อิสสาและมัจฉริยะเป็นไฉน? [ธรรมสังคณี]
โดย เมตตา  1 พ.ย. 2552
หัวข้อหมายเลข 14119

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 41

[๗๒๗] อิสสาสัญโญชน์ เป็นไฉน? การริษยา กิริยาที่ริษยา ความริษยา การเกลียดกัน กิริยาที่เกียดกัน ความเกียดกันในลาภสักการะ การทำความเคารพ การนับถือ การไหว้ การบูชาของคนอื่น อันใด นี้เรียกว่า อิสสาสัญโญชน์.

[๗๒๘] มัจฉริยสัญโญชน์ เป็นไฉน? ความตระหนี่ ๕ คือ ตระหนี่อาวาส ตระหนี่ตระกูล ตระหนี่ลาภ ตระหนี่วรรณะ ตระหนี่ธรรม, การตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ความตระหนี่ ความหวงแหน ความเหนียวแน่น ความไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เผื่อแผ่แห่งจิตมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า มัจฉริยสัญโญชน์.

สภาวธรรมที่ชื่อว่า อิสสา เพราะอรรถว่า ย่อมริษยา. อิสสานั้น มีการริษยาสมบัติของผู้อื่นเป็นลักษณะ (ปรสมฺปตฺตีนํอุสฺสุยนลกฺขณา) มีความไม่ยินดีในสมบัติของผู้อื่นนั้นนั่นแหละเป็นรส (ตตฺเถว อนภิรติรสา) มีความเบือนหน้าจากสมบัติของผู้อื่นนั้นเป็นปัจจุปัฏฐาน (ตโต วิมุขภาวปจฺจุปฏฺฐานา) มีสมบัติของผู้อื่นเป็นปทัฏฐาน (ปรสมฺปตฺติปทฏฺฐานา) พึงทราบว่า เป็นสัญโญชน์. ความเป็นแห่งความตระหนี่ ชื่อว่า มัจฉริยะ มัจฉริยะนั้นมีการปกปิดสมบัติของตนที่ได้มาแล้ว หรือที่ควรได้เป็นลักษณะ (ลทฺธานํ วาลภิตพฺพานํ วา อตฺตโน สมฺปตฺตีนํ นิคูหณลกฺขณํ) มีความไม่ชอบใจในความที่สมบัติของตนนั้นนั่นแหละเป็นของทั่วไปแก่ชนเหล่าอื่น เป็นรส (ตาสํเยว ปเรหิ สาธารณภาว อกฺขมนรสํ) มีความสยิ้วหน้าเป็นปัจจุปัฏฐาน (สํโกจนปจฺจุปฏฺฐานํ) หรือว่ามีความหวงแหนเป็นลักษณะ (กฏุกญฺจุกตาปจฺจุปฏฐานํ วา) มีสมบัติของตนเป็นปทัฏฐาน (อตฺตโน สมฺปตฺ-ติปทฏฺฐานํ) มัจฉริยะนี้ พึงเห็นว่าเป็นความพิการของจิต.



ความคิดเห็น 1    โดย ใหญ่ราชบุรี  วันที่ 15 ก.ย. 2557

ขอเชิญรับฟัง ...

ความริษยาเป็นเรื่องยากที่จะสลัดออก

ขอบพระคุณ สาธุ อนุโมทนา ค่ะ

ด้วยความเคารพยิ่ง

จาก ใหญ่ราชบุรี – ธิดารัตน์ เดื่อมขันมณี


ความคิดเห็น 2    โดย chatchai.k  วันที่ 6 เม.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 3    โดย yu_da2554hotmail  วันที่ 23 พ.ย. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