

(๑) ปิณฑิยาโลปะโภชะนัง นิสสายะ ปัพพัชชา ตัตถะ เต ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย อะติเรกะลาโภ สังฆะภัตตัง อุทเทสะภัตตัง นิมันตะนัง สะลากภัตตัง ปักขิกัง อุโปสะถิกัง ปาฏิปะทิกัง ฯ (อามะ ภัณเต)

(๒) ปังสุกูละจีวรัง นิสสาย ปัพพัชชา ตัตถะ เต ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย อะติเรกะลาโภ โขมัง กัปปาสิกัง โกเสยยัง กัมพะลัง สาณัง ภังคัง ฯ ฯ (อามะ ภัณเต)

(๓) รุกขะมูละเสนาสนัง นิสสาย ปัพพัชชา ตัตถะ เต ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย อะติเรกะลาโภวิหาโร อัฑฒะโยโค ปาสาโท หัมมิยัง คุหา ฯ ฯ (อามะ ภัณเต)

(๔) ปูติมุตตะเภสัชชัง นิสสายะ ปัพพัชชา ตัตถะ เต ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย อะติเรกะลาโภ สัปปิ นะวะนีตัง เตลัง มะธุ ผาณิตนังฯ (อามะ ภัณเต

คำแปลนิสสัย ๔

(เที่ยวบิณฑบาต)

(๑) บรรพชาอาศัยโภชนะคือคำข้าวอันหาได้ด้วยกำลังปลีแข้ง เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต อดิเรกลาภ คือ ภัตถวายสงฆ์ ภัตเฉพาะสงฆ์ การนิมนต์ ภัตถวายตามสลาก ภัตถวายในปักษ์ ภัตถวายในวันอุโบสถ์ ภัตถวายในวันปาฏิบท (พระใหม่รับว่า "ขอรับกระผม)

(นุ่งห่มผ้าบังสุกุล)

(๒) บรรพชาอาศัยบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต อดิเรกลาภ คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าเจือกัน (เช่นผ้าด้ายแกมไหม) (พระใหม่รับว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ครับผม")

(อยู่โคนต้นไม้)

(๓) บรรพชาอาศัยโคนไม้เป็นเสนาสนะ เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต อดิเรกลาภ คือ วิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น ถ้ำ (พระใหม่รับว่า "ขอรับกระผม")

(ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า)

(๔) บรรพชาอาศัยมูตรเน่าเป็นยา เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต อดิเรกลาภ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย (พระใหม่รับว่า "ขอรับกระผม")

อกรณียกิจ ๔

(กิจที่พระภิกษุปฏิบัติไม่ได้โดยเด็ดขาด)

(๑) อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา เมถุโน ธัมโม นะ ปะฏิเสวิตัพโพ อันตะมะโส ติรัจฉานะคะตายะปิฯ โย ภิกขุ เมถุนัง ธัมมัง ปะฏิเสวะติ อัสสะมะโณโหติ อะสักยะปุตติโย ฯ เสยยะถาปิ นามะ ปุริโส สีสัจฉินโน อะภัพโพ เตนะ สะรีระพันธะเนนะ ชีวิตุ เอวะเมวะ ภิกขุ เมถุนัง ธัมมัง ปะฏิเสวิตะวา อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโยฯ ตันเต ยาวะชีวัง อะกะระณียังฯ (อามะ ภัณเต)

(๒) อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา อะทินนัง เถยยะสังขาตัง นะ อาทาตัพพัง อันตะมะโส ติณะสะลากัง อุปาทายะ ฯ โย ภิกขุ ปาทัง วา ปาทาระหัง วา อะติเรกะปาทัง วา อะทินนัง เถยยะสังขาตัง อาทิยะติ อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย ฯ เสยยะถาปิ นามะ ปัณฑุปะลาโส พันธะนา ปะมุตโต อะภัพโพ หริตัตตายะ เอวะเมวะ ภิกขุ ปาทัง วา ปาทาระหัง วา อะติเรกะปาทัง วา อะทินนัง เถยยะสังขาตัง อาทิยิตวา อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโยฯ ตันเตยาวะชีวัง อะกะระณียัง ฯ (อามะ ภัณเต)

