อสุรกาย
โดย kan_abc  28 มี.ค. 2550
หัวข้อหมายเลข 3211

อสุรกาย คือ อะไร



ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 28 มี.ค. 2550

อสูร หรือ อสุรกาย หมายถึง อบายภูมิภูมิหนึ่ง ที่เป็นที่เกิดของผู้กระทำอกุศลกรรมไว้เป็นอบายภูมิที่ไม่ทุกข์ทรมานเหมือนนรกหรือเปรต แต่สัตว์ที่เกิดในภูมินี้ไม่มีความร่าเริง ไม่มีความเจริญ สถานที่อยู่ใกล้มนุษย์ แต่กำเนิดเป็นอสุรกาย

อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 203

สัตว์ทั้งหลายพวกที่ชื่อว่าอสูร เพราะอรรถว่าไม่เล่น (อย่างเทวดา) คือเล่นโดยความเป็นใหญ่และเป็นกีฬาเป็นต้นก็หาไม่ ได้แก่ พวกเปรตที่เป็นอสูร ฯ ส่วนเวปจิตติอสูรนอกนี้ ชื่อว่า อสูรเพราะอรรถว่า ไม่ใช่เทวดา คือ เป็นข้าศึกของเทวดาฯ ก็ในบทว่า อสุรกายนี้ หมายเอาพวกอสูรที่เป็นเปรตเท่านั้น มิได้หมายเอา พวกเวปจิตติอสูรนอกนี้


ความคิดเห็น 2    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 28 มี.ค. 2550

ตัวอย่างอสูร เชิญคลิกอ่านที่นี่

อสูรชื่อกาลกัญชิกา [ปาฏิกสูตร]


ความคิดเห็น 3    โดย wannee.s  วันที่ 28 มี.ค. 2550

อสูรกาย ป็นภูมิที่ไม่มีความสนุก ไม่มีสิ่งบันเทิง ไม่มีหนังให้ดู ไม่มีเพลงให้ฟังไม่มีความสบาย เหมือนมนุษย์


ความคิดเห็น 4    โดย kan_abc  วันที่ 29 มี.ค. 2550

จะแผ่ส่วนบุญ ส่วนกุศล อย่างไร ..ให้อสุรกาย จึงจะได้รับ

..ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 5    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 29 มี.ค. 2550

การที่สัตว์ใด จะได้รับส่วนบุญขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการ

1. มีผู้อุทิศให้

2. สัตว์นั้นอยู่ในฐานะที่จะรับได้ คือ อยู่ในภพภูมิที่จะรับได้

3. สัตว์นั้นอนุโมทนา

เมื่อปัจจัยพร้อม ๓ ประการ สัตว์นั้นจึงได้รับส่วนบุญ ซึ่งที่กล่าวถึงอสุรกาย จัดอยู่ในประการที่ ๒ คือ สัตว์นั้นอยู่ในฐานะที่จะได้รับส่วนบุญได้ไหม ซึ่งในข้อความจากพระไตรปิฎก ภูมิเปรต ที่สามารถได้รับส่วนบุญที่ญาติอุทิศให้ ไม่ได้กล่าวถึงอสุรกาย จึงไม่ใช่ฐานะที่อสุรกายจะได้รับส่วนบุญแม้ญาติอุทิศให้ครับ แต่บางส่วนก็แสดงว่าแม้เทวดาก็ได้รับส่วนบุญ เมื่อคนอื่นอุทิศให้ ขอยกข้อความในพระไตรปิฎกเรื่องเปรต และ เทวดาครับ

ข้อความบางตอนจาก ชาณุสโสนีสตร

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 437

ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นผิด บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงเปรตวิสัย เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเปรตวิสัย ด้วยอาหารของสัตว์ผู้เกิดในเปรตวิสัย หรือว่ามิตร อำมาตย์ หรือญาติสายโลหิตของเขา ย่อมเพิ่มให้ซึ่งปัตติทานมัยจากมนุษยโลกนี้ เขาเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเปรตวิสัยนั้น ย่อมตั้งอยู่ในเปรตวิสัยนั้น ด้วยปัตติทานมัยนั้น ดูก่อนพราหมณ์ ฐานะอันเป็นที่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล เป็นฐานะ.

เรื่องอุทิศให้เทวดา

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 305

ข้อความบางตอนจาก มัจฉทานชาดก

วันหนึ่งพี่น้องทั้งสองนั้นคิดกันว่า พวกเราจักชำระสะสางการค้าขายอันเป็นของบิดาให้เรียบร้อยเสียที จึงไปยังบ้านหนึ่ง ได้ทรัพย์พ้นกหาปณะแล้วกลับมา บริโภคอาหารห่อแล้วรอเรืออยู่ที่ท่าแม่น้ำ.พระโพธิสัตว์ได้ให้อาหารที่เหลือแก่ปลาทั้งหลายในแม่น้ำคงคาแล้วให้ส่วนบุญแก่เทวดาประจำแม่น้ำ. เทวดาพออนุโมทนาส่วนบุญเท่านั้นก็เจริญพอกพูนด้วยยศอันเป็นทิพย์ จึงรำพึงถึงความเจริญยศของตนก็ได้รู้ถึงเหตุนั้น.


ความคิดเห็น 6    โดย kan_abc  วันที่ 30 มี.ค. 2550

ทำผิดศิล ข้อใด จึงไปเกิดเป็น อสูรกาย .....


ความคิดเห็น 7    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 30 มี.ค. 2550

ไม่ได้แสดงเจาะจงลงไปว่าศีลข้อไหน แต่ต้องเป็นอกุศกรรมที่เคยได้ทำไว้แน่นอน ที่ทำให้ไปนำเกิดเป็นอสุรกายเพราะเป็นอบายภูมิครับ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 433

ข้อความบางตอนจาก วัตถูปมสูตร

[๙๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้าที่เศร้าหมองมลทินจับ ช่างย้อมพึงนำเอาผ้านั้นหย่อนลงในน้ำย้อมใดๆ คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีชมพู ผ้านั้นพึงเป็นผ้ามีสีที่เขาย้อมไม่ดี มีสีมัวหมอง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะผ้าเป็นของไม่บริสุทธิ์ ฉันใด เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันหวังได้ ฉันนั้น.