อรรถกถา สุวรรณสามชาดก - 1
โดย Khaeota  15 มิ.ย. 2553
หัวข้อหมายเลข 16502

[เล่มที่ 63] [เล่มที่ 63] ระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 168

ข้อความบางตอนจาก...

อรรถกถา สุวรรณสามชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภพระภิกษุรูปหนึ่งผู้เลี้ยงมารดา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า พระภิกษุรูปหนึ่งผู้เลี้ยงมารดา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า โก นุ มํ อุสุนาวิชฺฌิ ดังนี้ เป็นต้น
ดังได้สดับมา ในกรุงสาวัตถี มีกุลบุตรผู้หนึ่งเป็นบุตรคนเดียวของสกุลเศรษฐีผู้หนึ่ง ซึ่งมีทรัพย์สมบัติสิบแปดโกฏิ กุลบุตรนั้น เป็นที่รักเป็นที่เจริญใจของบิดามารดา วันหนึ่งเขาอยู่บนปราสาท เปิดสีหบัญชร แลดูในถนนใหญ่เห็นมหาชน ถือของหอมและดอกไม้ เป็นต้น ไปสู่พระเชตวันมหาวิหารเพื่อต้องการสดับพระธรรมเทศนา จึงคิดว่า แม้ตัวเราก็จักไปกับพวกนั้นบ้าง จึงให้คนถือของหอมและดอกไม้ เป็นต้น ไปสู่พระวิหาร ถวายผ้าเภสัชและน้ำดื่มเป็นต้นแด่พระสงฆ์ และบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยของหอมและดอกไม้ เป็นต้น

ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ฟังพระธรรมเทศนาแล้วเห็นโทษในกามทั้งหลาย กำหนดอานิสงส์แห่งบรรพชา ครั้นบริษัทลุกไปแล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลขอบรรพชา ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะกุลบุตรนั้นอย่างนี้ว่า พระตถาคตทั้งหลายไม่ยังบุตรที่บิดามารดายังมิได้อนุญาตให้บรรพชา กุลบุตรได้พึงรับสั่งดังนั้นจึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กลับไปเคหสถาน ไหว้บิดามารดาด้วยความเคารพเป็นอันดีแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่คุณพ่อคุณแม่ ข้าพเจ้าจักบวชในสำนักพระตถาคต

ลำดับนั้นบิดามารดาของกุลบุตรนั้นได้ฟังคำของเขาแล้ว ก็เป็นราวกะมีหัวใจแตกเป็นเจ็ดเสี่ยง เพราะมีบุตรคนเดียว หวั่นไหวอยู่ด้วยความสิเนหาในบุตร ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อผู้เป็นบุตรที่รัก ผู้เป็นหน่อแห่งสกุล ผู้เป็นดั่งดวงตา ผู้เช่นกับชีวิตของเราทั้งสอง เราทั้งสองเว้นจากเจ้าเสีย จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร ชีวิตของเราทั้งสองเนื่องในเจ้า เราทั้งสองก็แก่เฒ่าแล้ว จักตายในวันนี้พรุ่งนี้หรือมะรืนนี้ เจ้ายังจะละเราทั้งสองไปเสียอีก

ธรรมดาว่าบรรพชาอันบุคคลทำได้ยากยิ่ง เมื่อต้องการเย็นย่อมได้ร้อน เมื่อต้องการร้อน ย่อมได้เย็น เพราะเหตุนั้น เจ้าอย่าบวชเลย กุลบุตรได้สดับคำของบิดามารดาดังนั้น ก็มีความทุกข์โทมนัส นั่งก้มศีรษะซบเซา ไม่บริโภคอาหารเจ็ดวัน

ลำดับนั้นบิดามารดาของกุลบุตรนั้นคิดกันอย่างนี้ว่า ถ้าบุตรของเราไม่ได้รับอนุญาตให้บวชก็จักตาย เราจักไม่ได้เห็นเขาอีกเลย บุตรเราเป็นอยู่ด้วยเพศบรรพชิต เราจักได้เห็นอีกต่อไป ครั้นคิดเห็นกันอย่างนี้แล้วจึงอนุญาตว่า ดูก่อนพ่อผู้เป็นลูกรัก เราอนุญาตให้เจ้าบวช เจ้าจงบวชเถิด กุลบุตรได้ฟังดังนั้นก็มีได้ยินดี น้อมสรีระทั้งสิ้นลงกราบแทบเท้าบิดามารดา ลาออกจากกรุงสาวัตถีไปสู่พระเชตวันมหาวิหาร

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลขอบรรพชา พระศาสดาตรัสสั่งภิกษุหนึ่งให้บวชกุลบุตรนั้นเป็นสามเณร จำเดิมแต่สามเณรนั้นบวชแล้ว ลาภสักการะเกิดขึ้นเป็นอันมาก สามเณรนั้นยังอาจารย์และอุปัชฌาย์ให้ยินดีอุปสมบทเป็นภิกษุแล้ว เล่าเรียนธรรมอยู่ห้าพรรษา ดำริว่า เราอยู่ในที่นี้เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่ญาติ เป็นต้น หาสมควรแก่เราไม่ เป็นผู้ใคร่จะบำเพ็ญวิปัสสนาธุระ จึงเรียนกรรมฐานในสำนักอุปัชฌาย์ ออกจากวิหารเชตวันไปสู่ปัจจันตคามแห่งหนึ่ง อยู่ในป่าอาศัยปัจจันตคามนั้น ภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาในที่นั้น แม้เพียรพยายามอยู่ถึงสิบสองปีก็ไม่สามารถยังธรรมวิเศษให้เกิด

ฝ่ายบิดามารดาของภิกษุนั้น ครั้นเมื่อกาลล่วงไปได้ขัดสนลง คิดเห็นว่า ก็เหล่าชนที่ประกอบการนาหรือพาณิชย์ บุตรหรือพี่น้องที่จะเตือนนึกถึง พาพวกเราไปไม่มีในสกุลนี้ พวกเขาถือเอาทรัพย์ตามกำลังของตนๆ

อรรถกถาสุวรรณสามชาดก - 2 [ชาดก]

อรรถกถาสุวรรณสามชาดก - 3 [ชาดก]



ความคิดเห็น 1    โดย jaturong  วันที่ 25 เม.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 2    โดย chatchai.k  วันที่ 12 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 3    โดย chatchai.k  วันที่ 16 ก.ค. 2564

ขอเชิญอ่านเพิ่มเติม...

สุวรรณสามชาดก ว่าด้วยสุวรรณสามบําเพ็ญเมตตาบารมี