(๓) อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา สัญจิจจะ ปาโณ ชีวิตา นะ โวโรเปตัพโพ อันตะมะโส กุนถะกิปิลลิกัง อุปาทายะฯ โย ภิกขุ สัญจิจจะ มะนุสสะวิคคะหัง ชีวิตา โวโรเปติ อันตะมะโส คัพภะปาตะนัง อุปาทายะ อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย ฯ เสยยะถาปิ นามะ ปุถุสิลา เทวธา ภินนา อัปปะฏิสันธิกา โหติ เอวะเมวะ ภิกขุ สัญจิจจะ มะนุสสะวิคคะหัง ชีวิตา โวโรเปตวา อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย ฯ ตันเต ยาวะชีวัง อะกะระณียัง ฯ (อามะ ภัณเต)

(๔) อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา อุตตะริมะนุสสะธัมโม นะ อุลละปิตัพโพ อันตะมะโส สุญญาคาเร อะภิระมามีติฯ โย ภิกขุ ปาปิจโฉ อิจฉาปะกะโต อะสันตัง อะภูตัง อุตตะริมะนุสสะธัมมัง อุลละปะติ ฌานัง วา วิโมกขัง วา สะมาธิง วา สะมาปัตติง วา มัคคัง วา ผลัง วา อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย ฯ เสยยะถาปิ นามะ ตาโล มัตถะกัจฉินโน อะภัพโพ ปุนะ วิรุฬหิยา เอวะเมวะ ภิกขุ ปาปิจโฉ อิจฉาปะกะโต อะสันตัง อะภูตัง อุตตะริมะนุสสะธัมมัง อุลละปิตะวา อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโยฯ ตันเต ยาวะชีวัง อะกะระณียัง ฯ (อามะ ภัณเต)

คำแปลอกรณียกิจ ๔

(ห้ามเสพเมถุน หรือ มีเพศสัมพันธ์)

(๑) ภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงเสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ภิกษุใดเสพเมถุนธรรม ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนบุรุษถูกตัดศีรษะแล้ว ไม่อาจจะมีสรีระคุมกันนั้นเป็นอยู่ ภิกษุก็เหมือนกัน เสพเมถุนธรรมแล้วไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร การนั้น เธอไม่พึงทำตลอดชีวิต (พระใหม่รับว่า "ขอรับกระผม")

(ห้ามลักโขมย)

(๒) ภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงถือเอาของอันเขาไม่ได้ให้ เป็นส่วนขโมย โดยที่สุดหมายเอาถึงเส้นหญ้า ภิกษุใดถือเอาของอันเขาไม่ได้ให้ เป็นส่วนขโมย ได้ราคาบาทหนึ่งก็ดี ควรแก่ราคาบาทหนึ่งก็ดี เกิดบาทหนึ่งก็ดี ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือใบไม้เหลืองหล่นจากขั้วแล้วไม่อาจจะเป็นของเขียวสด ภิกษุก็เหมือนกัน ถือเอา ของอันเขาไม่ได้ให้เป็นส่วนขโมย ได้ราคาบาทหนึ่งก็ดี ควรแก่ราคาบาทหนึ่งก็ดี เกินบาทหนึ่งก็ดี ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร การนั้นเธอไม่พึงทำตลอดชีวิต (พระใหม่รับว่า "ขอรับกระผม")

(ห้ามฆ่ามนุษย์)

๓. ภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงแกล้งพรากสัตว์จากชีวิต โดยที่สุดหมายเอาถึงมดดำมดแดง ภิกษุใดแกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิต โดยที่สุดหมายเอาถึงยังครรภ์ให้ตก ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนศิลาหนาแตกสองเสี่ยงแล้ว เป็นของกลับต่อกันไม่ได้ ภิกษุก็เหมือนกัน แกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิตแล้วไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร การนั้น เธอไม่พึงทำตลอดชีวิต (พระใหม่รับว่า "ขอรับกระผม")

(ห้ามพูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน)

