หนทางปรกติของการอบรมเจริญปัญญา - อัตตสัญญาคืออะไร ตอนที่ 3-11 [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]
โดย wittawat  11 พ.ค. 2562
หัวข้อหมายเลข 30843

เราได้อ่าน พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย [เล่มที่ 18] มูลปัณณาสก์เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 479 ในเรื่องของ ข้ออุปมาของรอยเท้าช้างใน "จูฬหัตถิปโทปมสูตร" ที่พระพุทธเจ้ากล่าวกับชาณุโสณีพราหมณ์ เรื่องชีวิตของพระภิกษุ ทรงแสดงเกี่ยวกับการสำรวมอินทรีย์ว่า

".....ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์อันหาโทษมิได้นี้แล้ว ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน... (ข้อความก่อนหน้าเกี่ยวกับความประพฤติตามพระธรรมวินัยของพระภิกษุ) ....

ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสํารวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สํารวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงํานั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสํารวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต ดมกลิ่นด้วยฆานะ ลิ้มรสด้วยชิวหา ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสํารวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สํารวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงํานั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสํารวมในมนินทรีย์
ภิกษุประกอบด้วยอินทรียสังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน (สุขที่ไม่ด่างพร้อย) "

อินทรียสังวร (ความสำรวมทางตา...ใจ) สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ด้วยการอบรมเจริญปัญญาที่จะเข้าใจธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง ก็จะเริ่มที่จะละอัตตสัญญาที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ตามลำดับขั้นของปัญญานั้นๆ

ควรที่จะทราบว่าไม่ว่าจะเป็นบทหรือพยัญชนะที่ทรงแสดง ไม่ว่าเรื่องใดก็เกี่ยวกับความจริงปรกติในชีวิตประจำวัน สติควรที่จะระลึกความจริงที่ปรากฏเพื่อที่ว่าปัญญาจะสามารถเข้าใจลักษณะตามความเป็นจริง จนกว่าที่จะดับกิเลสเป็นสมุจเฉทไม่เกิดอีกเลย

ควรที่จะฟังธรรมโดยละเอียด ควรที่จะศึกษาสังเกตธรรมที่ปรากฏแล้วในชีวิตประจำวันของเรา เราไม่สามารถที่จะละโลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสอื่นๆ ได้ทันที คนหวังที่จะดับกิเลส แต่เขาควรที่จะทราบว่ากิเลสสามารถที่จะดับได้ในขณะที่รู้แจ้งอริยสัจธรรมเท่านั้น เมื่อมรรคจิต เกิดขึ้น

ซึ่ง สักกายทิฏฐิ "ความเห็นผิดว่าเป็นเรา" ซึ่งสำคัญว่าธรรมที่ปรากฏทั้ง 6 ทวาร ว่าเป็นเรา ตัวตน บุคคล จะดับก่อน สักกายทิฏฐิ จะดับได้ด้วยโสตาปัตติมรรค ซึ่งเป็นมรรคแรก

หลังจากที่ถึงปัญญาขั้นนั้นแล้ว ปัญญาสามารถที่จะอบรมเจริญยิ่งขึ้นเพื่อที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมในขั้นที่สูงขึ้น และสามารถที่จะดับกิเลสที่ละเอียดยิ่งขึ้น

ปัญญาขั้นนั้นเป็นปัญญาที่จะกลับมาสู่กามภพนี้อีกครั้งเดียว คือสกทาคามี ที่ไม่กลับมาสู่กามภพนี้อีก คืออนาคามีและอรหันต์

เพราะฉะนั้นปัญญาสามารถที่จะเจริญขึ้นได้ทีละเล็กทีละน้อย ไม่ควรที่จะเร่งรีบการอบรมเจริญปัญญา ไม่ควรที่จะเชื่อว่าปัญญานั้นจะเพียงพอ เพียงแค่อบรมเพียงวันเดียว เดือนเดียว ปีเดียว โดยที่ไม่ได้มีแม้ความเข้าใจถูกถึงเหตุที่จะทำให้สติเกิดขึ้น

