ลักษณะของทุกข์ - ความหมายของการศึกษาลักษณะ ตอนที่ 5-11 [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]
โดย wittawat  1 พ.ค. 2562
หัวข้อหมายเลข 30817

ถาม: อะไรคือความหมายของการศึกษาลักษณะ

อ.สุจินต์: เมื่อสติระลึก และผู้นั้นพิจารณาลักษณะของอะไรก็ตามที่ปรากฏ ความจริงที่สามารถที่จะรู้ได้เช่น นามซึ่งรู้อารมณ์ที่ปรากฏ หรือรูปที่ไม่รู้อะไรเลย ผู้นั้นศึกษาลักษณะของความไม่ใช่ตัวตนของสิ่งที่มีจริงนั้น ว่าเป็นนามหรือรูป ว่าไม่ใช่ตัวตน

การศึกษานี้แตกต่างจากการคิด การตั้งชื่อ หรือการนึกชื่อของสิ่งที่มีจริง เมื่อปัญญาที่อบรมแล้วถึงระดับที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น สามารถที่จะแทงตลอดสามัญลักษณะทั้ง 3 ของนามธรรม และรูปธรรม ได้แก่ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และ อนัตตลักษณะ

ถาม: เมื่อลืมตา ก็เห็น แต่ไม่ได้สนใจในสิ่งใดเลย จะมีสติได้อย่างไร

อ.สุจินต์: เราไม่สามารถที่จะกั้นไม่ให้มีการเกิดขึ้นและดับไปของจิต ซึ่งจิตต้องเกิดขึ้นต่อจากจิตที่ดับไปดวงที่แล้วได้ เพราะนี่คือความปรกติเป็นไปของจิตนั้น เมื่อสติเกิดขึ้น ก็สามารถที่จะระลึกในสิ่งที่มีจริง อะไรก็ได้ที่ปรากฏตามความเป็นจริง

ข้อความนี้แปลจาก...The Characteristic of Dukkha - The meaning of studying characteristics

คลิกเพื่ออ่านตอนอื่นๆ ...

ตอนที่ 1 - พ้นจากทุกข์ได้อย่างไร

ตอนที่ 2 - การอบรมเจริญวิปัสสนาเริ่มต้นได้อย่างไร

ตอนที่ 3 - นั่งทำสมาธิด้วยโยนิโสมนสิการได้อย่างไร

ตอนที่ 4 - ความต่างกันของรูป

ตอนที่ 5 - ความหมายของการศึกษาลักษณะ

ตอนที่ 6 - ปัญญาเจริญขึ้นได้ตามลำดับขั้น

ตอนที่ 7 - การยึดถือในขันธ์ 5 เป็นทุกข์

ตอนที่ 8 - เราติดกับความคิดที่เป็นตัวตน

ตอนที่ 9 - ความหมายของอิริยาบถปิดบังทุกข์

ตอนที่ 10 - ไปสู่ป่า และ สำนักปฏิบัติ

ตอนที่ 11 - ความเข้าใจเจริญขึ้นตามปรกติ



ความคิดเห็น 3    โดย Somporn.H  วันที่ 4 พ.ค. 2562

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