๔. ภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงพูดอวดอุตตริมนุสสธรรม โดยที่สุดว่า เรายินดียิ่งในเรือนว่างเปล่า ภิกษุใดมีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาลามกครอบงำแล้ว พูดอวดอุตตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่จริง คือฌานก็ดี วิโมกข์ก็ดี สมาธิก็ดี สมาบัติก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดี ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนต้นตาลมียอดด้วนแล้ว ไม่อาจจะงอกอีก ภิกษุก็เหมือนกัน มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาลามกครอบงำแล้ว พูดอวดอุตตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร การนั้นเธอไม่พึงทำตลอดชีวิต (พระใหม่รับว่า "ขอรับกระผม")

จากนั้น พระใหม่เดินตามพระคู่สวดเข้าท่ามกลางสงฆ์ ถวายเครื่องสักการะ และกรวดน้ำรับพรสืบต่อไป

ที่มาจากหนังสือ ลูกผู้ชายต้องบวช ผู้แต่ง ญาณวชิระ


ความคิดเห็น 5    โดย khampan.a  วันที่ 25 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พวกเราเป็นคนไทย ศึกษาพระธรรม เข้าใจพระธรรม ด้วยภาษาของคนไทย คือ ภาษาไทย เพราะฉะนั้น ก็ควรที่จะได้ศึกษาให้เข้าใจจริงๆ ตามพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ว่า สิ่งที่จะเป็นที่พึ่งที่อาศัย ให้ชีวิตของพระภิกษุซึ่งเป็นเพศที่ขัดเกลากิเลสอย่างยิ่งนั้น ดำเนินไปได้ ไม่เป็นการสะสมกิเลส ไม่เป็นผู้มักมากนั้น เป็นอย่างไร และ สิ่งที่บรรพชิตไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่งนั้น คือ อะไร เพราะถ้ากระทำแล้ว ย่อมถึงความเป็นผู้ขาดจากความเป็นบรรพชิตทันที ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ทั้งหมด ตามที่ปรากฏในความคิดเห็นที่ ๑ และ ที่ ๔ แล้วเพราะฉะนั้น ไม่ได้สำคัญอยู่ที่เป็นบทสวดภาษาบาลี แต่สำคัญอยู่ที่ความเข้าใจที่ถูกต้อง จากการที่ได้ศึกษาด้วยความละเอียดรอบคอบ ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 6    โดย wannee.s  วันที่ 25 ส.ค. 2554

การศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า จุดประสงค์เพื่อความเข้าใจ เพื่อละความไม่รู้ เพื่อขัดเกลากิเลส ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ที่ไม่ดี และเพื่ออบรมเจริญกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และรักษากุศลที่เกิดแล้วให้เจริญยิ่งขึ้น และที่สำคัญคือการอบรมเจริญ สติปัฏฐาน คือ การเจริญอริยมรรคมีองค์แปดค่ะ


ความคิดเห็น 7    โดย paderm  วันที่ 25 ส.ค. 2554

ขออนุโมทนาท่านแสงจันทร์ครับ ที่นำข้อความภาษาบาลีมา

ตามที่เจ้าของกระทู้ต้องการครับ


ความคิดเห็น 8    โดย นาวาเอกทองย้อย  วันที่ 25 ส.ค. 2554

ภาษาบาลีที่พิมพ์มานั้นมีคำผิดพลาดคลาดเคลื่อนอยู่หลายคำ เช่น

นิสสัย ๔ ข้อ ๒ และ ข้อ ๓ คำว่า นิสสาย เมื่อเขียนตามคำอ่าน คือเขียนแบบมีสระ อะ

มีไม้หันอากาศ (แบบบาลีไทย) ต้องเป็น นิสสายะ (ตกสระ อะ ในข้อ ๑ และ ข้อ ๔ มีสระถูก

ต้อง)

อกรณียกิจ ๔ ข้อที่ ๑ ตรงข้อความที่ว่า อะสะรีระพันธะเนนะ ชีวิตุ คำว่า ชีวิตุ ที่ถูกต้อง

คือ ชีวิตุง (ตก ง งู) ถ้าเขียนตามอักขรวิธีภาษาบาลีที่นิยมเขียนในอักษรไทย (บาลีบาลี)

