การศึกษาปริยัติเกื้อกูลการปฏิบัติอย่างไร
โดย Sam  7 ส.ค. 2551
หัวข้อหมายเลข 9487

มีคำกล่าวว่า การที่สติจะเกิดขึ้นระลึกรู้ธรรมที่กำลังปรากฏได้นั้น ต้องอาศัยการศึกษา การอ่าน การฟังธรรมเป็นปัจจัย จึงขอเรียนถามท่านผู้ศึกษาทั้งหลายว่า การศึกษาพระปริยัตินั้นช่วยเกื้อกูลให้สติเกิดได้อย่างไรครับ



ความคิดเห็น 1    โดย choonj  วันที่ 7 ส.ค. 2551

เมื่อมีการศึกษาที่ถูกต้องจากผู้รู้ก็จะมีการเข้าใจที่ถูก (สำคัญมาก) เมื่อเข้าใจถูกก็จะเป็นปัจจัยให้สติเกิด โดยไม่มีเรา หรือใครทำให้เกิด เพราะสติเป็นอนัตตา การเข้าใจถูกก็มีการฟังธรรมให้เข้าใจอย่างเดียว ไม่มีทางอื่นและไม่มีวิธีอื่นใดๆ ผู้ที่หาทางซึ่งผมก็เคยหา ก็จะรู้ว่าทางไหนๆ ก็ใช้ไม่ได้เพราะมีทางก็มีเรา การเข้าใจอย่างเดียวที่จะเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้สติเกิดโดยไม่มีเรา คือเกิดเลยทันทีโดยไม่รู้ตัว ปริยัติจึงเกื้อกูลให้สติเกิดครับ


ความคิดเห็น 2    โดย wannee.s  วันที่ 7 ส.ค. 2551

ปริยัติ แปลว่ารู้ หรือรอบรู้ในธรรมะที่พระพุทธเจ้าแสดงตามความเป็นจริง เช่น ก่อนที่ไม่ได้ศึกษาธรรมะ ก็เข้าใจว่าขณะเห็นกับขณะได้ยินเกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด เมื่อได้ศึกษาแล้ว ก็เข้าใจตามความเป็นจริงว่าจิตเกิดขึ้นทีละขณะ เช่น ขณะที่เป็นกุศล กับขณะที่เป็นอกุศลจะไม่เกิดพร้อมกันเป็นต้นค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย เมตตา  วันที่ 7 ส.ค. 2551

พระธรรมเป็นของยากและลึกซึ้งมากเพียงการฟังอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ จะต้องพิจารณาใคร่ครวญในสิ่งที่ได้ฟังสิ่งที่ได้ศึกษามาว่ามีเหตุมีผลถูกต้องตรงตามความเป็นจริงที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงหรือไม่ หากเป็นผู้ไม่พิจารณาให้ดีก็จะเป็นผู้มีความเห็นผิดและปฏิบัติผิดได้ จึงต้องเป็นผู้อดทนอย่าเร่งรีบ การศึกษาปริยัติเป็นสิ่งสำคัญแต่ไม่ใช่เพียงท่องจำไว้เท่านั้นซึ่งก็มีโอกาสลืม แต่ถ้าเป็นการศึกษา ฟังพระธรรมและพิจารณาใคร่ครวญจนเป็นความเข้าใจถูกในลักษณะสภาพธรรมตามความเป็นจริง ก็จะเกื้อกูลต่อการปฎิบัติที่ถูกต้อง เพราะเมื่อมีการพิจารณาถูกในลักษณะสภาพธรรมตามความเป็นจริงบ่อยๆ เนืองๆ ขณะนั้นสังขารขันธ์ก็ปรุงแต่งให้สติเกิดระลึกรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ขณะนั้นไม่มีตัวเราไปทำให้สติเกิด แต่การฟังพระธรรมและพิจารณาไตร่ตรองในลักษณะของสภาพธรรมถูกต้องตรงตามความเป็นจริงจะเป็นเหตุปัจจัยให้สติปัฎฐานเกิด ซึ่งก็คือธรรมะปฏิบัติธรรมะ ไม่มีเราที่ไปปฏิบัติ


