เรียน อาจารย์ทั้งสองท่าน
"สสังขาริกและอสังขาริก" ขอความอนุเคราะห์อาจารย์ช่วยกรุณาให้อรรถาธิบายเกี่ยวกับสองคำนี้ด้วย ครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อสังขาริก
อ (ไม่มี) + สงฺขาริก (การปรุงแต่ง การชักชวน)
ไม่มีการชักชวน หมายถึง สภาพของจิตที่มีกำลัง เมื่อจะมีการกระทำสิ่งใด ไม่ต้องมีการชักชวนด้วยกาย หรือวาจาของบุคคลอื่น หรือชักชวนด้วยใจของตนเอง เพราะสภาพจิตมีกำลังที่จะกระทำสิ่งนั้นๆ ด้วยความตั้งใจ เช่น ตั้งใจจะไปชมมหรสพ ถึงจะมีคนชักชวนหรือไม่ ก็ต้องไปอยู่แล้ว ขณะนั้นเป็นโลภมูลจิตที่เป็นอสังขาริก หรือตั้งใจที่จะใส่บาตรด้วยศรัทธา ขณะที่ตั้งใจแล้วก็ไปใส่บาตรนั้น เป็นกุศลจิตที่เป็นอสังขาริก
จิตที่เป็นอสังขาริกมีทั้ง ๔ ชาติ
อกุศลอสังขาริก มีโทษมากกว่า อกุศลสสังขาริก
กุศลอสังขาริก มีอานิสงส์มากกว่า กุศลสสังขาริก
สสังขาริก
ส (มี) + สงฺขาริก (การปรุงแต่ง การชักชวน)
มีการชักชวน หมายถึง สภาพของจิตที่มีกำลังอ่อน เมื่อจะมีการกระทำสิ่งใด อาจต้องมีการชักชวนด้วยกาย หรือวาจาของบุคคลอื่น หรือชักชวนด้วยใจของตนเอง โดยการใคร่ครวญพิจารณา เพราะสภาพจิตไม่มีกำลังที่จะกระทำสิ่งนั้นๆ หรือกระทำสิ่งนั้นๆ เหมือนกับไม่ตั้งใจ เช่น ไม่ตั้งใจจะไปชมมหรสพ แต่ถูกชักชวนคะยั้นคะยอให้ไป จึงไปชมด้วยโลภะเพราะขัดไม่ได้ หรือไม่ได้ตั้งใจที่จะใส่บาตร แต่ถูกผู้ใหญ่ใช้ให้ทำ ก็ทำด้วยกุศลจิตที่อาจจะไม่เต็มใจนัก เป็นต้น
จิตที่เป็นสสังขาริกมีทั้ง ๔ ชาติ อกุศลสสังขาริก มีโทษน้อยกว่า อกุศลอสังขาริก กุศลสสังขาริก มีอานิสงส์น้อยกว่า กุศลอสังขาริก
เชิญคลิกอ่านที่นี่ ครับ
ความจริงแห่งชีวิตตอนที่ ๑๓๖ จิตตสังเขป (อสังขาริกจิต-สสังขาริกจิต)
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แสดงให้เห็นถึงความเป็นจริงของสภาพธรรม ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น สภาพธรรมก็หลากหลายมาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และทรงแสดงไปตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ ลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ ใครๆ ก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ประโยชน์จึงอยู่ที่ความเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ว่า เป็นธรรม ไม่ใช่เรา แม้แต่จิตที่มีกำลังกล้า (อสังขาริก) และมีกำลังอ่อน (สสังขาริก) ทั้งทางฝ่ายอกุศล และทางฝ่ายกุศล นั้น ก็เป็นธรรม ไม่ใช่เรา เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยจริงๆ ครับ
ขอเชิญคลิกฟังคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ได้ที่นี่ครับ
มีกำลังอ่อนต้องอาศัยการชักจูง - มีกำลังกล้าไม่ต้องอาศัยการชักจูง
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
อสังขาริก เป็นจิตทีมีกำลัง ไม่ต้องมีใครมาชักชวนให้ทำกุศลหรืออกุศล ส่วนสสังขาริก เป็นจิตที่มีกำลังอ่อน ต้องมีการชักชวน ไม่ว่าจะทำกุศลหรืออกุศล ค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับผม
กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาอาจารย์ทั้งสองท่าน ครับ.
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
อนุโมทนาค่ะ
บางคนก็บอกว่า ทำไมถึงต้องคิดมากในเรื่องของอสังขาริกกับสสังขาริก เพราะว่าจริงๆ แล้วเพียงให้ทราบว่า เป็นจิต เป็นนามธรรม ซึ่งไม่ใช่เรา นี่สำคัญที่สุดเลย แล้วก็นามธรรมที่กำลังปรากฏ ก็จะมีลักษณะที่ต่างกัน เป็นจิตประเภทที่มีกำลังบ้าง ไม่มีกำลังบ้าง แล้วเราก็มาเรียกชื่อทีหลัง ใส่ชื่อลงไป ให้รู้ว่า ขณะที่มีกำลังเป็นประเภทอสังขาริก ถ้าประเภทที่อ่อนกำลังก็เป็นสสังขาริก
ที่มา และ ฟังเพิ่มเติม ...
อสังขาริก - สสังขาริก คือ สภาพจิตที่มีกำลังและไม่มีกำลัง