ตรงคำว่า ตุง มีสระอุใต้ ต เต่า และมีนิคคหิต คือเครื่องหมายกลมๆ บน ต เต่า ด้วย

คำว่า อามะ ภัณเต ที่อยู่ในวงเล็บท้ายข้อความแต่ละข้อนั้น คำว่า ภัณเต เขียนผิดทุก

แห่ง ที่ถูก ภัณ ใช้ น หนู สะกด ไม่ใช่ ณ เณร คือต้องเป็น อามะ ภันเต

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายคำที่เป็นคำเดียวกัน แต่อยู่คนละบรรทัด ผู้ไม่มีความรู้ภาษาบาลี

จะไม่ทราบเลยว่าเป็นคำเดียวกัน เช่น นิสสัย ๔ ข้อ ๑ คำว่า อุสสาโห อุสสา อยู่บรรทัด

หนึ่ง โห ไปอยู่อีกบรรทัดหนึ่ง นิสสัย ๔ ข้อ ๒ อะติเร อยู่บรรทัดหนึ่ง กะลาโภ อยู่อีก

บรรทัดหนึ่ง คำนี้เป็นศัพท์เดียวกัน คือ อะติเรกะลาโภ คำเดียวกันแต่แยกไปอยู่คนละ

บรรทัดเช่นนี้ ตามหลักท่านให้ใช้เครื่องหมายยัติภังค์ไว้ที่ท้ายบรรทัด เพื่อให้รู้ว่าเป็นศัพท์

เดียวกัน

ภาษาบาลีเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้ง ถ้าไม่ตรวจสอบให้ถี่ถ้วน ก็อาจทำให้เกิดความเข้าใจ

ผิดได้ง่าย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือ พระคาถาชินบัญชร มีถ้อยคำที่ผิดแผกแตกต่างกัน

มากมาย ก็เพราะไม่ได้ตรวจสอบให้ถี่ถ้วนนี่แหละ ทำให้กลายเป็นสำนวนฉบับนั้นว่าอย่างนี้

ฉบับนี้ว่าอย่าโน้น เปรอะไปหมด ขอร้องว่า ก่อนจะเผยแพร่คำภาษาบาลี ขอความกรุณาให้ผู้

ที่มีความรู้จริงๆ ตรวจสอบให้ถี่ถ้วนก่อน ก็จะเป็นการดี หาไม่จะกลายเป้นช่วยกันเผยแพร่คำ

ผิดๆ ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น

ขออนุโมทนาท่านที่มีกุศลจิตทุกท่านครับ


ความคิดเห็น 9    โดย paderm  วันที่ 25 ส.ค. 2554

ขออนุโมทนาบุญ กับ นาวาเอกทองย้อย ด้วยครับ


ความคิดเห็น 10    โดย แสงจันทร์  วันที่ 26 ส.ค. 2554

ขออภัยทุกท่านด้วยที่ผมไม่ได้ตรวจสอบก่อน พอดีไปเจอในเว๊บก็เลยโหลดมาเลยไม่ได้ทันได้อ่านรายละเอียด และขออนุโมทนาขอใจท่านนาวาเอกทองย้อยที่ช่วยตรวจสอบแก้ไขให้ และกราบเรียนพระบอมให้ท่านไปดูใน มนต์พิธีหน้า๒๑๔ ครับน่าจะแน่นอน กว่า

ขอบคุณ และขออนุโมทนา

ความคิดเห็น 11    โดย oj.simon  วันที่ 27 ส.ค. 2554
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ได้อ่านบทสวดอนุศาสน์ 8 ในส่วนธรรมวินัยที่กำหนดนิสัย ๔ ให้พระภิกษุอาศัย ปัจจัย ๔ แล้ว ผมรู้สึกซาบซึ้งถึงการได้ดำรงอัตภาพเป็นภิกษุตามพระอริยวินัยนี้ว่าเป็น สิ่งประเสริฐจริงๆ ครับ ขออนุโมทนาท่านอาจารย์เผดิมที่มีจิตมุ่งมั่นในการให้ธรรมทาน ขออนุโมทนากับ ท่านนาวาเอกทองย้อยที่มีความรู้ความสามารถทางด้านภาษา และยังมีจิตมุ่งมั่นให้ผู้อื่น ได้เข้าใจธรรมอย่างถูกต้องตามความจริง และขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่านอื่นทุกๆ ท่านในกระทู้นี้ครับ