ความคิดเห็น 4    โดย paderm  วันที่ 7 ส.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า พระปริยัติที่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติ (สติระลึกลักษณะของสภาพธรรม) นั้นคืออย่างไร ปริยติที่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติคือ ศึกษาโดยเข้าใจว่าธรรมคืออะไร และเข้าใจความจริงว่าธรรมคือ สิ่งที่มีจริง มีอยู่ในชีวิตประจำวัน อาศัยปัญญาขั้นการฟังจากตรงนี้จนมั่นคง ดังนั้นไม่ว่าเราจะศึกษาจากพระธรรมในส่วนใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม ก็คือเป็นการแสดงสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ และก็เพื่อเข้าใจสิ่งที่มีในขณะนี้ นี่จึงเป็นสัจจญาณและเป็นสัญญาความจำที่มั่นคง มั่นคงว่าเพื่อเข้าใจสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ การฟังการเข้าใจ การศึกษาตามที่กล่าวมาจึงเป็นเหตุปัจจัยให้สติและปัญญาเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ เพราะปฏิบัติคือ เมื่อสติเกิดรู้ความจริงในขณะนี้ ปริยัติจึงเป็นการฟังให้เข้าใจว่าธรรมคือ สิ่งที่มีจริงและเพื่อเข้าใจสิ่งที่มีในขณะนี้ ปริยัติและปฏิบัติจึงสอดคล้องกัน แต่ต้องเข้าใจว่าปริยัติที่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติที่ถูกต้องคืออย่างไร ขออนุโมทนาครับ

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ

ปัญญาต้องมาจากปริยัติธรรม ปริยัติกับการปฏิบัติธรรม ไปด้วยกันได้หรือไม่

ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ต้องตรงกัน

การศึกษาปริยัติและการปฏิบัติการอบรมเจริญปัญญาขาดปริยัติไม่ได้ ไม่ใช่จะไปปฏิบัติเลย

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 5    โดย Noparat  วันที่ 8 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย Sam  วันที่ 8 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 7    โดย ปริศนา  วันที่ 8 ส.ค. 2551

ไม่เจริญปริยัติ ก็เจริญปฏิบัติไม่ได้เพราะไม่รู้ทางคือ อริยมรรค เมื่อไม่รู้ทางอริยมรรคแล้วจะถึงฝั่ง คือปฏิเวธ ได้อย่างไร


ความคิดเห็น 8    โดย suwit02  วันที่ 8 ส.ค. 2551

สาธุ


ความคิดเห็น 9    โดย Pararawee  วันที่ 8 ส.ค. 2551

ถึงแม้จะเข้าใจเพียงขั้นเรื่องราวของธรรมะ ก็ยังเป็นการโยสิโสมนสิการ ในเรื่องของธรรมะ ตามสภาพความเป็นจริง.....ค่ะ จะเห็นได้ว่าก่อนศึกษาธรรมะกับเมื่อได้ศึกษาแล้ว ปริยัตินั่นเองก็ค่อยๆ สะสมเหตุปัจจัยให้สังขารขันธ์ปรุงแต่ง ปัญญาก็เกิดรู้สภาพธรมะตามความเป็นจริง จากการฟัง อ่าน และพิจารณาค่ะ

พระธรรมมีประโยชน์มหาศาลจริงๆ

อนุโมนา


ความคิดเห็น 10    โดย kaewin  วันที่ 8 ส.ค. 2551

มรรคมีองค์แปด ข้อแรก คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก เมื่อเห็นถูก ผลก็ต้องถูก

สาธุ


ความคิดเห็น 11    โดย Sam  วันที่ 11 ส.ค. 2551

ขอบคุณทุกความคิดเห็นครับ มีประโยชน์มาก

สาธุ