ซึ่งความจริง สติ หรือสัมมาสติ (การระลึกชอบ) ในมรรคมีองค์ 8 สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ถ้าผู้นั้นเริ่มศึกษาและเข้าใจลักษณะของสิ่งที่มีจริง ที่ปรากฏผ่านทางปสาทรูป 5 และมโนทวาร สัมมาสติสามารถที่จะเกิดขึ้นและระลึก และปัญญาสามารถที่จะเริ่มศึกษาและสังเกตความจริงตามปรกติทีปรากฏในชีวิตประจำวัน เพื่อที่ธรรมนั้นจะปรากฏตรงตามความเป็นจริง (ตามลักษณะแท้จริงของธรรมนั้นๆ คือ เป็นนาม เป็นรูป เป็นธรรมที่เกิดดับทีละหนึ่งๆ ตามกำลังของปัญญา)

การอบรมเจริญสติปัฏฐานนั้นเป็นไตรสิกขา (การอบรมศึกษา 3 ประการ) ได้แก่ อธิสีลสิกขา (การอบรมศึกษาในศีลที่สูงขึ้น) อธิจิตสิกขา (การอบรมศึกษาในจิตที่สูงขึ้น) และอธิปัญญาสิกขา (การอบรมศึกษาในปัญญาที่สูงขึ้น)

เมื่อสติระลึกความจริงที่กำลังปรากฏ มีศีลที่สูงขึ้น ศีลนั้นบริสุทธิ์ขึ้น สติระลึกลักษณะของจิต เจตสิก และรูป ระลึกในกุศลธรรม และอกุศลธรรมก่อนที่การกระทำกรรมทางกายและทางวาจาจะเกิดขึ้น

สติปัฏฐานอบรมศึกษาในจิตที่สงบยิ่งขึ้น ซึ่งหมายถึงสมาธิ (การใส่ใจแน่วแน่ในอารมณ์เดียว) หรือเอกคตาเจตสิก เมื่อสัมมาสติเกิดขึ้น มีความใส่ใจสนใจ (สมาธิ) ในนามหรือรูปที่ปรากฏในธรรมที่เกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็วมาก

สติปัฏฐานอบรมศึกษาในปัญญาที่สูงขึ้น เพราะปัญญาสังเกตและศึกษาในลักษณะของความจริงที่ปรากฏในชีวิตประจำวันโดยละเอียด เพื่อที่ธรรมจะสามารถปรากฏได้ตามตรงความเป็นจริง

ข้อความนี้แปลจาก...The Natural Way of Development - What is atta-sanna, remembrance of self? - II

อ่านตอนอื่นๆ ได้จากลิงค์นี้

ตอนที่ 1 - สมถและวิปัสนา

ตอนที่ 2 - อัตตสัญญาคืออะไร (1)

ตอนที่ 3 - อัตตสัญญาคืออะไร (2)

ตอนที่ 4 - ควรทำอะไรให้เข้าใจมากขึ้น

ตอนที่ 5 - ช่วยอธิบายหน่อยว่าระลึกอย่างไร

ตอนที่ 6 - การรวมกลุ่มวิธีปฏิบัติก็คือการหวังผล

ตอนที่ 7 - ความรู้ตามตำราและความรู้ระดับวิปัสสนาญาน

ตอนที่ 8 - ควรระลึกอย่างไร

ตอนที่ 9 - เช่นเดียวกับการจับด้ามมีด

ตอนที่ 10 - ข้อประพฤติปฏิบัติที่เป็นปรกติและไม่เป็นปรกติ

ตอนที่ 11 - ธรรมนั้นปฏิบัติกิจของตนเองตามปรกติ



ความคิดเห็น 2    โดย ประสาน  วันที่ 14 พ.ค. 2562

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