ความคิดเห็น 12    โดย นาวาเอกทองย้อย  วันที่ 27 ส.ค. 2554

คำบอกอนุศาสน์

เป็นข้อความที่พระอุปัชฌาย์จะต้องบอกแก่พระภิกษุที่บวชใหม่

ทันทีที่การอุปสมบทสำเร็จลง

คำบอกอนุศาสน์นั้นเป็นภาษาบาลี

บางส่วนมีมาในพระไตรปิฎก

ในที่นี้ได้ตรวจสอบอักขรวิธีเรียบร้อยแล้ว

จัดทำไว้ให้ทั้งเขียนแบบไทย และเขียนแบบบาลี

และได้จัดแบ่งรูปประโยคให้สั้นกระชับ

หลีกเลี่ยงการแยกศัพท์เดียวกันไปอยู่คนละบรรทัด

ผู้ไม่รู้ภาษาบาลีสามารถกำหนดข้อความได้ง่าย

เหมาะสำหรับผู้มีศรัทธาจะท่องจำ

เป็นการศึกษาและทรงไว้ซึ่งพระธรรมวินัยได้ส่วนหนึ่ง

ขออนุโทนาต่อทุกท่านที่มีศรัทธาจะศึกษาเรียนรู้

(ความหมายในภาษาไทย มีท่านผู้รู้เผยแพร่อยู่แล้วครับ)


ความคิดเห็น 13    โดย นาวาเอกทองย้อย  วันที่ 27 ส.ค. 2554

คำบอกอนุศาสน์

(เขียนแบบไทย)

(นิสัย ๔)

อะนุญญาสิ โข ภะคะวา อุปะสัมปาเทตวา

จัตตาโร นิสสะเย จัตตาริ จะ อะกะระณียานิ อาจิกขิตุง :

๑. ปิณฑิยาโลปะโภชะนัง นิสสายะ ปัพพัชชา,

ตัตถะ เต ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย.

อะติเรกะลาโภ : สังฆะภัตตัง อุเทสะภัตตัง นิมันตะนัง

สะลากะภัตตัง ปักขิกัง อุโปสะถิกัง ปาฏิปะทิกัง.

. ปังสุกูละจีวะรัง นิสสายะ ปัพพัชชา,

ตัตถะ เต ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย.

อะติเรกะลาโภ : โขมัง กัปปาสิกัง โกเสยยัง

กัมพะลัง สาณัง ภังคัง.

๓. รุกขะมูละเสนาสะนัง นิสสายะ ปัพพัชชา,

ตัตถะ เต ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย.

อะติเรกะลาโภ : วิหาโร อัฑฒะโยโค ปาสาโท

หัมมิยัง คุหา.

๔. ปูติมุตตะเภสัชชัง นิสสายะ ปัพพัชชา,

ตัตถะ เต ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย.

อะติเรกะลาโภ : สัปปิ นะวะนีตัง เตลัง มะธุ ผาณิตัง.


ความคิดเห็น 14    โดย นาวาเอกทองย้อย  วันที่ 27 ส.ค. 2554

(อกรณียกิจ ๔)

. อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา

เมถุโน ธัมโม นะ ปะฏิเสวิตัพโพ

อันตะมะโส ติรัจฉานะคะตายะปิ.

โย ภิกขุ เมถุนัง ธัมมัง ปะฏิเสวะติ,

อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย.

เสยยะถาปิ นามะ ปุริโส สีสัจฉินโน

อะภัพโพ เตนะ สะรีระพันธะเนนะ ชีวิตุง,

เอวะเมวะ ภิกขุ เมถุนัง ธัมมัง ปะฏิเสวิตวา

อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย.

ตันเต ยาวะชีวัง อะกะระณียัง.

๒. อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา

อะทินนัง เถยยะสังขาตัง นะ อาทาตัพพัง

อันตะมะโส ติณะสะลากัง อุปาทายะ.

โย ภิกขุ ปาทัง วา

ปาทาระหัง วา อะติเรกะปาทัง วา

อะทินนัง เถยยะสังขาตัง อาทิยะติ.

อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย.

เสยยะถาปิ นามะ ปัณฑุปะลาโส

พันธะนา ปะมุตโต อะภัพโพ หะริตัตตายะ,

เอวะเมวะ ภิกขุ ปาทัง วา

ปาทาระหัง วา อะติเรกะปาทัง วา

อะทินนัง เถยยะสังขาตัง อาทิยิตวา

อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย.

ตันเต ยาวะชีวัง อะกะระณียัง.


ความคิดเห็น 15    โดย นาวาเอกทองย้อย  วันที่ 27 ส.ค. 2554

. อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา

สัญจิจจะ ปาโณ ชีวิตา นะ โวโรเปตัพโพ

อันตะมะโส กุนถะกิปิลลิกัง อุปาทายะ.

โย ภิกขุ สัญจิจจะ

มะนุสะวิคคะหัง ชีวิตา โวโรเปติ

อันตะมะโส คัพภะปาตะนัง อุปาทายะ

อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย.

เสยยะถาปิ นามะ ปุถุสิลา

ทเวธา ภินนา อัปปะฏิสันธิกา โหติ,

เอวะเมะ ภิกขุ สัญจิจจะ

มะนุสสะวิคคะหัง ชีวิตา โวโรเปตวา

อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย.

ตันเต ยาวะชีวัง อะกะระณียัง.

๔. อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา

อุตตะริมะนุสสะธัมโม นะ อุลละปิตัพโพ

อันตะมะโส สุญญาคาเร อะภิระมามีติ.

โย ภิกขุ ปาปิจโฉ อิจฉาปะกะโต

อะสันตัง อะภูตัง อุตตะริมะนุสสะธัมมัง อุลละปะติ,

ฌานัง วา วิโมกขัง วา

สะมาธิง วา สะมาปัตติง วา

มัคคัง วา ผะลัง วา,

อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย.

เสยยะถาปิ นามะ ตาโล มัตถะกัจฉินโน

อะภัพโพ ปุนะ วิรุฬหิยา,

เอวะเมวะ ภิกขุ ปาปิจโฉ อิจฉาปะกะโต

อะสันตัง อะภูตัง อุตตะริมะนุสสะธัมมัง อุลละปิตวา

อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย.

ตันเต ยาวะชีวัง อะกะระณียันติ.


ความคิดเห็น 16    โดย นาวาเอกทองย้อย  วันที่ 27 ส.ค. 2554

อะเนกะปะริยาเยนะ โข ปะนะ

เตนะ ภะคะวะตา ชานะตา ปัสสะตา

อะระหะตา สัมมาสัมพุทเธนะ,

สีลัง สัมมะทักขาตัง

สะมาธิ สัมมะทักขาโต

ปัญญา สัมมะทักขาตา.

ยาวะเทวะ ตัสสะ มะทะนิมมะทะนัสสะ

ปิปาสะวินะยัสสะ อาละยะสะมุคฆาตัสสะ

วัฏฏูปัจเฉทัสสะ ตัณหักขะยัสสะ วิราคัสสะ

นิโรธัสสะ นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ.

ตัตถะ สีละปะริภาวิโต สะมาธิ

มะหัปผะโล โหติ มะหานิสังโส,

สะมาธิปะริภาวิตา ปัญญา

มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา,

ปัญญาปะริภาวิตัง จิตตัง

สัมมะเทวะ อาสะเวหิ วิมุจจะติ,

เสยยะถีทัง : กามาสะวา ภะวาสะวา อะวิชชาสะวา.

ตัสมาติหะ เต

อิมัสมิง ตะถาคะตัปปะเวทิเต ธัมมะวินะเย,

สักกัจจัง อะธิสีละสิกขา สิกขิตัพพา,

อะธิจิตตะสิกขา สิกขิตัพพา,

อะธิปัญญาสิกขา สิกขิตัพพา.

ตัตถะ อัปปะมาเทนะ สัมปาเทตัพพัง.

(ภิกษุใหม่รับว่า อามะ ภันเต)


ความคิดเห็น 17    โดย นาวาเอกทองย้อย  วันที่ 27 ส.ค. 2554

คำบอกอนุศาสน์

(เขียนแบบบาลี)

(นิสัย ๔)

อนุญฺาสิ โข ภควา อุปสมฺปาเทตฺวา

จตฺตาโร นิสฺสเย จตฺตาริ จ อกรณียานิ อาจิกฺขิตุ :

๑. ปิณฺฑิยาโลปโภชน นิสฺสาย ปพฺพชฺชา,

ตตฺถ เต ยาวชีว อุสฺสาโห กรณีโย.

อติเรกลาโภ : สงฺฆภตฺต อุทฺเทสภตฺต นิมนฺตน

สลากภตฺต ปกฺขิก อุโปสถิก ปาฏิปทิก.

. ปสุกูลจีวร นิสฺสาย ปพฺพชฺชา,

ตตฺถ เต ยาวชีว อุสฺสาโห กรณีโย.

อติเรกลาโภ : โขม กปฺปาสิก โกเสยฺย

กมฺพล สาณ ภงฺค.

๓. รุกฺขมูลเสนาสน นิสฺสาย ปพฺพชฺชา,

ตตฺถ เต ยาวชีว อุสฺสาโห กรณีโย.

อติเรกลาโภ : วิหาโร อฑฺฒโยโค ปาสาโท

หมฺมิย คุหา.

๔. ปูติมุตฺตเภสชฺช นิสฺสาย ปพฺพชฺชา,

ตตฺถ เต ยาวชีว อุสฺสาโห กรณีโย.

อติเรกลาโภ: สปฺปิ นวนีต เตล มธุ ผาณิต.

(วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ พระไตรปิฎกเล่ม ๔ ข้อ ๘๗)


ความคิดเห็น 18    โดย นาวาเอกทองย้อย  วันที่ 27 ส.ค. 2554

(อกรณียกิจ ๔)

. อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา

เมถุโน ธมฺโม น ปฏิเสวิตพฺโพ

อนฺตมโส ติรจฺฉานคตายปิ.

โย ภิกฺขุ เมถุน ธมฺม ปฏิเสวติ,

อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย.

เสยฺยถาปิ นาม ปุริโส สีสจฺฉินฺโน

อภพฺโพ เตน สรีรพนฺธเนน ชีวิตุ,

เอวเมว ภิกฺขุ เมถุน ธมฺม ปฏิเสวิตฺวา

อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย.

ตนฺเต ยาวชีว อกรณีย.

(วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑ พระไตรปิฎกเล่ม ๑ ข้อ ๓๖)

๒. อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา

อทินฺน เถยฺยสงฺขาต น อาทาตพฺพ

อนฺตมโส ติณสลาก อุปาทาย.

โย ภิกฺขุ ปาท วา

ปาทารห วา อติเรกปาท วา

อทินฺน เถยฺยสงฺขาต อาทิยติ,

อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย.

เสยฺยถาปิ นาม ปณฺฑุปลาโส

พนฺธนา ปมุตฺโต อภพฺโพ หริตตฺตาย,

เอวเมว ภิกฺขุ ปาท วา

ปาทารห วา อติเรกปาท วา

อทินฺน เถยฺยสงฺขาต อาทิยิตฺวา

อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย.

ตนฺเต ยาวชีว อกรณีย.

(วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑ พระไตรปิฎกเล่ม ๑ ข้อ ๙๘)


ความคิดเห็น 19    โดย นาวาเอกทองย้อย  วันที่ 27 ส.ค. 2554

. อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา

สญฺจิจฺจ ปาโณ ชีวิตา น โวโรเปตพฺโพ

อนฺตมโส กุนฺถกิปิลฺลิก อุปาทาย.

โย ภิกฺขุ สฺจิจฺจ

มนุสฺสวิคฺคห ชีวิตา โวโรเปติ

อนฺตมโส คพฺภปาตน อุปาทาย,

อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย.

เสยฺยถาปิ นาม ปุถุสิลา

เทฺวธา ภินฺนา อปฺปฏิสนฺธิกา โหติ,

เอวเมว ภิกฺขุ สฺจิจฺจ

มนุสฺสวิคฺคห ชีวิตา โวโรเปตฺวา

อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย.

ตนฺเต ยาวชีว อกรณีย.

(วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑ พระไตรปิฎกเล่ม ๑ ข้อ ๑๘๖)

๔. อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา

อุตฺตริมนุสฺสธมฺโม น อุลฺลปิตพฺโพ

อนฺตมโส สุญฺาคาเร อภิรมามีติ.

โย ภิกฺขุ ปาปิจฺโฉ อิจฺฉาปกโต

อสนฺต อภูต อุตฺตริมนุสฺสธมฺม อุลฺลปติ,

ฌาน วา วิโมกฺข วา

สมาธึ วา สมาปตฺตึ วา

มคฺค วา ผล วา,

อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย.

เสยฺยถาปิ นาม ตาโล มตฺถกจฺฉินฺโน

อภพฺโพ ปุน วิรุฬฺหิยา,

เอวเมว ภิกฺขุ ปาปิจฺโฉ อิจฺฉาปกโต

อสนฺต อภูต อุตฺตริมนุสฺสธมฺม อุลฺลปิตฺวา

อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย.

ตนฺเต ยาวชีว อกรณียนฺติ.

(วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑ พระไตรปิฎกเล่ม ๑ ข้อ ๒๓๕)


ความคิดเห็น 20    โดย นาวาเอกทองย้อย  วันที่ 27 ส.ค. 2554

อเนกปริยาเยน โข ปน

เตน ภควตา ชานตา ปสฺสตา

อรหตา สมฺมาสมฺพุทฺเธน

สีลสมฺมทกฺขาต

สมาธิ สมฺมทกฺขาโต

ปญฺา สมฺมทกฺขาตา.

ยาวเทว ตสฺส มทนิมฺมทนสฺส

ปิปาสวินยสฺส อาลยสมุคฺฆาตสฺส

วฏฺฏูปจฺเฉทสฺส ตณฺหกฺขยสฺส วิราคสฺส

นิโรธสฺส นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย.

ตตฺถ สีลปริภาวิโต สมาธิ

มหปฺผโล โหติ มหานิสํโส,

สมาธิปริภาวิตา ปญฺ

มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา,

ปญฺาปริภาวิตจิตฺต

สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ,

เสยฺยถีท : กามาสวา ภวาสวา อวิชฺชาสวา.

ตสฺมาติห เต

อิมสฺมึ ตถาคตปฺปเวทิเต ธมฺมวินเย

สกฺกจฺจอธิสีลสิกฺขา สิกฺขิตพฺพา,

อธิจิตฺตสิกฺขา สิกฺขิตพฺพา,

อธิปญฺาสิกฺขา สิกฺขิตพฺพา.

ตตฺถ อปฺปมาเทน สมฺปาเทตพฺ.

(ภิกษุใหม่รับว่า อาม ภนฺเต)

--------------

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ


ความคิดเห็น 21    โดย นาวาเอกทองย้อย  วันที่ 27 ส.ค. 2554

ขออนุญาตแก้คำที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน ดังนี้ครับ

ความคิดเห็นที่ 17 หมยเลข ๒. คำที่ปรากฏ คือ ปํ สุกูลจีวรํ

คำที่ถูก คือ ปํสุกูลจีวรํ (ปํ กับ สุกูล.. ติดกัน)

ความคิดเห็นที่ 17, 18, 19 เครื่องหมายมหัพภาค (จุดที่ท้ายคำ) หลายแห่งที่เว้นวรรค

ห่างคำศัพท์ เช่น ปาฏิปทิกํ .

โปรดทราบว่า จุด ทุกแห่งจะต้องอยู่ติดกับคำศัพท์นั้นๆ เช่น ปาฏิปทิกํ.

ผมพิมพ์ต้นฉบับถูกต้องแล้ว แต่ตอนคัดลอกเอามาวางในกรอบนี้ กลไกของกรอบคง

ทำให้รวนไปบ้าง แก้ตอนนั้นไม่ทันครับ ขออภัยด้วยครับ และขอบพระคุณที่ให้อภัย

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 22    โดย paderm  วันที่ 27 ส.ค. 2554

ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ


ความคิดเห็น 23    โดย oj.simon  วันที่ 28 ส.ค. 2554
ขออนุโมทนาบุญด้วยคนครับ